TY - JOUR AU - ยี่เก็งเอี่ยม, สริยกานต์ PY - 2021/12/21 Y2 - 2024/03/29 TI - กลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ JF - มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี JA - JHUSO VL - 12 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/248082 SP - 225-241 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ ปรากฏอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) กลวิธีการสรรคำ คือ การสรรคำในลักษณะต่าง ๆ มาแต่งกวีนิพนธ์ ได้แก่ การใช้คำซ้ำ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำไวพจน์และการใช้คำแสลง 2) กลวิธีการใช้เสียงของคำ ที่ทำให้เกิดความไพเราะ เกิดจังหวะลีลาชวนให้น่าอ่านและเกิดความหมายอย่างลึกซึ้ง 3) กลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ อุปลักษณ์&nbsp; บุคลาธิษฐาน การกล่าวอ้างถึงและสัญลักษณ์&nbsp; ส่วนประเด็นการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ พบว่า มีการนำเสนอภาพความเป็นอื่น 3 ด้าน ได้แก่ 1) อำนาจรัฐกับกระบวนการทำให้ชนกลุ่มน้อยเป็นคนอื่น เกิดจากรัฐไม่เห็นความสำคัญและใช้อำนาจทำให้ชนกลุ่มน้อยกลายเป็นคนอื่นในบริบทพื้นที่ของตนเอง&nbsp; 2) สังคมพหุวัฒนธรรมกับการนำเสนอภาพต่างคนต่างเป็นอื่น เช่น ความแตกต่างระหว่างภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างคนต่างเป็นอื่น 3) คนชายขอบกับภาพความเป็นอื่นทั้งที่ไม่ใช่คนอื่น การศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์และการนำเสนอภาพความเป็นอื่นในกวีนิพนธ์ของอังคาร จันทาทิพย์ เป็นเพียงแค่การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อให้เห็นความสำคัญของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย</p> ER -