https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/issue/feed วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย 2023-12-17T20:22:46+07:00 Teerayut Pengchai [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย (</strong><strong>JAAD)</strong><strong> </strong>เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อให้เป็นสื่อกลางในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานศิลปกรรมและการออกแบบของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการและส่วนเกี่ยวข้อง เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและด้านนวัตกรรมศิลปกรรม การออกแบบที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับในวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และเป็นพื้นที่สำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการอิสระ ได้นำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าและการสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมและผลงานการประดิษฐ์สร้างสรรค์สู่สาธารณชน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง</p> <p>ISSN : 2730-213X (Print)</p> <p>ISSN : 2730-3381 (Online) </p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270030 BLENDING AND TRANSLATION: RESEARCH ON AND PRACTICE OF LACQUER WERE CREATIVE PRODUCTS 2023-10-09T12:03:08+07:00 Lingyun Cheng [email protected] Pensiri Chartniyom [email protected] <p>The rich historical usage of lacquer in China and the enduring practice of Oriental pottery have converged to pioneer an inventive trajectory for safeguarding traditional crafts. The research aimed to recognize cultural essences in lacquer pottery products, enhance their contemporary design value through systematic data collection on art techniques and interpretation, and to elevate the aesthetics of Chinese teapots. This study delved into the realm of lacquer-pottery creative products, refining creative paths through explorations of various teapot typologies. By dissecting the aesthetics of Chinese teapots and merging them with the prowess of lacquer pottery craftsmanship, this research offered profound insights that propelled the modern evolution of traditional craft design.</p> <p>The current study employed a mixed methods approach, incorporating both quantitative and qualitative research techniques, and the interview was conducted with 30 participants. A comparison of the lacquer pottery cultural creative product design with two similar products validated the feasibility of the teapot cultural creative design. The study found that: 1) accurately incorporating design elements from the aesthetic qualities of lacquer pottery relics into lacquerware products realizes the translation of cultural genes in contemporary times. 2) The innovative combination of lacquerware and pottery craftsmanship alters the design process of creative products and creates innovative lacquer pottery products. 3) The feasibility of the design of the lacquer pottery teaware series of Chinese landscape-themed cultural and creative products is analyzed through the case study of a teapot. This study aims to inspire future designers and contribute to the continuous innovative development of lacquer pottery products.</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Udonthani Rajabhat University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270031 การสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยจากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จังหวัดอุดรธานี 2023-10-09T12:19:54+07:00 มาริญา ทรงปัญญา [email protected] <p>การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษารูปแบบลวดลายประดับที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2) สร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัย จากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และ 3) จัดเก็บ เผยแพร่ และทดลองต่อยอดเรขศิลป์สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ผ่านการผลิตต้นแบบแอพพลิเคชั่นโดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ&nbsp; ผ่านสำรวจศึกษาลวดลายประดับสถาปัตยกรรมในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเรขศิลป์ร่วมสมัยและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานผ่านการออกแบบแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการวัดประเมินผลความหลากหลายและประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัย ด้วยการวัดประเมินค่า (Rating scale)&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ลวดลายประดับที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีความหลากหลายของรูปแบบอิทธิพลทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมเขียนสีผนังถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมลาวล้านช้าง วัฒนธรรมจากสยามรัตนโกสินทร์ ศิลปะแบบโคโลเนียล ศิลปะจากช่างญวน ช่างอีสานพื้นถิ่น ศิลปะจีน และอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบทางกายภาพของลวดลายประดับด้วยเช่นกัน 2) การสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยที่นำแรงบันดาลใจจากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเรขศิลป์ในรูปแบบคลิปอาร์ต ซึ่งจำแนกรูปแบบได้แก่ รูปแบบเหมือนจริง (realistic) รูปแบบทำให้ดูง่าย (simplify) และรูปแบบลดทอน (subtract) ที่มีความหลากหลายและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของสีได้ ตามชุดโทนสีที่ได้จากการสังเคราะห์จากต้นแบบลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 3) การผลิตต้นแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในการจัดเก็บ เผยแพร่ และทดลองต่อยอดเรขศิลป์สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานในการต่อยอดสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีความพึงพอใจจากผู้ใช้งานโดยรวม รวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15)</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270037 การศึกษาวัสดุกรองขยะอินทรีย์เพื่อกำหนดรูปแบบถังขยะอินทรีย์สำหรับผู้สูงอายุภายในคอนโดมิเนียม 2023-10-09T21:55:46+07:00 อาริยา อัฐวุฒิกุล [email protected] ณัฐวิชช์ คชแก้ว [email protected] <p>งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการจัดการ การคัดแยก และการนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ภายในคอนโดมิเนียม โดยนำทฤษฎีมนุษย์ปัจจัยสำหรับการออกแบบมาใช้ควบคู่กับการเก็บข้อมูลภาคสนามจากพฤติกรรมการใช้งานทิ้งขยะอินทรีย์ของผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบศึกษา แบบค้นหา และการคัดเลือกการใช้ผลิตภัณฑ์กรองขยะอินทรีย์จำนวน 3 รูปแบบ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ภายในกรุงเทพมหานครฯ และทำการทดลองเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กรองขยะอินทรีย์จำนวน 3 แบบ ได้แก่ M1 M2 และ M3 นำไปให้กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 8 ท่าน ที่อาศัยอยู่ภายในคอนโดมิเนียมทดลองใช้งานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ก่อนใช้งาน 2) หลังจากการใช้งานไป 1 สัปดาห์ และ 3) หลังจากการใช้งาน 4 สัปดาห์ รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การประเมินและวัดผลจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) วัสดุกรองขยะอินทรีย์ตามท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ ผ้า โลหะ ซิลิโคน และพลาสติก 2) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการจัดการ การคัดแยก และการทิ้งขยะอินทรีย์ภายในคอนโดมิเนียม โดยการคัดแยกขยะอินทรีย์หลังจากการรับประทานอาหารด้วยวิธีการใส่ถุงพลาสติก (M1) ภาชนะพลาสติก (M2) และแผ่นซิลิโคน (M3) เนื่องจากการใช้งานยังคงมีน้ำที่ไหลจากขยะอินทรีย์ ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องนำถุงพลาสติกมารองรับน้ำอีกชั้นหนึ่ง และหลังจากการใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว ผู้สูงอายุนำขยะและน้ำจากขยะอินทรีย์ไปทิ้งทุกครั้งหลังจากการประกอบและรับประทานอาหารในถังขยะอินทรีย์เป็นขั้นตอนสุดท้าย และ 3) ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเลือกผลิตภัณฑ์ภาชนะพลาสติกสำหรับกรองขยะอินทรีย์ (M2) เนื่องจากมีข้อดีในการใช้งานสะดวกและง่ายต่อการจัดการหลังจากการใช้งาน และข้อเสียคือมีขนาดสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่เกินไปสำหรับพื้นที่การใช้งานสำหรับผู้ใช้งาน งานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปต่อยอดทางด้านการออกแบบวัสดุกรองขยะอินทรีย์สำหรับผู้สูงอายุและคนทั่วไปภายในพื้นที่พักอาศัยที่มีขนาดจำกัดต่อไปในอนาคต</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270038 การออกแบบอาร์ตทอยด้วยแรงบันดาลใจจากลวดลายบนซุ้มประตูพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี 2023-10-09T22:02:45+07:00 ปัญญาชัย ขันธพัฒน์ [email protected] ธีระยุทธ์ เพ็งชัย [email protected] ชนัญญา คงยืน [email protected] <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยด้วยการประยุกต์ลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยที่ออกแบบใหม่ เก็บข้อมูลจจากกลุ่มตัวอย่าง &nbsp;ได้แก่ &nbsp;ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านลวดลายศิลปกรรมล้านช้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาร์ตทอย แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยจากกลุ่มผู้ที่สนใจและชื่นชอบในงาน ของเล่น ของสะสม จำนวน 100 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบอาร์ตทอยด้วยแรงบันดาลใจจากลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก โดยการนำลวดลายสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 ทิศ มาใช้ในการออกแบบเป็นออกแบบผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยจำนวน 5 แบบ ได้แก่ ครุฑ นาค ช้างเอราวัณ ช้าง และสิงห์ ผลิตจากเรซิ่น โดยขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบาและผิวเรียบ สามารถตกแต่งสีผิวได้ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่สนใจและชื่นชอบในงานของเล่น ของสะสม และออกแบบโมเดลซุ้มประตูทั้ง 4 ซุ้มจากลวดลายซุ้มทั้ง 4 ทิศพร้อมบรรจุภัณฑ์&nbsp; ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า อาร์ตทอยที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คืออาร์ตทอยครุฑ (ค่าเฉลี่ย 4.56) อาร์ตทอย นาค (ค่าเฉลี่ย 4.53) ส่วนอาร์ตทอยที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ทอยช้างเอราวัณ (ค่าเฉลี่ย 4.49) อาร์ตทอยช้าง (ค่าเฉลี่ย 4.49) และอาร์ตทอยสิงห์ (ค่าเฉลี่ย 4.39)</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270040 คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือในพื้นที่ฉาวซ่าน ประเทศจีน เพื่อประยุกต์ใช้ในงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย 2023-10-09T22:11:45+07:00 Liu Jian [email protected] ภรดี พันธุภากร [email protected] ภูวษา เรืองชีวิน [email protected] <p>งานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านในพื้นที่ฉาวซ่านของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ด้วยการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและคงความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของฉาวซ่าน งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางศิลปะของงานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือในพื้นที่ฉาวซ่าน 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะที่มีอยู่ในงานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือในพื้นที่ฉาวซ่าน 3) เพื่อประยุกต์คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะงานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย ศึกษาข้อมูลด้วยการรวบรวมวรรณกรรม การวิจัยแบบสหวิทยาการและการสำรวจภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า งานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือมีอัตลักษณ์ทางศิลปะที่สำคัญของภูมิภาคและคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะอันยาวนาน โดยผสมผสานประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และงานหัตถกรรมเข้าด้วยกัน การผสมผสานระหว่างสุนทรียศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ งานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือไม่เพียงแต่สามารถสืบทอดอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังคาดว่าจะได้รับวิธีการใช้งานในด้านการสร้างสรรค์ผลงานสมัยใหม่ในพื้นที่กลางแจ้งอีกด้วย เพื่อให้การสนับสนุนทางทฤษฎีและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับการสืบทอดและพัฒนางานศิลปะงานหัตถกรรมกระเบื้องเคลือบเชี่ยนฉือ</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/270041 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้แรงบันดาลใจเทิดไท้เจ้าฟ้าองค์สิริศิลปิน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 2023-10-09T22:19:24+07:00 อลิศา โชตินนท์ภิชา [email protected] สุธิดา วรรธนะปกรณ์ [email protected] นุสรา ทองคลองไทร [email protected] ภักดี ปรีดาศักดิ์ [email protected] สุทธิชาติ ใจชอบสันเทียะ [email protected] <p>การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้แรงบันดาลใจ “เทิดไท้เจ้าฟ้าองค์สิริศิลปิน” กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้แรงบันดาลใจ “เทิดไท้เจ้าฟ้าองค์สิริศิลปิน” 2) เพื่อประเมินผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน&nbsp; งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) แบบสัมภาษณ์ &nbsp;และ แบบสอบถามใช้กับกลุ่มทอเสื่อ และกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลหลุ่งประดู่ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72 จากทั้งหมด 25 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 2) แบบสอบถามใช้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 3 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ &nbsp;3) แบบสอบถามใช้กับผู้บริโภคที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้า 50 คน &nbsp;ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญผลประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นำแรงบันดาลใจจากลวดลาย “ขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ในระดับดีมาก&nbsp; ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ &nbsp;( = 4.94) และ ลวดลายจากแรงบันดาลใจภาพวาดฝีพระหัตถ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ชุด “หลากลายหลายชีวิต” ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( &nbsp;= 4.88) &nbsp;ซึ่งการนำลวดลายจากแรงบันดาลใจ “เทิดไท้เจ้าฟ้าองค์สิริศิลปิน”เป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก &nbsp;จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อนำรายได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลังนำลวดลายมาใช้พบว่าผู้ประกอบอาชีพแปรรูปเสื่อทอมีกำไรจากยอดขายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 200%</p> 2023-10-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/271204 การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 2023-12-17T20:22:46+07:00 สุปัญญา บุสุวะ [email protected] อโณทัย สิงห์คำ [email protected] ชนัญญา คงยืน [email protected] <p>การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากการประยุกต์ใช้เส้นใยเหลือใช้ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบเครื่องแต่งกายจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย 3 ท่าน และกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 100 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นใยฝ้ายมีลักษณะทางกายภาพหลายแบบ มีความนุ่มและความเหนียวที่สามารถนำมาขึ้นรูปแบบของสิ่งทอได้หลากหลายเทคนิค ประกอบด้วย การผูก การมัด การปั่นตีเกลียว และการทอบนกี่ ดังนั้นเส้นใยฝ้ายสามารถนำมารีไซเคิลภายใต้แบบแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ได้ โดยมีค่าการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2) การออกแบบเครื่องแต่งกายจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิลเป็นคอลเลคชั่น 6 รูปแบบ ประกอบด้วย เสื้อแจ็คเก็ต สูท เสื้อโค้ทยาว เสื้อเชิ้ต เสื้อครอป กางเกง กระโปรง โดยมีแรงบันดาลใจในการออกแบบจากเครื่องแต่งกายสมัยวิคตอเรีย 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านแรงบันดาลใจและวัสดุในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยบุรุษ และสตรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 คความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีจากการประยุกต์ใช้เส้นใยฝ้ายเหลือใช้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54</p> 2023-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี