วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลงานที่ได้รับการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารจะต้องมีสาระน่าสนใจ&nbsp; เป็นงานที่ทบทวนความรู้เดิม หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย รวมทั้งข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ กำหนดพิมพ์ปีละ ๒ ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม) ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก หรือ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี</p> วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี th-TH วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2229-0141 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/275208 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-04 2024-07-04 15 1 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267742 <p>การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดระยองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอินเดีย และจัดทำแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดระยองมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอินเดียกลุ่มครอบครัว ทั้งนี้ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและเป็นไปได้ ได้แก่ 1) กิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล 2) กิจกรรมท่องเที่ยวแบบผจญภัย 3) การจัดงานแต่งงานแบบอินเดีย และ 4) การจัดประชุมนานาชาติและนิทรรศการ โดยแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดระยองให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวอินเดีย ประกอบด้วยการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาบุคลากร เรื่อง แนวทางการให้บริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอินเดีย และการพัฒนาทักษะเชฟให้สามารถประกอบอาหารอินเดียได้ 2) การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง เพื่อพัฒนาการจัดประชุมนานาชาติและนิทรรศการ รวมถึงเส้นทางท่องเที่ยว 3) การพัฒนาช่องทางการขาย และ 4) การพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์</p> นิธิศ ธรรมแสงอดิภา สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ จตุพร สุวรรณสุขุม บัณฑิต อารอมัน ซารีฮาน ขวัญคาวิน Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 1 15 วัฒนธรรมอาหารจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/266470 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจศักยภาพของวัฒนธรรมอาหารจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบลึกซึ้งและการสังเกตแบบ ไม่มีส่วนร่วม เพื่อศึกษาความคิดเห็นและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวไทย และชาวต่างประเทศที่เคยรับประทานอาหารจีนในจังหวัดนี้ ผลการวิจัยเปิดเผยว่า 1) รสชาติและบรรยากาศเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าร้านอาหารจีนในพื้นที่ โดยความคุ้มค่าและความแท้จริงของอาหารจีน การนำเสนออาหาร และประโยชน์ต่อสุขภาพที่มากับวัฒนธรรมอาหารจีน ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญด้วย นอกจากนี้ 2) การวิจัยยังระบุบทบาทของร้านอาหารจีนและวัฒนธรรมอาหารจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ผลการวิจัยเสนอแนวทางการใช้วัฒนธรรมอาหารจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่นี้ การวิจัยนี้เสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของจังหวัดบุรีรัมย์</p> ธนากร ทองธรรมสิริ กัณฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 16 26 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของร้านกาแฟ ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/273342 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการให้บริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาคุณภาพการบริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีวการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างลูกค้าที่ใช้บริการร้านกาแฟ ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบจัดหมวดหมู่เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการให้บริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีร้านกาแฟที่ให้บริการจำนวนมากที่สามารถรองรับจำนวนผู้มาใช้บริการ ตั้งแต่ 15-50 คน 2) การประเมินคุณภาพการให้บริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การประเมินคุณภาพการบริการร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี คือ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเข้าอกเข้าใจ ด้านการประกันคุณภาพ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการของร้านกาแฟควรมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลายมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในร้านกาแฟควรทำความสะอาดให้ใหม่และทันสมัย พนักงานของร้านกาแฟควรมีชุดเครื่องแบบที่สวยงามเป็นมาตฐานเดียวกัน 2) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ร้านกาแฟควรเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจร้านกาแฟไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ และมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีมาตรฐานเดียวกันในการให้บริการอย่างมืออาชีพ 3) ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า พนักงานร้านกาแฟควรสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า และให้บริการแก่ลูกค้าโดยไม่ต้องร้องขอ และให้ได้รับความสะดวกสบายอย่างเท่าเทียมกัน 4) ด้านการประกันคุณภาพ พนักงานร้านกาแฟควรมีความรู้ด้านภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารลูกค้าต่างชาติได้ และจะต้องสามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ 5) ด้านความเข้าอกเข้าใจ พนักงานร้านกาแฟ ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างกันเพื่อให้บริการที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างเท่าเทียมกันทุกคนคุณภาพของการให้บริการ ร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จากการสัมภาษณ์ผู้มาใช้บริการร้านกาแฟ ตามวัตถประสงค์ที่ 2 