วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad <p><strong>วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย (</strong><strong>JAAD)</strong><strong> </strong>เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อให้เป็นสื่อกลางในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานศิลปกรรมและการออกแบบของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการและส่วนเกี่ยวข้อง เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและด้านนวัตกรรมศิลปกรรม การออกแบบที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับในวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และเป็นพื้นที่สำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการอิสระ ได้นำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าและการสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมและผลงานการประดิษฐ์สร้างสรรค์สู่สาธารณชน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง</p> <p>ISSN : 2730-213X (Print)</p> <p>ISSN : 2730-3381 (Online) </p> Udonthani Rajabhat University มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี th-TH วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย 2730-213X การออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274525 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติขวดน้ำพลาสติกรีไซเคิล 2) เพื่อออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยจากกลุ่มประชากรที่ใช้ในโครงการได้แก่บุคคลคนทั่วไปทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่สนใจการออกกำลังกาย จำนวน 100 คน ในเขตปริมณฑล จากสวนเทศบาลลำลูกกา สวน อบต.บึงคำพร้อย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการออกแบบกับกลุ่มผู้ออกกำลังกายเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปสู่การออกแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการออกแบบกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเเละแบบสอบถามความพึงพอใจด้านการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากแบบสอบถามด้วยค่าร้อยละเเละค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS</p> <p>ผลวิจัยพบว่า คุณสมบัติขวดน้ำพลาสติกประเภท PET/PETE มีแข็งทนทานต่อแรงกระแทก ไม่เปราะแตกง่ายสามารถนำมารีไซเคิลได้เป็นผ้า 3 ประเภท Nylon 70D High grade 100% RPET มีคุณสมบัติกันน้ำ, ระบายอากาศได้, แห้งไว, ผ้า Recycle Fabric 100% Polyester มีคุณสมบัติระบายอากาศได้, กันน้ำ และผ้า90% RPET Recycled Polyester 10% Spandex มีคุณสมบัติยืดหยุ่น และระบายอากาศ การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบการใช้ชีวิตตามฤดูกาลในประเทศไทย และแรงบันดาลใจจากพืชกินแมลงที่มีกระบวนการดักจับสิ่งมีชีวิตในแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะเพื่อย่อยเป็นอาหารซึ่งคล้ายคลึงกับกระบวนการของการรีไซเคิลของขวดพลาสติกที่จะต้องมีการพับ การอัด หรือหดทำให้เล็กลงเพื่อการรีไซเคิลเป็นเส้นใย โดยได้นำแนวคิดจากพืชกินแมลงมาเป็นตัวตั้งต้นในการออกแบบชุดออกกำลังกายที่คล้ายคลึงกับพืชกินแมลงและลวดลายที่มาจากฤดูกาลการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลจำนวน 3 ชุด คือ&nbsp; ชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูร้อน ฤดูหนาวและฤดูฝน โดยมีผลประเมินด้านคุณสมบัติการใช้งาน ผลประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ผลรวมอยู่ในระดับมากมีผลค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.28) ชุดออกกำลังกายที่มีความพึงพอใจต่อการออกแบบมากที่สุดคือฤดูหนาว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย &nbsp;(= 4.32) รองลงมาคือ ชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูฝน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย &nbsp;(= 4.30) เเละชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูร้อน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.29) การออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลมีส่วนช่วยในด้านต่อยอดการออกแบบจากวัสดุรีไซเคิลและการขจัดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากขวดน้ำที่มีปัญหาขยะอยู่ในลำดับต้นๆอีกทั้งยังเป็นผ้าทางเลือกในอุตสาหกรรมสิ่งทอ</p> จุฑามาศ พานทอง รุ่งนภา สุวรรณศรี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-05-30 2024-05-30 5 1 13 34 ความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ ในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274527 <p>การศึกษาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาและเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยใช้เครื่องมือแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามกลุ่มเป้าหมายและสังเกตพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวทั้งสองประเทศ ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ พบว่าของที่ระลึกของทั้งสองประเทศนั้นมีความคล้ายคลึงกันในบางชิ้นงานโดยจะเป็นประเภทสินค้าพื้นเมืองและสินค้าประเภทเสื้อผ้าสกรีนลวดลายและมีสินค้าที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะสินค้าประเภทของประดับของตกแต่ง ซึ่งประเทศกัมพูชานั้นจะมีความหลากหลายและมีความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นมากกว่าของที่ระลึกในประเทศไทย และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เลือกซื้อของที่ระลึกในประเทศไทยจะเป็นนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในประเทศมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งตรงข้ามกันกับในประเทศกัมพูชาที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะนิยมซื้อของที่ระลึกมากกว่าคนในพื้นที่โดยจะนิยมซื้อเพื่อนำไปเป็นของฝากของที่ระลึกและนำไปประดับตกแต่งหรือสะสมเก็บไว้เอง และจากการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของทั้งสองประเทศนั้น ประเด็นทางด้านบริบทพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ประเด็นทางด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ประเด็นทางด้านการส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเด็นทางด้านความโดดเด่นของศิลปวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านวัตถุดิบและศักยภาพของผู้ผลิตที่แตกต่างกัน และประเด็นทางด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว</p> กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-05-30 2024-05-30 5 1 35 51 การออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวและอัตลักษณ์ของกาแฟดงมะไฟ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274529 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กาแฟดงมะไฟ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดงมะไฟ บ้านดงมะไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ รวมถึงประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ 3) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติความเป็นมาและกระบวนการขั้นตอนในการผลิตกาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ในรูปแบบวีดิทัศน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดงมะไฟ จากการสุ่มตัวอย่างจากบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์ เซรามิกส์มีเรื่องราวที่น่าสนใจจากการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่น การผสานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2 สิ่งมารวมกันระหว่างกาแฟดงมะไฟและดินด่านเกวียนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ โดยให้ความรู้สึกถึงคุณสมบัติของกาแฟดงมะไฟและแหล่งเพาะปลูกที่โดดเด่น ผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าโดยนำรูปทรงของเขาเควสต้า ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟเป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบตราสินค้า โดยใช้โครงสร้างสีน้ำตาลซึ่งเป็นสีของเมล็ดกาแฟสร้างกราฟฟิกลงบนบรรจุภัณฑ์ ภายใต้ชื่อชุดผลิตภัณฑ์เควสต้าดริปเปอร์เซรามิกส์ด่านเกวียนและกาแฟดงมะไฟ บ้านดงมะไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์พบว่าโดยเฉลี่ย (= 4.50) มีความพึงพอใจระดับมาก และมีความพึงพอใจที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์โดยเฉลี่ย (= 4.20) มีความพึงพอใจระดับมาก โดยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยเฉลี่ย (= 4.35) มีความพึงพอใจระดับมาก ผลการถ่ายทอดเรื่องราวกาแฟดงมะไฟผ่านวีดิทัศน์ที่สามารถรับชมโดยสแกนผ่าน QR-code บนกล่องบรรจุภัณฑ์และสร้างความน่าสนใจให้กับตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น</p> เกรียงไกร ดวงขจร อ่อนลมี กมลอินทร์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-05-30 2024-05-30 5 1 52 74 ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนครโบราณเฉินหลู: การจัดการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์สู่เมืองแห่งศิลปะเครื่องเคลือบโบราณ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274530 <p>บทความวิจัยนี้ใช้ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนครโบราณเฉินหลู” เป็นหัวข้อหลักในการศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1949-2022) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นเมือง เทคนิคงานศิลป์ ศิลปะการตกแต่ง และสถาปัตยกรรมเครื่องเคลือบของนครโบราณเฉินหลู เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาดำเนินการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรมเครื่องเคลือบ และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์และคุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรมเครื่องเคลือบของนครโบราณแห่งนี้ ในส่วนของวิธีการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยวรรณกรรม วิธีการสำรวจภาคสนาม และวิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า โครงการจัดการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของนครโบราณเฉินหลูที่ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั้นทำให้สามารถส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอันเป็นเอกลักษณ์ของนครโบราณเฉินหลูได้</p> เฟง ซิน เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง ภูวษา เรืองชีวิน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-05-30 2024-05-30 5 1 75 95 การออกแบบชั้นวางหนังสือสไตล์ร่วมสมัย ด้วยแรงบันดาลใจจากเชี่ยนหมากอีสาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274531 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษารูปแบบและลวดลายเชี่ยนหมากอีสาน เป็นแนวทางในการออกแบบชั้นวางหนังสือ 2) เพื่อออกแบบชั้นวางหนังสือในสไตล์ร่วมสมัย