https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/issue/feed วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) 2024-06-15T23:24:45+07:00 ดร.สิทธิพร เกษจ้อย piakealexander@yahoo.com Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการแสงอีสานรับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้าน ด้านพระพุทธศานา ปรัชญา การศึกษาเชิงประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์ (Article Review) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความที่ตีพิมพ์จะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Doubleblind Peer Review)</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์</strong><br />ปีละ 2 ฉบับ<br /> - ฉบับประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน<br /> - ฉบับประจำเดือน กรกฏาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/269387 การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพุทรา โดยเทคนิค 5W1H 2023-12-01T16:53:39+07:00 ladda janpen ladda1102534@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยเทคนิค 5W1H กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพุทรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบที T-test dependent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H กับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยเทคนิค 5W1H พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/270301 การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2023-10-25T12:09:26+07:00 PHATTHICHAI RUEANGDETKETUHIRAN pat09088@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ (4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี</p> <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ ได้แก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ด้วยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้การสุ่มแบบจับฉลาก จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) จำนวน 4 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch แบบวัดเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย t-test for Independent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของการพัฒนาชุดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch มีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.73/81.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนหมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.07 3) สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่ได้รับการทดลองโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการใช้วิธีการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01** 4) สรุปผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) มีผลการประเมินความพึงพอใจของภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.77, S.D. = 0.38) ซึ่งสูงกว่า วิธีการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01**</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/270980 รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน 2024-02-09T14:59:37+07:00 Khwanjai Kaewsaeng ok9khwan@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน กลุ่มเป้าหมายเป็น เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 78 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( 𝑥̅= 3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผล และประเมินผลทางการศึกษา (𝑥̅= 3.98) ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (𝑥̅= 3.91) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (𝑥̅= 3.90) และด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้(𝑥̅= 3.78) 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย พันธกิจ วัตถุประสงค์ และ วิถีแห่งการพัฒนา 2.2) กระบวนการ ซึ่งมีกลไกขับเคลื่อนประกอบด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และการทำงานเป็นทีม และ 2.3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณภาพบัณฑิต และ ความพึงพอใจในระบบการบริหารงานวิชาการ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.25) และรายด้านโดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือด้านความถูกต้อง(𝑥̅= 4.40) รองลงมาคือด้านความเหมาะสม และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความเป็นไปได้ (𝑥̅= 4.28)</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/271840 โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2024-02-07T16:15:03+07:00 kittipitch khampaenjiraroch kittipitchkj@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัล ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยัน/ความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 จำนวน 177 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.32) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.84) ความต้องการจําเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.179) ความคิดสร้างสรรค์ยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.173) การทำงานเป็นทีมยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.138) และสร้างบรรยากาศองค์กรยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.121) ตามลำดับ 2.<span style="font-size: 0.875rem;">ผลการตรวจสอบยืนยันโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ผลตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต พบว่าความเหมาะสมและอยู่ในระดับมาก</span></p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/271842 โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2024-02-09T14:00:53+07:00 Namontra Khamheangpol namontratraining@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 177 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผลการหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง .08-1.00 ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ร่างโปรแกรมฯ ตอนที่ 2 ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร่างโปรแกรมฯ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1.สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.46) อยู่ในระดับมาก สภาพอันพึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.93) อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (PNI<sub>modified </sub>= 0.123) ด้านการวัดและการประเมินผล (PNI<sub>modified </sub>= 0.120) ด้านการสนับสนุน การบริหาร และการดำเนินการ (PNI<sub>modified </sub>= 0.100) ด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ (PNI<sub>modified </sub>= 0.091) และด้านสังคม กฎหมาย และประเด็นทางจริยธรรม (PNI<sub>modified </sub>= 0.076) ตามลำดับ </p> <p> 2.โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ 1) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 2) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 4) การใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ 5) ความรับผิดชอบและจริยธรรมการใช้เทคโนโลยี 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.31) อยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.33) อยู่ในระดับมาก</p> <p> 3.ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมไปใช้ ความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.12) อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.40) อยู่ในระดับมาก</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273267 รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2024-04-01T13:19:19+07:00 Nawat Buapat krutong2132@gmail.com <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน และรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Research Methodology) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 208 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนมี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนทั้ง 3 ด้านคือ ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และสภาพปัจจุบันการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>2) รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนประกอบด้วย 1) หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 2) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 5) การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม</p> <p>3) ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.64)</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273471 ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2024-04-16T12:21:56+07:00 weerapol sundod weerapol.teem@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 281 คน คิดเป็นร้อยละ 98 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅= 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล (𝑥̅ = 4.24) ด้านการสร้างวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.24) ด้านวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.22) และด้านความรู้การใช้งานเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅=4.21) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273472 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2024-04-16T12:31:32+07:00 Preeyada Sundod preeyada.5520117056@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา (𝑥̅ = 4.63) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน (𝑥̅ = 4.58) ด้านการพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (𝑥̅ = 4.58) และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (𝑥̅ =4.57) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273964 ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2024-05-02T13:41:32+07:00 อรสา พลฤทธิ์ losmeena7@gmail.com อัครเดช นีละโยธิน losmeena7@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅ = 4.31) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงระดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะการรักษาความปลอดภัยและจริยธรรมของตนเอง ( 𝑥̅= 4.35) ทักษะการสื่อสารและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.33) ทักษะการประเมินและติดตามการเรียนรู้ทางดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.33) ทักษะใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ( 𝑥̅ = 4.31) และทักษะการสร้างสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.25)ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273270 รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 2024-04-01T13:19:53+07:00 PICHAYA KAEWPATTA pichaya6984@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 302 คน โดยเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยแบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 𝑥̅= 3.43) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้านการออกแบบการเรียนรู้ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.62) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ความต้องการจําเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ลําดับความสําคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNI<sub>modified </sub>= 0.379) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ(PNI<sub>modified </sub>= 0.345) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (PNI<sub>modified </sub>= 0.338) และ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง(PNI<sub>modified </sub>= 0.328) ตามลำดับ </p> <p>2) รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และ 4) แนวทางการประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.82)</p> <p>3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย( 𝑥̅= 4.82) ความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ย(𝑥̅ = 4.79) ความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.88)</p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273538 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2024-04-12T14:57:56+07:00 Jiratchaya Prasitrat jiratchaya656565@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า การบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅= 4.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ( 𝑥̅= 4.36) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( 𝑥̅= 4.33 ) ด้านระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( 𝑥̅= 4.24) ด้านการนิเทศการศึกษา ( 𝑥̅= 4.22 ) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( 𝑥̅= 4.22) และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ( 𝑥̅= 4.18 ) 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> 2024-06-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)