วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr <p>คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดทำวารสารขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>โดยจำแนกตามกลุ่ม ดังต่อไปนี้ </p> <p>- ภาษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์</p> <p>- ศิลปกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์</p> <p>- ปรัชญาและศาสนา</p> <p>- การเมืองการปกครอง การพัฒนาชุมชน และกฎหมาย</p> <p>- สหวิทยาการจัดการเรียนรู้</p> <p>- สารสนเทศศาสตร์ ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ</p> <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตีพิมพ์ฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2562 เป็นวารสารฉบับตีพิมพ์แบบรูปเล่ม ISSN 2730-2873 (Print) และพัฒนาเป็นรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2822-0234 (Online) ทั้งนี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นทางวิชาการ และวิจัยแก่นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทย และต่างประเทศที่มีความสนใจทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <span class="x193iq5w xeuugli x13faqbe x1vvkbs x1xmvt09 x1lliihq x1s928wv xhkezso x1gmr53x x1cpjm7i x1fgarty x1943h6x xudqn12 x3x7a5m x6prxxf xvq8zen xo1l8bm xzsf02u x1yc453h" dir="auto">ซึ่งวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ดำเนินการจัดทำภายใต้เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อเข้าสู่</span>การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการในฐานข้อมูล TCI</p> <p>ปัจจุบันวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึง<em>ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ <br /></em></p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ th-TH วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2730-2873 <p><strong>* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร </strong><br /><strong>** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ </strong><br /><strong> และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</strong></p> แนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้อง กับยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) : การศึกษารายกรณี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/274163 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) โดยทำการศึกษาเป็นรายกรณีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 2 คน คือ ผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า และสมัครใจในการให้ข้อมูล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาในการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล 2) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบบันทึกภาคสนาม และ 4) เครื่องบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า โดยทำเป็นรายกรณี พบว่า ผู้เรียนที่เป็นกรณีศึกษาไม่ได้มีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้ปกครองเกี่ยวข้องกับยาบ้า และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงตามทฤษฎีระบบ เชิงนิเวศวิทยา เช่น มีชุมชนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นพื้นที่ระบาดของยาเสพติด คนในสังคมรอบตัวของผู้เรียนมีความเกี่ยวข้องกับยาบ้า ผู้เรียนก็ยังคงมีแนวโน้มพฤติกรรมที่จะเกี่ยวข้องกับยาบ้า</p> ผกาสิริ ไชยคำภา ศานิตย์ ศรีคุณ Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 19 36 ความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยในประเทศจีน กรณีศึกษา นักศึกษาภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/276091 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยในประเทศจีน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาไทยในประเทศจีน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 38 คน เพศชาย 3 คน เพศหญิง 35 คน เป็นนักศึกษาไทยในโครงการ 2+2 2+1+1 และ 3+1 ของภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้าร่วมโครงการแบบ 2 ปี (โครงการ 2+2) จำนวน 13 คน และเข้าร่วมในโครงการแบบ 1 ปี ( 2+1+1 และ 3+1) จำนวน 25 คน ผลวิจัยพบว่า ความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยอยู่ในเกณฑ์มากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมใหม่มีค่าเฉลี่ยการปรับตัวเท่ากับ 3.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.89 2) ด้านการยอมรับและเข้าใจความแตกต่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 3) ด้านการสร้างเครือข่ายจิตวิทยาสนับสนุน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 4) ด้านการสื่อสารอย่างกระตือรือร้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 5) ด้านการรักษาทัศนคติเชิงบวกมีค่าเฉลี่ย 4.08 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45 และแนวทางในการพัฒนาความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม 5 ด้าน คือ 1) การเข้าสังคม 2) การสื่อสาร 3) การจัดการอารมณ์ 4) ความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การมีทัศนคติเชิงบวก</p> ณัฐฌาภรณ์ เดชราช กัลยรัตน์ แก้วคง Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 37 62 AI-Driven Technologies: Challenges and Countermeasures of Machine Translation in ELF Contexts https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/274542 <p>With the revolution and development in artificial intelligence (AI) and translation amongst ELF learners, the accuracy and quality of