@article{Saramai_2021, title={ผลงานนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ไหลโคมล่องโขง 12 นักษัตร}, volume={12}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/248317}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา และรูปแบบของประเพณีไหลโคมของชาวบ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด ไหลโคมล่องโขง 12 นักษัตร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม บุคลากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และบุคคลทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) บ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาการประดิษฐ์โคมลอยมาแต่บรรพบุรุษ มีรูปแบบที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และได้จัดประเพณีไหลโคมล่องโขงในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ การไหลโคมนั้นจะมีการประดิษฐ์โคมไฟกระดาษรูป 12 นักษัตร แล้วนำโคมไปลอยลงแม่น้ำโขงเปรียบเสมือนการสะเดาะเคราะห์หรือนำเอาสิ่งที่ไม่ดีในชีวิตลอยทิ้งไปกับสายน้ำ</p> <p>2) คณะผู้วิจัย ได้นำประวัติความเป็นมา รูปแบบของประเพณีไหลโคม มาสร้างผลงานนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ องค์ประกอบของการแสดง ได้แก่ ท่ารำ ศึกษาจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวบ้านด่าน โดยใช้แบบแผนของท่ารำจากแม่บทอีสานและเพลงแม่บทใหญ่ บทร้อง กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลโคม การอธิษฐานขอขมาพระแม่คงคา ลักษณะนิสัยของ 12 นักษัตร ที่มีความสนุกสนาน ความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของประเพณีไหลโคม ดนตรี เป็นการผสมผสานดนตรีพื้นบ้านอีสานทำนองสรภัญกับทำนองแหล่อีสาน เครื่องแต่งกาย ได้นำการแต่งกายของชาวบ้านด่านมาประยุกต์ขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับการแสดง</p>}, number={2}, journal={มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี}, author={Saramai, Pinmanee}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={89–100} }