คุณภาพของการให้บริการในด้านการบริการ มีการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และความคาดหวังของลูกค้า ในการรับบริการ พนักงานมีความเอาใจใส่ ต่อการให้บริการ ที่มุ่งเน้นประสบการณ์ ของการใช้บริการรวมไปถึงการเอาใจใส่ของพนักงานต่อผู้ใช้บริการ</p> สถาพร สิริโอภาคำ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 27 36 ภาพแทนของตัวละครผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/273341 <p> บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็กจากหลากหลายประเทศจำนวน 14 เรื่อง เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กจากต่างประเทศซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย 7 เรื่อง และวรรณกรรมสำหรับเด็กที่เขียนโดยนักเขียนไทย 7 เรื่อง ผู้วิจัยเลือกศึกษาจากเรื่องที่ปรากฏตัวละครผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง โดยศึกษาในประเด็นการนำเสนอเนื้อหาและภาพแทนของตัวละครผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก ผลการศึกษาพบ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับคนต่างวัย 2) เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และความผูกพันของคนต่างวัย และ 3) เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของผู้สูงอายุทั้งทางสุขภาพร่างกายและลักษณะทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ ด้านการนำเสนอภาพแทนของผู้สูงอายุในวรรณกรรมสำหรับเด็ก วรรณกรรมสำหรับเด็กเสนอให้เห็นในประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1) ผู้สูงอายุคือผู้เป็นที่พึ่งพิงทางร่างกายและจิตใจ 2) ผู้สูงอายุคือผู้เข้าใจและแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิต 3) ผู้สูงอายุคือผู้ถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และ 4) ผู้สูงอายุคือผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ศึกษาจากวรรณกรรมสำหรับเด็ก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมือสื่อสารกับเด็ก และเตรียมพร้อมเด็กเมื่อต้องใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้เด็กสามารถชีวิตร่วมกับผู้สูงอายุอย่างเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ และชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของผู้สูงอายุที่มีในครอบครัว</p> ภัทรขวัญ ทองเถาว์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 37 54 คำสแลง “牛逼” (niubi) ในภาษาจีนปัจจุบัน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/268939 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างคำและระดับการใช้ภาษาของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน และ 3) เพื่อศึกษาชนิดของคำและหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยทางภาษาศาสตร์ มีจำนวน 200 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น คำคุณศัพท์ 150 กลุ่มตัวอย่าง และคำนาม 50 กลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์เอกสารเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดกลุ่มหาความสัมพันธ์และสรุปผล </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) “牛逼” เป็นคำประสมรูปแบบบทขยาย มีที่มาจากคำว่า “牛屄” และเปลี่ยนรูปแบบการเขียนโดยใช้ “逼” แทน “屄” เพื่อลดความหยาบคาย จัดอยู่ในกลุ่มภาษาระดับสนทนาในชีวิตประจำวัน 2) คำว่า “牛逼” เป็นได้ทั้งคำนาม หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์ของวัวเพศเมีย และเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง สุดยอด 3) ในการเป็นคำนามของคำว่า “牛逼” สามารถทำหน้าที่บทประธาน <br />บทกรรม และบทขยายคำนาม มี “个” เป็นลักษณะนาม และการเป็นคำคุณศัพท์สามารถทำหน้าที่บทขยายคำนาม บทขยายกริยา บทเสริมบทกริยา บทภาคแสดง เติม “了、着、过” ได้ และเป็นประโยคปฏิเสธโดยเติม “不” ด้านหน้า เติม “一点” หลังคำได้ และอยู่เดี่ยว ๆ โดยไม่ต้องเติม “的” ตามหลัง ข้อเสนอแนะในการใช้คำ เนื่องจากคำว่า “牛逼” เป็นคำสแลง ไม่ใช่คำบริภาษหรือคำกล่าวโทษ แต่เป็นคำชมที่ไม่ใช่ภาษาสุภาพ เป็นภาษาแบบไม่ทางการ จึงควรใช้ในสถานที่ส่วนบุคคล นอกจากนี้ ผู้สื่อสารยังต้องพิจารณาข้อจำกัดในการแปลความหมายเป็นภาษาไทย ไม่สามารถใช้คำว่า “สุดยอด” ทดแทนความหมายของคำว่า “牛逼” ได้ทั้งหมด และคำดังกล่าวไม่ปรากฏการเป็นคำวิเศษณ์</p> วีรภัทร ภคพงศ์พันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 55 71 ความต้องการในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/270415 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาและศึกษาความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งเป็นบุคลากรของโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร รวมถึงนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษา จำนวน 96 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) มากที่สุด จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 51.04 รองลงมาคือต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 36.46 และที่น้อยที่สุดคือมีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทต่อเนื่องถึงปริญญาเอก (ปร.ด.) สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ตามลำดับด้านความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ความจำเป็นในการเปิดหลักสูตร ศศ.ม.และ ปร.