วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi <p>วารสารวิชาการแสงอีสานรับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้าน ด้านพระพุทธศานา ปรัชญา การศึกษาเชิงประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์ (Article Review) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความที่ตีพิมพ์จะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Doubleblind Peer Review)</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์</strong><br />ปีละ 2 ฉบับ<br /> - ฉบับประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน<br /> - ฉบับประจำเดือน กรกฏาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> Mahamakut Buddhist University Isan Campus th-TH วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) 3027-6152 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์</p> <p>Publication Ethic:</p> <p>The detail published&nbsp; in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is&nbsp; not relevant with the jouranl. Besides, the authors&nbsp; must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures&nbsp; or tables from others, the athours must refer to the original sources.</p> <p><strong>Article Consideration</strong><strong>:</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of &nbsp;The article's double blind.&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in&nbsp; Saeng Isan&nbsp; Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.</p> การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพุทรา โดยเทคนิค 5W1H https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/269387 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยเทคนิค 5W1H กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพุทรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบที T-test dependent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H กับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยเทคนิค 5W1H พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4</p> ladda janpen Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 1 13 การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/270301 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ (4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี</p> <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ ได้แก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ด้วยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้การสุ่มแบบจับฉลาก จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) จำนวน 4 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch แบบวัดเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย t-test for Independent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของการพัฒนาชุดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch มีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.73/81.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนหมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.07 3) สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่ได้รับการทดลองโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการใช้วิธีการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01** 4) สรุปผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) มีผลการประเมินความพึงพอใจของภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.77, S.D. = 0.38) ซึ่งสูงกว่า วิธีการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01**</p> PHATTHICHAI RUEANGDETKETUHIRAN Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 14 32 รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/270980 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน กลุ่มเป้าหมายเป็น เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 78 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( 𝑥̅= 3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผล และประเมินผลทางการศึกษา (𝑥̅= 3.98) ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (𝑥̅= 3.91) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (𝑥̅= 3.90) และด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้(𝑥̅= 3.78) 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย พันธกิจ วัตถุประสงค์ และ วิถีแห่งการพัฒนา 2.2) กระบวนการ ซึ่งมีกลไกขับเคลื่อนประกอบด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และการทำงานเป็นทีม และ 2.3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณภาพบัณฑิต และ ความพึงพอใจในระบบการบริหารงานวิชาการ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.25) และรายด้านโดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือด้านความถูกต้อง(𝑥̅= 4.40) รองลงมาคือด้านความเหมาะสม และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความเป็นไปได้ (𝑥̅= 4.28)</p> Khwanjai Kaewsaeng Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 33 45 โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/271840 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัล ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยัน/ความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 จำนวน 177 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.32) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.84) ความต้องการจําเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.179) ความคิดสร้างสรรค์ยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.173) การทำงานเป็นทีมยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.138) และสร้างบรรยากาศองค์กรยุคดิจิทัล (PNI<sub>modified </sub>= 0.121) ตามลำดับ 2.<span style="font-size: 0.875rem;">ผลการตรวจสอบยืนยันโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ผลตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต พบว่าความเหมาะสมและอยู่ในระดับมาก</span></p> kittipitch khampaenjiraroch Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 46 60 โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/271842 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 177 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผลการหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง .08-1.00 ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ร่างโปรแกรมฯ ตอนที่ 2 ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร่างโปรแกรมฯ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1.สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.46) อยู่ในระดับมาก สภาพอันพึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.93) อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (PNI<sub>modified </sub>= 0.123) ด้านการวัดและการประเมินผล (PNI<sub>modified </sub>= 0.120) ด้านการสนับสนุน การบริหาร และการดำเนินการ (PNI<sub>modified </sub>= 0.100) ด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ (PNI<sub>modified </sub>= 0.091) และด้านสังคม กฎหมาย และประเด็นทางจริยธรรม (PNI<sub>modified </sub>= 0.076) ตามลำดับ </p> <p> 2.โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ 1) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 2) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 4) การใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ 5) ความรับผิดชอบและจริยธรรมการใช้เทคโนโลยี 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.31) อยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.33) อยู่ในระดับมาก</p> <p> 3.ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมไปใช้ ความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.12) อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.40) อยู่ในระดับมาก</p> Namontra Khamheangpol Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 61 77 รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273267 <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน และรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Research Methodology) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 208 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนมี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนทั้ง 3 ด้านคือ ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และสภาพปัจจุบันการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>2) รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนประกอบด้วย 1) หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 2) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 5) การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม</p> <p>3) ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.64)</p> Nawat Buapat Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 78 92 ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273471 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 281 คน คิดเป็นร้อยละ 98 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅= 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล (𝑥̅ = 4.24) ด้านการสร้างวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.24) ด้านวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.22) และด้านความรู้การใช้งานเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅=4.21) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> weerapol sundod Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 93 109 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273472 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา (𝑥̅ = 4.63) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน (𝑥̅ = 4.58) ด้านการพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (𝑥̅ = 4.58) และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (𝑥̅ =4.57) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ตามการรับรู้ของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> Preeyada Sundod Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 110 125 ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273964 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅ = 4.31) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงระดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะการรักษาความปลอดภัยและจริยธรรมของตนเอง ( 𝑥̅= 4.35) ทักษะการสื่อสารและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.33) ทักษะการประเมินและติดตามการเรียนรู้ทางดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.33) ทักษะใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ( 𝑥̅ = 4.31) และทักษะการสร้างสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.25)ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05</p> อรสา พลฤทธิ์ อัครเดช นีละโยธิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 126 144 รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273270 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 302 คน โดยเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยแบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 𝑥̅= 3.43) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้านการออกแบบการเรียนรู้ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.62) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ความต้องการจําเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ลําดับความสําคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNI<sub>modified </sub>= 0.379) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ(PNI<sub>modified </sub>= 0.345) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (PNI<sub>modified </sub>= 0.338) และ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง(PNI<sub>modified </sub>= 0.328) ตามลำดับ </p> <p>2) รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และ 4) แนวทางการประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.82)</p> <p>3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย( 𝑥̅= 4.82) ความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ย(𝑥̅ = 4.79) ความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.88)</p> PICHAYA KAEWPATTA Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 145 161 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/273538 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า การบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅= 4.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ( 𝑥̅= 4.36) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( 𝑥̅= 4.33 ) ด้านระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( 𝑥̅= 4.24) ด้านการนิเทศการศึกษา ( 𝑥̅= 4.22 ) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( 𝑥̅= 4.22) และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ( 𝑥̅= 4.18 ) 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> Jiratchaya Prasitrat Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 21 1 162 178