วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr <p>คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดทำวารสารขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>โดยจำแนกตามกลุ่ม ดังต่อไปนี้ คือ</p> <p>- ภาษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์</p> <p>- ศิลปกรรม, ดนตรี ,และนาฏศิลป์</p> <p>- ปรัชญาและศาสนา</p> <p>- การเมืองการปกครอง การพัฒนาชุมชน และกฎหมาย</p> <p>- สหวิทยาการจัดการเรียนรู้</p> <p>- สารสนเทศศาสตร์ และภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ</p> <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตีพิมพ์ฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2562 เป็นวารสารฉบับตีพิมพ์แบบรูปเล่ม ISSN 2730-2873 (Print) และพัฒนาเป็นรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2822-0234 (Online) ทั้งนี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นทางวิชาการ และวิจัยแก่นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทย และต่างประเทศที่มีความสนใจทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <span class="x193iq5w xeuugli x13faqbe x1vvkbs x1xmvt09 x1lliihq x1s928wv xhkezso x1gmr53x x1cpjm7i x1fgarty x1943h6x xudqn12 x3x7a5m x6prxxf xvq8zen xo1l8bm xzsf02u x1yc453h" dir="auto">ซึ่งวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ดำเนินการจัดทำภายใต้เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อเข้าสู่</span>การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการในฐานข้อมูล TCI</p> <p>ปัจจุบันวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึง<em>ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ <br /></em></p> th-TH <p>* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร <br />** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ <br /> และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</p> [email protected] (นิโลบล วิมลสิทธิชัย) [email protected] (นิติกาญจ์ เซงคะแส่) Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 English Language Education in Thailand: What Should Be Done https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268967 <p>This paper addresses the challenges facing English language education in Thailand and offers practical solutions to improve its quality. It begins by considering the current state of English education in the formal context and identifying areas of weakness. Through an analysis of experience as English teachers, ways to enhance the quality of English language education in Thailand are proposed. The acknowledgment is made that improving English education in Thailand is a formidable task but one that is worth undertaking. The paper provides insights and recommendations for educators, policymakers, and other stakeholders in the field of English language education in Thailand.</p> Janpha Thadphoothon, Soisithorn Isarankura Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268967 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 สวัสดิการแรงงานต่างด้าวของรัฐไทย : กรณีศึกษาสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในจังหวัดพิษณุโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268457 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่า 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่า การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากเจ้าหน้าที่รัฐ 5 คน ผู้ประกอบการ 5 คน และแรงงานชาวพม่า 10 คน รวมทั้งสิ้น 20 คนโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้เแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะมีสิทธิในการได้รับสิทธิสวัสดิการด้านสุขภาพ ได้แก่ ประกันสังคมและประกันสุขภาพจากรัฐไทยเช่นเดียวกับแรงงานชาวไทย ทั้งนี้ แรงงานชาวพม่าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและขึ้นทะเบียนตามระบบของแรงงานจังหวัดในพื้นที่ 2) ปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานชาวพม่าในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ได้แก่ ปัญหาการขึ้นทะเบียนซึ่งมีขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนและใช้เอกสารจำนวนมาก ปัญหาการสื่อสารซึ่งมีข้อจำกัดทางภาษาและขาดคนกลางช่วยแปลภาษาและปัญหาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของแรงงานสตรีชาวพม่าที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ 3) ข้อเสนอแนะ คือ รัฐควรจัดบริการการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ควรมีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการให้บริการแรงงานต่างด้าว ควรลดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวและควรจัดให้มีล่ามแปลภาษา</p> อเนก สุขดี, จรูญ แป้นแก้ว, ภัทรพล กลิ่นเจาะ, นภัสวรรณ ศรีเมือง, ณัฐนิชา ณ ระนอง, จุฑามาศ อินทร์สุข Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268457 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268785 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) การเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาต่อการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม&nbsp; 3) แนวทางการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 388 คน&nbsp; โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ&nbsp; เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการประชาสัมพันธ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp; มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และปัญหาการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบมาก คือ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมไม่ทั่วถึง การเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาต่อการประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเปิดรับข่าวสารการประชาสัมพันธ์มากที่สุดคือ ด้านสื่อบุคคล &nbsp;แนวทางการประชาสัมพันธ์ พบว่ามี 4 ด้าน คือ1) ด้านการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านการประเมินผล</p> ปภาดา ธรรมจันทา Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268785 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้วย AtoM https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/269138 <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้วย AtoM 2) เพื่อประเมินคุณภาพ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินความพึงใจที่มีต่อคลังข้อมูลสรรพวิทยาท้องถิ่น : 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบและด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และการประเมินความพึงพอใจ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64</p> คม กันชูลี Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/269138 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ร่วมกับการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268099 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ร่วมกับการสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยการสอนตามแนวคิดของ โรเบิร์ตกาเย่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่หวาน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 90.08/90.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ โดยสอนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและเป็นรายข้อทุกข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D.= 0.15) </p> พิชญพรพรรณ ศรีมูลเรือง Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/268099 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/271361 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/271361 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ฆาตป์ : ความจริง ความทรงจำ ความเป็นพื้นถิ่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/271386 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาทิต ธรรมเชื้อ Copyright (c) 2023 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/article/view/271386 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700