ในศูนย์​ออกแบบสร้างสรรค์​ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC)​ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3) ประเมินต้นแบบชั้นวางหนังสือจากรูปแบบและลวดลายเชี่ยนหมากอีสาน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตกแต่งภายใน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชี่ยนหมากอีสาน และกลุ่มผู้ใช้งาน ที่มีความสนใจการออกแบบชั้นวางหนังสือ สไตล์ร่วมสมัย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกรูปแบบของเชี่ยนหมาก พบว่าเชี่ยนอีสานมีสองแบบคือ ทรงสี่เหลี่ยมและทรงคางหมูหรือทรงแอวขันปากพานเป็นทรงที่มีเอกลักษณ์ของเชี่ยนอีสาน ซึ่งเป็นทรงที่คล้ายคลึงกับฐานสิมอีสาน เชี่ยนหมากใช้ไม้มงคลในท้องถิ่น ไม้ยอป่า ไม้จำปา ไม้มะยม ไม้ขนุน หรือไม้เนื้อแข็งไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้สัก ลวดลายของเชี่ยนหมากจะเป็นลายเส้น ลายเรขาคณิต และลวดลายธรรมชาติ การสร้างลวดลายประดับตกแต่งของเชี่ยนหมากใช้เทคนิคการแกะสลัก การขูดให้เป็นร่อง จึงเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในการนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบชั้นวางหนังสือที่ใช้ในศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2) ออกแบบชั้นวางหนังสือ มีส่วนที่เป็นชั้นวางหนังสือ ที่ใช้ในศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในรูปแบบร่วมสมัย โดยการนำเอกลักษณ์ของความเป็นเชี่ยนหมากอีสาน มาออกแบบคือรูปทรงแอวขันปากพาน ในส่วนของลวดลายของเชี่ยนหมากใช้ลวดลายเรขาคณิต เทคนิควิธีการสร้างลวดลายตกแต่งบนชั้นวางหนังสือด้วยการแกะสลักลวดลายและการเลเซอร์ความร้อนบนแผ่นเหล็กให้เกิดลวดลายรูปแบบสไตล์ร่วมสมัย และคงความเป็นเอกลักษณ์ของเชี่ยนหมากอีสาน ได้แก่การแกะสลักดุนลายบนไม้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตชั้นวางหนังสือทำมาจากไม้สัก ที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับการนำมาทำชั้นวางหนังสือ 3) จากการประเมินความพึงพอใจต้นแบบของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นด้านแรงบันดาลใจ รูปแบบ วัสดุในการผลิต ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย และความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.68)</p> วัชระ ดรจ้ำ นิติ นิมะลา เอกพันธ์ พิมพาที Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-06-14 2024-06-14 5 1 96 111 การสร้างสรรค์ศิลปะถ่านชาร์โคล : กรณีศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะและผลงานของศิลปินในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวาดเส้นทัศนศิลป์นานาชาติ ประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274533 <p>การวิจัยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล 2) เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบศิลปะที่มีความเหมาะสมกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม โดยการสำรวจ การสังเกต และการวิเคราะห์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคลในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า พัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล แบ่งออกเป็น 5 ยุค คือ 1) ถ่านชาร์โคล : การสร้างภาพของมนุษย์ยุคแรก 2) ถ่านชาร์โคล: สื่ออเนกประสงค์ 3) ถ่านชาร์โคล : อัตลักษณ์และความหลากหลายในการสร้างสรรค์งานศิลปะ 4)ถ่านชาร์โคล : อัตลักษณ์และความหลากหลายในการสร้างสรรค์งานศิลปะ 5) ถ่านชาร์โคล : ปรากฏการณ์และแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ในประเทศไทย การเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1) การเรียนรู้ค่าความต่างของน้ำหนัก 2) การถ่ายทอดภาพหุ่นนิ่งและทิวทัศน์ 3) การถ่ายทอดภาพบุคคลและภาพคนเต็มตัว 4) วิธีการและสร้างสรรค์อย่างอิสระ รูปแบบศิลปะที่มีความเหมาะสมกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถ่านชาร์โคล แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การแสดงออกความรู้สึกทางอารมณ์ 2) แสดงความเป็นตัวตนและสไตล์ของศิลปิน 3) สะท้อนความหลากหลายในศิลปะสมัยใหม่-ศิลปะร่วมสมัย สามารถสรุปได้ว่า ถ่านชาว์โคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ค่าความต่างของน้ำหนัก จนถึงวิธีการและสร้างสรรค์อย่างอิสระ สามารถนำไปใช้เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้ในทุกระดับ</p> ศักชัย อุทธิโท Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-05-30 2024-05-30 5 1 112 131 STUDY ON THE DEVELOPMENT OF ETHNIC SONG AND DANCE COSTUME DESIGN IN GUANGXI, CHINA https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274664 <p>China, a nation celebrated for its cultural diversity, presents a rich mosaic of dance traditions thriving among its diverse ethnic communities. Within this cultural tapestry, the discipline of costume design for ethnic musical theaters assumes a pivotal role, shaping the essence of stage artistry. Despite its profound importance, a conspicuous void exists in theoretical research within this domain. This study embarked on a multifaceted exploration with three core objectives including: 1) Exploring Evolution and Socio-Cultural Dynamics: The study endeavored to unravel the correlation between the evolving landscape of stage costume design for ethnic minorities in Guangxi and the concurrent socio-cultural developments spanning from 1949 to 2020. 