machine translation (MT) has facilitated the process of language translations. This article discusses the challenges and countermeasures related with AI-driven machine translation (MT) technologies and the uses in the context of English as a global lingua franca (ELF) where MT and AI have significant roles in terms of a tool to express certain language output. However, the integration of these technologies in the setting, particularly in academic contexts, reveals several challenges. Key issues including linguistic inaccuracies, cultural insensitivity, and domain-specific translation difficulties have been criticized. Moreover, this paper shows a range of countermeasures, such as, hybrid translation models that combine AI with human expertise, the development of domain-specific translation tools, and the implementation of human expertise guidelines. Also, the paper highlights the importance of interdisciplinary of using machine translation and continuous improvement in AI technologies to enhance translation quality.</p> Kamonchat Tanamai Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 4 18 สวมแว่นสีเขียวอ่านวรรณคดีสีเขียว https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/274611 วาทินี ศิริชัย Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 110 121 บทบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/278141 กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 1 3 การใช้ประโยชน์จากยางรักในการอนุรักษ์ศิลปกรรมในล้านนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/272453 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากยางรักในงานศิลปกรรมล้านนา และเพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์งานศิลปกรรมล้านนา ผลการศึกษาพบว่า แหล่งผลิตน้ำยางรักที่นำมาใช้ในการอนุรักษ์ส่วนมากมาจากภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่บางครั้งกรณียางรักในท้องถิ่นไม่เพียงพอกับการใช้งานช่างจะซื้อน้ำยางรักดิบมาจากประเทศพม่าอีกด้วย ยางรักนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านศิลปกรรมในฐานะตัวยึดติดแผ่นทองคำเปลว (กาว) ในการปิดประดับทองคำเปลว เงินเปลว ผงทอง ผงโลหะมีค่าต่าง ๆ เป็นวัสดุสมัยใหม่ที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในกระบวนการอนุรักษ์ เรียกว่า “งานลงรักปิดทอง” ในล้านนางานลงรักปิดทองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานปิดทองทึบ (ลงรักปิดทองผิวเกลี้ยง) งานปิดทองล่องชาด (การทำลวดลายต่าง ๆ ที่เป็นทองคำเปลวบนพื้นสีแดงชาด ด้วยเทคนิคแม่พิมพ์ลายฉลุที่วางแม่พิมพ์ลงบนพื้นชาดแล้วปิดทอง หรือ การลงรักปิดทองบนลวดลายที่เกิดจากการปั้น แกะสลัก เพื่อให้เกิดเป็นลายนูนและพื้นหลังลึกจะลงรักปิดทองเฉพาะส่วนที่นูน และทาสีแดงลงในร่องลึก) และ งานปิดทองลายฉลุ (ใช้วิธีการตอกลาย เจาะกระดาษเป็นต้นแบบลวดลายต่าง ๆ แล้วนำแบบที่ตอกฉลุไปทาบนพื้นสีต่าง ๆ ที่มีความเหนียวพอเหมาะต่อการปิดทองคำเปลว) ในกระบวนการอนุรักษ์ครั้งนี้ พบว่า ช่างใช้วิธีการอนุรักษ์ด้วยวิธี “งานปิดทองทึบ” และ “งานปิดทองล่องชาด” เพื่อให้ศาสนสถานและศาสนวัตถุมีความคงทน สามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้พบว่ามีการนำยางรักมาใช้กับงานศิลปกรรมด้านพระพุทธศาสนา ได้แก่ งานลงรักบนขอบใบลาน อีกทั้งมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่าการปิดทองทำเพื่อให้เกิดความสวยงามและเพิ่มความศรัทธา จัดเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าการปิดทองพระพุทธรูปทำให้ได้บุญกุศลในสุคติภพ มีผิวพรรณดี และเป็นวิธีการทำบุญกุศล ที่อาศัยการร่วมมือร่วมใจกันจากพุทธศาสนิกชนทุกคน</p> วาทินี คุ้มแสง กันยารัตน์ รินศรี Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 63 86 ความสำคัญของงานประวัติศาสตร์และโบราณคดีต่อการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/272256 <p>บทความนี้ ต้องการนำเสนอประเด็นบทบาทของงานศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดี ที่มีส่วนสำคัญต่อการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า โดยใช้กรณีตัวอย่างจากประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา จากการศึกษาพบว่าเมืองเก่าพะเยาขาดแคลนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเชิงกายภาพ ทั้งอาคารสถาปัตยกรรมและโบราณสถานที่ส่วนใหญ่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์จนห่างไกลจากรูปแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมืองเก่าพะเยา กลับอุดมด้วยข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์-โบราณคดี อาทิ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ประติมากรรม ศิลาจารึก และโดยเฉพาะร่องรอย “เวียง” หรือชุมชนโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ อันเป็นผลจากการศึกษารวบรวมและเก็บรักษาตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นและนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้คนในท้องถิ่นมีสำนึกร่วมต่ออดีตของเมืองเก่าค่อนข้างสูง เมืองเก่าพะเยาจึงโดดเด่นด้วยการนำองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี มาต่อยอดในการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บท ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างอัตลักษณ์ของเมืองและนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต โดยมีวัฒนธรรมและองค์ความรู้ทางวิชาการเป็นฐานสำคัญ</p> วิชญา มาแก้ว Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 6 2 87 109