ด. สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อยู่ในระดับมากที่สุด ( ) = 4.95 โดยมีความจำเป็นต้องเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการและการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา รองลงมาคือค่าเฉลี่ย ( )=1.17 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยไม่จำเป็นเพราะยังไม่มีหน่วยงานต้องการบุคลากรในสาขาวิชานี้และค่าเฉลี่ย ( )=1.04 ที่น้อยที่สุดคือ เป็นค่าเฉลี่ยไม่จำเป็นเพราะสถาบันอื่นมีการเปิดสอนอยู่แล้ว</p> กอบชัย รัฐอุบล สริยกานต์ ยี่เก็งเอี่ยม กิติราช พงษ์เฉลียว Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 72 82 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจ หลังความตายเนื่องในวัฒนธรรมจีน ของผู้บริโภค กรณีศึกษา : ร้านมังกรเขียว https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/265715 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจหลังความตายเนื่องในวัฒนธรรมจีน ของผู้บริโภค กรณีศึกษา : ร้านมังกรเขียว ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลทั้ง 7 ปัจจัย ประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) สถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) บุคลากร (People) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) และกระบวนการ (Process) โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการร้านมังกรเขียว จำนวน 419 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non–Probability Sampling) และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจหลังความตายเนื่องในวัฒนธรรมจีน ของผู้บริโภค กรณีศึกษา : ร้านมังกรเขียว มีจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และมี 1 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจหลังความตายเนื่องในวัฒนธรรมจีน ของผู้บริโภค กรณีศึกษา : ร้านมังกรเขียว มีจำนวน 1 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการ เนื่องจากความซับซ้อนของกระบวนการดำเนินงานที่ผู้บริโภคไม่ทราบ จึงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ</p> <p>จากที่กล่าวมาข้างต้นจะได้ผลการศึกษาที่ทราบถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ร้านมังกรเขียว เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาธุรกิจให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และสร้างความได้เปรียบเหนือธุรกิจคู่แข่งภายในตลาดต่อไปได้</p> ทัชชกร สัมมะสุต ณัฐณิชา เปรมกิจ ธัญชนก ใจอ่อน นนทวรรณ ยางงาม สุพจน์ เกา Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 83 96 การศึกษาการรับรู้ ความต้องการ และพัฒนาการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267626 <p> ปลาใส่อวนเป็นปลาหมักข้าวคั่ว โดยคำว่าอวนคือ ข้าวคั่ว ที่เอามาหมักตัวปลา จนทำให้มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารอัตลักษณ์ของภาคใต้และจังหวัดนครศรีธรรมราช งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้และความต้องการเกี่ยวกับปลาใส่อวนของผู้บริโภค จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อพัฒนาการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 80 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ แบ่งเป็นช่วงอายุ 20-30 ปี 31-40 ปี 41-50 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ช่วงอายุละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภค โดยแสดงผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาความและข้อมูลทางสถิติเพื่อแสดงการเปรียบเทียบ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ และผู้ให้ข้อมูลอีกกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการปลาใส่อวน 12 กลุ่ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชรู้จักปลาใส่อวน จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่รู้จัก โดยช่วงอายุที่ไม่รู้จักปลาใส่อวนในปริมาณมากที่สุด คือ อายุ 21-30 ปี สำหรับประเด็นความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด น่ารับประทานและน่าสนใจ การมีตราสัญลักษณ์ที่ชัดเจน การพัฒนาเป็นอาหารพร้อมรับประทาน การพัฒนาเป็นเมนูอื่น ๆ การจำหน่ายในลักษณะออนไลน์ การพัฒนาเรื่องกลิ่น การทอดที่ไม่กระเด็น การสื่อสารเรื่องความสะอาดและการคงรสชาติความเปรี้ยวให้คงที่ของอาหารประเภทหมัก 2) คณะผู้วิจัยและผู้ประกอบการปลาใส่อวนได้ร่วมกันพัฒนาสื่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่สื่อถึงเชิงคุณค่าและเชิงการตลาดของผลิตภัณฑ์ปลาใส่อวน รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ สื่อป้าย สื่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และสื่อกิจกรรม เพื่อใช้ในการสื่อสารแบรนด์ปลาใส่อวนจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น</p> เมธาวี จำเนียร กรกฎ จำเนียร ปัญจพร เกื้อนุ้ย เมธิรา ไกรนที ตรีฤกษ์ เพชรมนต์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 97 111 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/271868 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z โดยทำการรวบรวมแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มตัวอย่างเจนเนอเรชั่น Z ที่มีอายุระหว่าง 18-26 ปีและเป็นผู้ที่สมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจนเนอเรชั่น Z ที่สมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation of Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) การวิเคราะห์สถิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 405 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.30 มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 61.70 มีรายได้ 10,000-25,000 บาทร้อยละ 54.80 และมีสถานภาพโสดร้อยละ 94.10 ด้านพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ร้อยละ 43.5 ซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มร้อยละ 89.1 มีการใช้จ่ายครั้งละ 100-300 บาทร้อยละ 65.7 มีการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีแต้มโปรโมชั่นให้แต้มสะสม All member เป็นบางครั้งร้อยละ 50.1 มักสะสมคะแนน All member เป็นประจำร้อยละ 72.3 และชำระเงินผ่านแอพพลิเคชันเซเว่นอีเลฟเว่นเพื่อง่ายต่อการสะสมคะแนน All member เป็นประจำร้อยละ 46.9 และจากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทั้งปัจจัยด้านด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยด้านความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อความตั้งใจสมัครสมาชิก All member ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ทั้งสิ้นอย่างมีนัยสำคัญ</p> กัญญาณัฐ ต่อสกุล ชญาดา ฉัตรรวี รัชกานต์ ทัสสะ ชนัญญา สรีระศาสตร์ ทัชชกร สัมมะสุต Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 112 124 สมรรถนะและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/268823 <p> บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะ ประกอบด้วยการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิดอ่าน การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และการคิดอย่างเป็นระบบ ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสมรรถนะ และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสมรรถนะมีผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับการปฏิบัติในด้านการทำงานเป็นทีมมากที่สุด รองลงมา คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนองค์การแห่งการเรียนรู้มีผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านการคิดอย่างเป็นระบบ มากที่สุด รองลงมา คือ ความรอบรู้แห่งตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ลัลน์ลนา สิงห์จานุสงค์ วีระกิตติ์ เสาร่ม กิตติชัย เจริญชัย เจริญชัย Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 125 138 พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซัก ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/273336 <p> การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญพบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way anova) หากพบความแตกต่างจะนำไปสู่การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Scheffe ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีช่วงอายุ 15-25 ปี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ 5,001–10,000 บาท มีความถี่ในการใช้บริการร้านสะดวกซัก 2 ครั้ง/สัปดาห์ นิยมใช้บริการในช่วงเวลา 17.01–22.00 น. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในภาพรวม ด้านรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี</p> บุรินทร์ ศิริเนตร์ จิรพันธ์ พรมจันทร์ เบญจวรรณ ทวีวรรณ รัชฎากร ไชยปัญญา สุพัตรา จันสง่า อรสา จันทะเลิศ อริศรา เทพหยด Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 139 157 คุณภาพการบริการที่มีต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาร้อยเอ็ด https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/268822 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการ กับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาร้อยเอ็ด จำนวน 385 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน</span></span></p> <p><strong> </strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ผลจากการศึกษา พบว่า คุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาร้อยเอ็ด อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความเอาใจใส่ผู้รับบริการ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การศึกษาคุณภาพการบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 30,001–50,000 บาท โดยให้ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับความคิดเห็นตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ( = 4.41, S.D = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ( = 4.39, S.D = 0.57) ด้านความเอาใจใส่ ( = 4.38, S.D = 0.53) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ </span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">( = 4.32, S.D = 0.51) และด้านความเชื่อถือได้ ( = 4.30, S.D = 0.48) ตามลำดับ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.29, S.D = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับความคิดเห็นตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ( = 4.33, S.D = 0.50) และด้านทัศนคติของผู้บริโภค ( = 4.25, S.D = 0.49) ตามลำดับ.</span></span></p> สุวิทย์ วงศ์คะสุ่ม กิตติชัย เจริญชัย ธารีรัตน์ ขูลีลัง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 158 169 การสร้างสรรค์ท่ารำ และดนตรีประกอบการแสดงพื้นถิ่นในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/266147 <p>วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และวิธีการคิดงานสร้างสรรค์ผลงานนาฏกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทย มีขอบเขตวิจัยในพื้นที่ 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ดังนี้ 1) ภาคเหนือ 2) ภาคกลาง 3) ภาคอีสาน และ 4) ภาคใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ปราชญ์อาวุโส (ศิลปินแห่งชาติ) นักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นถิ่นทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย</p> <p>ผลวิจัย พบว่า การคิดสร้างสรรค์การแสดงพื้นถิ่นในประเทศไทยมีการคิดค้นประดิษฐ์ท่ารำในรูปแบบต่าง ๆ ของการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเกษตรกรรม ด้านงานหัตถกรรม ด้านความเชื่อ ด้านการทำมาหากิน และด้านธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 1) การแสดงของภาคเหนือในการแสดงฟ้อนสาวไหม แสดงถึงวิถีชีวิตในด้านงานหัตถกรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน และระบำเก็บใบชา แสดงถึงวิถีชีวิตในด้านการเกษตรกรรม การเก็บเกี่ยวผลผลิตของคนในชุมชน 2) การแสดงของภาคกลาง ท่ารำเป็นการประดิษฐ์ท่ารำที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา แสดงถึงขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการเกษตรกรรมของคนในชุมชน และการแสดงรำวงมาตราฐานซึ่งพัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการเล่นพื้นเมืองของไทยที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาล แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการละเล่นของคนในชุมชน 3) การแสดงของภาคอีสาน เซิ้งแหย่ไข่มดแดง สื่อถึงอัตลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นพื้นถิ่นอีสาน วิถีชีวิต การทำมาหากิน แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการทำมาหากินเลี้ยงชีพของคนในชุมชน และการแสดงดึงครกดึงสาก บอกเล่าถึงพิธีกรรม ความเชื่อ เรื่องการเสี่ยงทายเพื่อขอฝนของชาวอีสาน แสดงถึงวิถีชีวิตด้านความเชื่อและศรัทธาของคนในชุมชน 4) การแสดงของภาคใต้ ระบำปั้นหม้อ นำเอาวิถีชีวิตชาวบ้านด้านงานหัตถกรรมมาเป็นต้นแบบในการประดิษฐ์ท่ารำ แสดงถึงวิถีชีวิตด้านงานหัตถกรรมของคนในชุมชนภาคใต้ตอนบน และการแสดงระบำดีดกุ้ง ใช้ท่ารำนาฏยศิลป์พื้นบ้านผสมผสานกับท่ารำที่สร้างสรรขึ้นใหม่จากท่าทางอากัปกิริยาของธรรมชาติของกุ้ง แสดงถึงวิถีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในชุมชนภาคใต้ตอนล่าง การแสดงนาฏกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทยเป็นเครื่องบ่งบอกถึงวัฒนธรรมดั่งเดิมที่มีมาของชุมชนนั้น ๆ และยังสร้างความบันเทิงให้ความสุขใจของชุมชน ทั้งยังสอดแทรกวิถีชีวิตของคนในชุมชนทั้งชนบทและในเมือง ถ่ายทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน</p> วัชระ แตงเทศ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 170 184 กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงโขน ตามแนวทางบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรามเกียรติ์ ตอนจองถนน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267711 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงโขนตามแนวทางบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรามเกียรติ์ ตอนจองถนน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างสรรค์การแสดง และการจัดอภิปรายกลุ่มย่อยผู้ทรงวุฒิเพื่อตรวจสอบข้อมูล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ มีทั้งสิ้น 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แรงบันดาลใจและการกำหนดแนวคิดการแสดง 2) การทำบทการแสดง 3) การบรรจุเพลงร้องและดนตรี 4) การคัดเลือกนักแสดง 5) การออกแบบกระบวนท่าและลีลา 6) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 7) การออกแบบการแต่งหน้า 8) การออกแบบฉากและเทคนิคพิเศษ 9) การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบข้อมูล ทั้งนี้ การสร้างสรรค์การแสดงโขนตามแนวทางบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่องรามเกียรติ์ ตอนจองถนน ผ่านแนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม มีการประยุกต์เนื้อหาให้กระชับ และสร้างสรรค์องค์ประกอบการแสดงขึ้นใหม่ให้เหมาะสมแก่ระยะเวลาการแสดง 1 ชั่วโมง และเหมาะสมแก่บริบทของสังคมปัจจุบัน เพื่อดำรง สืบทอด และเผยแพร่การแสดงโขนรูปแบบล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ให้คงอยู่ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจจะศึกษาการสร้างสรรค์การแสดงภายใต้แนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม</p> นฤมล ล้อมทอง สุขสันติ แวงวรรณ อัควิทย์ เรืองรอง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 185 198 การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนความรักของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267285 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนความรักของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นำมาทำเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนสังคมรสนิยมทางเพศที่มีความหลากหลายมากขึ้น วิจัยจากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ทดลองสร้างสรรค์ โดยนำความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” เป็นความเชื่อของคู่รักตั้งแต่อดีตชาติมาเป็นแรงบันดาลใจในการกำหนดเนื้อหาของผลงานสร้างสรรค์นี้</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” สามารถนำเสนอมุมมองความรักของเพศเดียวกันโดยเชื่อมโยงให้เห็นความรักของคนสองคนที่มาจากอดีตชาติ แบ่งการสร้างสรรค์ออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) แนวความคิด 2) เรื่อง 3) รูปแบบ 4) ดนตรี 5) คัดเลือก 6) แต่งกาย การแสดงชุดนี้ได้กำหนดแนวความคิดรูปแบบการแสดงแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย มีเนื้อหาถ่ายทอดเรื่องราวความรักของเพศเดียวกัน นำความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” เป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินเรื่อง</p> <p> การศึกษานี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความเข้าใจในความรักของเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหว มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ที่คัดค้าน ผู้วิจัยจึงนำเรื่องราวความเชื่อเรื่อง “ด้ายแดง” มาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนเรื่องราวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศชุด “ลิขิต”</p> อดิศร มหาสัทธา ศักย์กวิน ศิริวัฒนกุล Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 199 210 การสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรม ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/268020 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมเรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 3 ตอน ได้แก่ 1) นนทก 2) ศึกไมยราพ และ 3) ศึกสุดท้ายของทศกัณฐ์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์สื่อนาฏกรรมแบบบูรณาการโดยนำแนวคิดและกระบวนการแบบ “ดีไวสท์ เธียเตอร์” มาประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับนักแสดงเพื่อค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้วิจัยค้นพบแนวทางการสร้างผลงานสื่อนาฏกรรมที่สะท้อนแนวคิดเชิงจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ไปสู่เยาวชนในยุคปัจจุบัน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) สื่อนาฏกรรมแบบละครประกอบนิทาน 2) สื่อนาฏกรรมแบบภาพยนตร์ Live Action และ 3) สื่อนาฏกรรมแบบมิวสิควิดีโอประกอบเพลง ผู้วิจัยออกแบบสื่อนาฏกรรมทั้ง 3 ตอน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 1) รูปแบบการแสดง 2) บรรยากาศ 3) การออกแบบลีลา 4) การออกแบบเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง 5) การออกแบบบทการแสดงและดนตรีประกอบ และ 6) การผลิตสื่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานสื่อนาฏกรรมด้วยกระบวนวิธีการใหม่ ๆ มีการค้นหาวิธีเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งมีการผสมผสานสื่อและศิลปะการแสดงหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ และเป็นแนวทางในการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏกรรมอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต</p> <p> </p> ยุทธนา อัครเดชานัฏ นิวัฒน์ สุขประเสริฐ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 211 224 การพัฒนาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/272555 <p> การพัฒนาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ เพื่อที่จะต้องการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สภาพปัญหา และความต้องการเข้าศึกษาต่อของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 1) หอการค้าอุบลราชธานี 2) สมาคมอุบลวินิช 3) กลุ่มศิลปินอุบลราชธานี 4) อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี 5) สถานศึกษา 6) วัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี 7) นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาอุบลราชธานี 8) นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย 9) นักศึกษาปัจจุบัน 10) บัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ 11) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทัศนศิลป์ และ 12) ผู้ปกครองของนักศึกษา ในเขตพื้นที่บริการของวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและมีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาด้านทัศนศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ส่วนมากจะเป็นนักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย ที่ต้องการเข้ามาศึกษาในสาขาวิชาทัศนศิลป์ และจากการสัมภาษณ์ท่านคณะกรรมผู้ทรงคุณวุติ ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์ ทำให้เห็นความคิดของกรรมการแต่ละท่านที่มีความคิดแต่ต่างกันออกไป กรรมการแต่ละท่านส่วนมากจะให้ความคิดเห็นที่จะเน้นไปทางศิลปะกับการเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้น และการผลิตบัณฑิตเพื่อในการรับใช้สังคมควรที่จะปลูกฝังให้เรียนรู้จะการรักศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของเมืองอุบลราชธานี</p> ศักดา บุญยืด Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 225 240 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267692 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลในพื้นที่อำเภอเขมราฐ จำนวน 6 แห่ง โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม จำนวน 230 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย Independent samples t–test และ One way ANOVA และเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลต่างกัน และในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เสนอแนะให้ผู้บริหารเปิดโอกาส ให้บุคลากรในองค์กรได้เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้วยความสนใจและตั้งใจจริง โดยอาศัยการบริหารแบบ มีส่วนร่วม</p> โชคอนันต์ แสงสุกวาว สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ ปรีดี ทุมเมฆ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 241 254 ความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267305 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็นเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 35 แห่ง จำนวน 315 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลคะแนน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ มีความสุขระดับมาก เมื่อวิเคราะห์<br />รายปัจจัย พบว่าปัจจัยที่ทำให้พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษมีความสุขในการทำงานมากที่สุด<br />คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร (𝑥̅ = 4.13) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (𝑥̅ = 3.93) และปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการทำงาน (𝑥̅ = 3.92) ทำให้พนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ มีความสุขอันดับท้าย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร (β=0.21 t=3.81 p-value=0.00) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการทำงาน (β=0.18 t=4.48 p-value=0.00) และปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (β=0.15 t=5.14 p-value=0.00) มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริมความสุขในการทำงาน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group) พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 รอบการประเมิน (2 ปี) โดยมีแนวทางตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาความรู้ให้พนักงานเทศบาลเพิ่มค่าตอบแทนหรือเงินรางวัลประจำปี เป็นแรงจูงใจและสร้างความสุขในการทำงาน</p> กิติพงษ์ โคตา อรทัย เลียงจินดาถาวร สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 255 267 การใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของประชาชนในสวนรมณีย์ทุ่งสีกันเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/270397 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป ระดับความ พึงพอใจและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ข้อมูลการศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์ไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่เดินทางมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2566 รวมจำนวน 379 ราย วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติที (t-test) และใช้สถิติ One-Way Anova หรือสถิติเอฟ (F–test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value = 0.05)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.83 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 46.17 มีอายุเฉลี่ย 38.10 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นอาชีพหลัก มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 27,917.31 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตดอนเมือง มีวัตถุประสงค์ของการมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวเพื่อเดิน–วิ่งออกกำลังกาย มาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวกับกลุ่มเพื่อน เคยมีประสบการณ์ในการมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว มีความร่มรื่นของต้นไม้เป็นสิ่งดึงดูดใจให้เดินทางมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว ประชาชนมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05 จำแนกออกเป็น (1) ความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการพื้นที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 และ (2) ความพึงพอใจ ด้านบุคลากรและการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ภูมิลำเนา วัตถุประสงค์ของการมาใช้ประโยชน์ ประเภทของกลุ่มผู้มาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว และประสบการณ์การมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว</p> ภัทรานิษฐ์ ธนูบรรพ์ กิติชัย รัตนะ อภิชาต ภัทรธรรม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 268 283 แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267320 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับและปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย จำนวน 392 คน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมจำนวน 8 ท่าน ใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ 31-40 ปี ระดับการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และอาชีพส่วนใหญ่เป็น พนักงานเอกชน ระดับและปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคม พบว่า การเข้าถึงสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วนประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมได้นั้นเพราะไม่ทราบว่าตนมีสิทธิ์ในสวัสดิการสังคมอะไรบ้าง ขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาทางด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ และยังมีผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ทำการได้ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ ทำให้เกิดการตกหล่นของสิทธิ์ไป ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมจะสามารถทำได้โดยการเพิ่มบุคลากรที่ดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมโดยเฉพาะ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาในชุมชน เพิ่มงบประมาณทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เพิ่มช่องทางในการดำเนินการผ่านแอพพลิเคชัน โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสวัสดิการสังคม และมีการสำรวจการตกหล่นของสิทธิ์</p> พชรพล ผาลิพัฒน์ ปรีดี ทุมเมฆ สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 284 297 การตีความวากยสัมพันธ์ของวิเศษณานุประโยคแบบลดรูปในตำราอาหาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/267469 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการตีความวากยสัมพันธ์ของวิเศษณานุประโยคแบบลดรูปในตำราอาหารที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการตีความวากยสัมพันธ์ของวิเศษณานุประโยคแบบลดรูปก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับตัวบทข่าวต่างๆ เช่นข่าวกีฬาและข่าวการเมือง งานวิจัยครั้งนี้จึงเลือกตัวบทที่แตกต่างออกไปคือตำราอาหารที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเนื่องจากเป็นตัวบทที่สามารถอ่านได้ทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ชุดข้อมูลเก็บรวบรวมมาจาก <em>Thailand: The Cookbook</em> (Gabrial, 2014) และ <em>Japan: The Cookbook</em> (Hachisu, 2022) เนื่องจากเป็นตำราอาหารที่มียอดขายสูง (<a href="http://www.amazon.com">www.amazon.com</a>) และเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมระดับนานาชาติ จำนวนคำประมาณทั้งสิ้น 200,000 คำ ประกอบด้วย 50 ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคแบบลดรูป การวิเคราะห์ข้อมูลวิเศษณานุประโยคแบบลดรูปในงานวิจัยครั้งนี้ทำตามแบบของ Swan (2016) เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินไปอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ นักภาษาศาสตร์ผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่จำนวนทั้งสิ้นสามท่านดำเนินการตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า <em>absolute adverbial phrases</em> ปรากฏในความถี่ที่สูงตามเป็นจำนวนร้อยละ 54 ปรากฎการณ์นี้สามารถอธิบายได้โดยหลักการใช้ความพยายามน้อยสุดที่เชื่อมโยงกับความไม่เป็นทางการของตัวบทตำราอาหาร ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในการใช้โครงสร้างวิเศษณานุประโยคในการเขียนตำราอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม</p> อภินันท์ วงศ์กิตติพร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 298 312 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองอุตรดิตถ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/266458 <p style="font-weight: 400;"> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม<br />กับการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 144 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยผู้บริหารโรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน และครูได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน จำนวน 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมกับการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.771-0.830</li> <li>ผลการสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร (X<sub>1</sub>) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม (X<sub>2</sub>) ปัจจัยด้านการสนับสนุนความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม (X<sub>3</sub>) และปัจจัยด้านบรรยากาศสร้างสรรค์ และสร้างแรงเสริมในการทำงาน (X<sub>4</sub>) ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.909 มีอำนาจพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) ได้ร้อยละ 82.70 มีค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.176 เขียนสมการได้ดังนี้</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> = 1.073 + 0.279 (X<sub>1</sub>) + 0.174 (X<sub>2</sub>) + 0.170 (X<sub>3</sub>) + 0.145 (X<sub>4</sub>)</p> <p> สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> <sub>y </sub>= 0.383 (X<sub>1</sub>) + 0.226 (X<sub>2</sub>) + 0.207 (X<sub>3</sub>) + 0.205 (X<sub>4</sub>)</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> <p> </p> ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์ สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 313 322 แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยของจังหวัดศรีสะเกษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/269198 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าค่ายมวยไทย จำนวน 15 คน โปรโมเตอร์จัดการแข่งขัน จำนวน 10 คน และนักมวยไทยจำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากหัวหน้าค่ายมวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าค่ายมวยไทยต้องมีความเป็นธรรมกับนักมวยและผู้ฝึกสอนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การบริหารจัดการด้านรายได้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความชัดเจน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักกีฬามวยได้พัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ การบริหารจัดการค่ายมวย ความสะอาด ความปลอดภัยต่อนักกีฬาขณะทำการฝึกซ้อม ต้องมีอุปกรณ์กีฬามวยเพียงพอได้มาตรฐาน 2) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากโปรโมเตอร์จัดการแข่งขันในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โปรโมเตอร์ควรจัดสถานที่ในการแข่งขันกีฬามวยไทยให้มีความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขันให้มีความน่าสนใจ โปรโมเตอร์จัดการแข่งขันจะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นกลางกับนักกีฬาทั้งสองฝ่าย มีการส่งเสริมการจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้นักกีฬาได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนนักมวยที่มีความสามารถให้มีชื่อเสียงและรายได้มากขึ้น 3) แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนากีฬามวยไทยจากนักกีฬามวยไทยในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การส่งเสริมให้นักกีฬามวยไทยได้เล่นกีฬาควบคู่กับโอกาสทางการศึกษา ส่งผลในอนาคตหลังจากเลิกเล่นกีฬาเพื่อนักกีฬาจะได้มีอาชีพหรืองานที่มั่นคง การเข้าร่วมการแข่งขันควรมีค่าตอบแทนให้กับนักกีฬาอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ สถานที่ฝึกซ้อมสำหรับผู้ที่สนใจควรมีให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงได้ง่าย ควรจัดให้มีการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาได้เข้าร่วมแข่งขันอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนด้านอุปกรณ์การฝึกซ้อมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน หัวหน้าค่ายมวย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีสวัสดิการที่ดีแก่นักมวย</p> สาคร แก้วสมุทร์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 339 348 กองบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/275205 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-04 2024-07-04 15 1 แนวคิดการสอนแบบคาร์ล ออร์ฟเพื่อเด็กระดับปฐมวัยโรงเรียนเด่นไชยประชานุกุล จังหวัดแพร่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/268499 <p> แนวคิดการสอนแบบคาร์ลออร์ฟเพื่อเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งสำคัญกับวัยนี้ การสอนดนตรี สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดคาร์ลออร์ฟมีการนำการเคลื่อนไหวร่างกายในการสอนดนตรีวิธีการสอนดนตรีของคาร์ล ออร์ฟ ไม่ได้ให้ผู้เรียนเล่นดนตรีเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการสอนเพื่อพัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายมีการจดจำทำนองเพลงตามการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งสามารถช่วยในการสร้างพัฒนาการ จำแนกลำดับขั้นตอน และกระบวนการความคิดเพื่อมีลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพที่ดีของเด็กและยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต อีกทั้งการสอนดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ จะให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับกำหนดจังหวะเอง และมีความเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกันซึ่งมีสิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้ คือการเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการเล่นแบบฉับพลัน หรือที่เรียกว่าการด้นสด ฝึกการแต่งทำนองเพลงง่าย ๆ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้านดนตรี และด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทำให้เด็กมีความเข้าใจดนตรีและเล่นดนตรีได้อย่างมีความสุข และจากประสบการณ์ที่เด็กได้ทำสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ ดนตรีในขั้นสูงขึ้นไป แนวทางการจัดกิจกรรมตามแนวคิดคาร์ล ออร์ฟ มีการนำทักษะดนตรีเข้ามาบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ในการสอนการมีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งปลูกฝังกระบวนการความคิดเพื่อมีลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพที่ดีของเด็ก และยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตได้ดี จุดเด่นของการเรียนการสอนดนตรีแบบนี้คือการนำเอาธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเด็กออกมาใช้ ซึ่งธรรมชาติของเด็ก ๆ รักและสนุกที่จะกระโดดโลดเต้น ฟังเพลง ตบมือไปกับจังหวะเพลง และร้องเพลงสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นบทเริ่มแรกของการเรียน การสอนดนตรีสำหรับเด็กโดยให้เด็กได้ฟัง ได้ร้องและเล่นดนตรี ก่อนที่จะเริ่มการอ่านการเขียน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการเรียนภาษาของมนุษย์นั่นเอง โดยมีการวัดและประเมินผล วัดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ การมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในครอบครัว เพื่อนร่วมห้องเรียนมีการประเมินโดยผ่านการสังเกตและบันทึกผลจากผู้ปกครอง และผู้สอนโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มความสามารถทางด้านดนตรี และความภาคภูมิใจในตนเองตั้งแต่เด็ก</p> <p> </p> ปานบงกช สนโต Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-25 2024-06-25 15 1 323 338 บทบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/275206 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-04 2024-07-04 15 1 สารบัญ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/275207 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-04 2024-07-04 15 1