2) In-Depth Analysis of Design Methods and Procedures: It aimed to provide a comprehensive analysis, shedding light on the intricate methods and procedures that underlie the art of stage costume design for ethnic minorities in Guangxi. 3) Creation of Distinctive and Contemporary Stage Attire: The research extended its reach by crafting distinctive and contemporary stage costumes tailor-made for the opera "The Great Han Sea Road," the dance "Feather People," and the song and dance performance "Night in Guilin". The study employed a qualitative approach, analyzing interview content using descriptive statistics and stratified multiple regression analysis. Data was meticulously gathered and structured, drawing from insights from 8 performance groups, 20 practitioner surveys, and 8 interviews. An additional 30 audience surveys contributed to validating the research findings, affirming their consistency and significance. The design methodology initially evolved focusing on enhancing traditional attire, introducing innovations in color and style, and ultimately striving to harmonize visual aesthetics with tradition. The study revealed a discernible pattern in the development of ethnic minority stage costumes in Guangxi during the period from 1949 to 2020, characterized by a cyclic journey of traditional innovation and return to tradition (e.g., elements of style, color, and fabric), mirroring broader societal transformations in China. This research provided a multifaceted exploration into the intricate world of ethnic minority stage costume design in Guangxi, elucidating its evolution, cultural resonance, and practical applications within the performing arts. The findings have fostered innovative practices within the realm of stage costume design, manifesting prominently in the opera "The Great Han Sea Road," the dance "Feather People," and the song and dance spectacle "Night in Guilin"</p> Tian Chen Chanoknart Mayusoh Akapong Inkuer Pisit Puntien Copyright (c) 2024 UdonThani Rajabhat University 2024-06-07 2024-06-07 5 1 132 150 EXPLORING DESIGN TRENDS IN CULTURAL AND CREATIVE PRODUCTS INSPIRED BY HUASHAN ROCK ART IN GUANGXI https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274666 <p>ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศจีนแสดงให้เห็นถึงความต้องการและความนิยมต่อผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ครั้งใหม่ งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาองค์ประกอบภาพของภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานบริเวณลุ่มแม่น้ำจั่วเจียง มณฑลกว่างซี สำรวจแนวโน้มการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์จากภาพวาดบนหน้าผาฮัวซาน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและความชื่นชอบของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์จากภาพวาดบนหน้าผาฮัวซาน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญห้าคนในสาขาการออกแบบ การวิจัยภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานและการออกแบบทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสำรวจทิศทางของการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์จากภาพวาดบนหน้าผาฮัวซาน ในขณะเดียวกันใช้วิธีการวิจัยเอกสารอ้าง</p> <p>อิง วิธีการสำรวจภาคสนาม วิธีการวิเคราะห์กรณีศึกษาและวิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการเพื่อเรียนรู้ข้อมูลจากการสำรวจและการสัมภาษณ์เพื่อจำแนกและสรุปภาพมนุษย์ เครื่องใช้และสัตว์ของภาพวาดบนหน้าผาฮัวซาน จากนั้นทำการพัฒนาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เช่น เครื่องใช้ในสำนักงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ใช้องค์ประกอบภาพของภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานเป็นเนื้อหาและสอดคล้องกับอัตลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นที่มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่และเป็นที่นิยมอย่างสูง หวังว่าจะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์จากภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานแก่ผู้บริโภคได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนสำหรับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์จากภาพวาดบนหน้าผาฮัวซาน ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนเข้าใจภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานและวัฒนธรรมฮัวซานได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เพิ่มความนิยมและอิทธิพลของภาพวาดบนหน้าผาฮัวซานตลอดจนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์</p> Jie Fan Miyoung Seo Kriangsak Khiaomang Copyright (c) 2024 UdonThani Rajabhat University 2024-06-07 2024-06-07 5 1 151 174 FESTIVAL OF HAPPINESS: PRESERVING HMONG CULTURAL HERITAGE THROUGH ENAMEL ART https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274797 <p>This research delved into the heart of the Hmong Huashan Festival, a vibrant cultural event in China. The paper employed visual arts as a medium to encapsulate and convey the essence of the festival’s spirit. Through detailed field observations, the study captured various facets of the Huashan Festival, including traditional activities like flower pole climbing, lusheng dancing, bullfighting, and the unique social interactions during the festival. The investigation had two primary objectives: 1) to study and create art inspired by the traditional Huashan Festival; 2) to utilize the technique of enamel pinching to create art pieces that embody the Huashan Festival’s spirit. Employing techniques like enamel pinching and drawing inspiration from both Chinese farmer paintings and contemporary artistic styles, this thesis crafted a series of artworks that vividly portray the joyful and lively atmosphere of the festival. The thesis also explores the integration of cultural stories and traditions into visual arts, advocating for the preservation and promotion of cultural heritage. The result is a fusion of traditional cultural themes with modern aesthetic sensibilities, creating a rich tapestry that celebrates the Hmong culture and brings its festive spirit to a broader audience. The artworks serve not only as a visual feast but also as a means to foster cultural understanding and appreciation, making a significant contribution to the field of visual arts and cultural heritage preservation.</p> Jiwei Tao Kanokwan Nithirattapat Sakchai Uthitho Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-06-14 2024-06-14 5 1 175 196 SYMBOL OF URBAN LIFE: SCULPTING THE DYNAMICS OF FAMILY AND MODERNITY IN URBAN CHINA https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274799 <p>This study investigated the profound transformations within urban family structures in modern China, amidst the country’s rapid urbanization following the reform and opening-up policy. Utilizing an interdisciplinary approach, the research explored the socio-economic and cultural shifts influencing family dynamics, particularly focusing on the experiences and environmental interactions of younger urban dwellers. The research involved extensive fieldwork in Baoshan City and a critical review of literature spanning life-course theory, modernization theory, and gender equity theory. The findings highlighted the evolving roles within the urban Chinese family and the challenges posed by urban living. The core of the investigation lay in synthesizing these themes through visual arts, with a series of sculptures encapsulating 'The Symbol of Urban Life'. Drawing inspiration from the works of Henry Moore, Antony Gormley, and Julian Voss-Andreae, the sculptures acted as a narrative tool, dissecting, and reconstructing the layered complexities of urban existence. The resulting sculptures depicted the urban experience and provided analytical and sociological commentaries on the state of the family in urbanized China. Suggestions for future research involved interactive public art installations and examining the psychological impact of living in high-density urban environments, advocating for a cross-disciplinary approach to further explore the dynamic interplay between urban studies, psychology, and visual arts.</p> Zhendong Zhang Boontan Chettasurat Adool Booncham Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-06-14 2024-06-14 5 1 197 217 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุในยุคนิวนอร์มัลสู่งานออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/274800 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากหนังสือ บทความวิชาการ บทความจากนิตยสาร รวมไปถึงผลงานการออกแบบสร้างสรรค์จากนักออกแบบและศิลปินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าในปัจจุบันหลังจากกระบวนการผลิต จะมีการคัดแยกเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตเก็บเอาไว้ เนื่องจากเศษวัสดุเหล่านั้นถือเป็นของใหม่ที่ยังไม่ผ่านการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก เศษวัสดุเหล่านั้นจึงกลายเป็นของมีค่าสำหรับนักออกแบบและศิลปินที่จะนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานต่อ โดยการต่อยอดด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปจากอดีตอย่างมาก &nbsp;นั่นคือจากการรีไซเคิล (Recycle) มาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Upcycling) ในขณะเดียวกันสังคมในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่เรียกว่าชีวิตปกติวิถีใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีแนวโน้มและแนวความคิดในการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมเช่นกัน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุในยุคชีวิตปกติวิถีใหม่ อาจจะนำไปสู่แนวทางการออกแบบที่แตกต่างและทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ที่มีความร่วมสมัย</p> ฐากร ถาวรโชติวงศ์ อรอุมา วิชัยกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024-06-14 2024-06-14 5 1 218 239