วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi <p>วารสารวิชาการแสงอีสานรับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้าน ด้านพระพุทธศานา ปรัชญา การศึกษาเชิงประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์ (Article Review) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความที่ตีพิมพ์จะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Doubleblind Peer Review)</p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์</strong><br />ปีละ 2 ฉบับ<br /> - ฉบับประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน<br /> - ฉบับประจำเดือน กรกฏาคม - ธันวาคม</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์</p> <p>Publication Ethic:</p> <p>The detail published&nbsp; in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is&nbsp; not relevant with the jouranl. Besides, the authors&nbsp; must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures&nbsp; or tables from others, the athours must refer to the original sources.</p> <p><strong>Article Consideration</strong><strong>:</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of &nbsp;The article's double blind.&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in&nbsp; Saeng Isan&nbsp; Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.</p> piakealexander@yahoo.com (ดร.สิทธิพร เกษจ้อย) khamphiraphap.ko@mbu.ac.th (อ.คัมภีรภาพ คงสำรวย) Thu, 19 Dec 2024 14:20:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สิทธิทางการศึกษาของพระสงฆ์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274466 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิทธิทางการศึกษาของพระสงฆ์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาของพระสงฆ์ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้กล่าวไว้โดยรวมตามมาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันและมาตรา 27 วรรคสอง การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้พระสงฆ์มีสภาพเป็นบุคคล จึงหมายความว่าพระสงฆ์ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาและพระสงฆ์ย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอนเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น พระสงฆ์จึงไม่ถูกจำกัดสิทธิโดยกฎหมายและไม่อยู่ในข่ายแห่งเงื่อนไขแห่งการจำกัดสิทธิและเสรีภาพได้ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พระสงฆ์จะมีสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษา ซึ่งหลักการนี้ยังได้รับการยอมรับและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของนานาอารยประเทศประชาธิปไตยที่ถือเป็นหลักพื้นฐานประการหนึ่งในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรมและในการนี้พระสงฆ์ก็เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความแตกต่างจากบุคคลกลุ่มอื่นทางกายภาพ มีสถานภาพการเกิดตามพระธรรมวินัยประกอบกับต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีความเชื่อทางศาสนาที่มีหลักปฏิบัติเป็นการเฉพาะ แต่ความแตกต่างนั้นก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จึงไม่ควรถูกแบ่งแยกออกจากสังคมมนุษย์และควรได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560</p> พระณัฐวุฒิ พันทะลี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274466 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทและคุณลักษณะที่ดีของพลเมืองจากมุมมองของเยาวชนไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275841 <p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทและคุณลักษณะที่ดีของพลเมืองจากมุมมองของเยาวชนไทย ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และทุกภาคส่วนต้องช่วยกันขัดเกลา หล่อหลอมเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมผ่านระบบการศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองตามคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดี โดยความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมเคารพความแตกต่าง เคารพหลักความเสมอภาค เคารพกติกา และรับผิดชอบต่อตนเองและพึ่งตนเองได้ ดังนั้น การพัฒนาเยาวชนในสังคมหนึ่ง ๆ ให้มีคุณภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับ ความรู้ความสามารถ (knowledge) ทักษะ (skill) และเจตคติ (disposition) ของเยาวชนในสังคมจาก “ราษฎร” ไปสู่ “ประชาชน” ให้กลายเป็น“พลเมือง” ที่มีความรู้ ความสามารถ ตระหนักในศักยภาพของตน มีความกระตือรือร้นที่จะใช้สิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเหมาะสมตามลำดับและตามช่วงวัยของเยาวชนเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นใหญ่ และทำเพื่อให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้ามีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุขกันทั่วหน้า</p> ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275841 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/272999 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3</p> <p>2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ T-test การทดสอบ F-test หรือ One Way ANOVA เมื่อพบความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LS.D (Least Significant Difference)</p> <p>ผลการวิจัยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน (𝑥̅= 4.23) รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (𝑥̅= 4.18) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี (𝑥̅= 4.10) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ (𝑥̅= 4.10) เมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามอายุ โดยรวมพบว่าแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านแตกต่างกัน และจำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร และด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และด้านการใช้เทคโนโลยีใน การบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วีราภรณ์ สุยา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/272999 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติงานสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ศึกษากรณี ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274136 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลกับสหวิชาชีพภายในโรงพยาบาล และสหวิชาชีพภายนอกโรงพยาบาล จำนวน 16 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าสหวิชาชีพมีการปฏิบัติงานตามกระบวนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กำหนดไว้ ได้แก่ (1) การค้นหาข้อเท็จจริงหรือการสืบสวนสอบสวน (2) การคุ้มครองป้องกันเฉพาะหน้า (3) การบำบัดฟื้นฟู (4) การส่งเด็กคืนสู่สังคม (5) การป้องกันการถูกกระทำซ้ำด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงในครอบครัวและชุมชน</p> <p>ปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรมได้แก่ (1) ด้านความเข้าใจ พบปัญหาด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน (2) ด้านการประสานงานและการส่งต่อ พบว่าไม่มีระบบการประสานงานในช่วงวันหยุดราชการ ไม่มีระบบการส่งต่อข้อมูลการดำเนินการช่วยเหลือ (3) ด้านการบริหาร มีข้อจำกัดด้านแนวทางปฏิบัติร่วมกันแบบสหวิชาชีพยังไม่ชัดเจน บุคลากรไม่เพียงพอ ไม่มีงบประมาณ สถานที่ให้บริการไม่เหมาะสม และไม่มีนโยบายส่งเสริมการปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ</p> <p>แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม 1) ด้านความเข้าใจ ควรพัฒนาความรู้ด้านกฎหมาย ทักษะการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม และจิตวิทยาการสร้างสัมพันธภาพ 2) ด้านการประสานงานและการส่งต่อ ควรมีคู่มือ มีการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพของสหวิชาชีพ และมีการประชุมพัฒนาเครือข่าย 3) ด้านการบริหาร ควรมีหลักสูตรอยู่ในการเรียนให้แก่นักศึกษาแพทย์ และพยาบาล มีการจัดการทรัพยากรเครือข่ายในการปฏิบัติงาน และมีการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดโครงสร้างศูนย์พึ่งได้ จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และสนับสนุนด้านงบประมาณในการปฏิบัติงาน</p> <p>ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) กระทรวงสาธารณสุขควรมีการปรับโครงสร้างงานศูนย์พึ่งได้ ให้ชัดเจน 2) กระทรวงสาธารณสุขควรมีการจัดทำแนวปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3) หน่วยงานด้านกฎหมายควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน 1) โรงพยาบาล ควรมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายภายในจังหวัด 2) ศูนย์พึ่งได้ ควรมีการพัฒนาบุคลากรเพิ่มศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน</p> chanchanaporn Kralam Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274136 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274234 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้า 2) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ระบบการบริหารคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้ายึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก คือระบบวินัยและระบบธรรม ด้านการปกครองใช้หลักการกระจายอำนาจสำหรับการปกครอง ด้านการศึกษา ต้องศึกษาและปฏิบัติอยู่กับอาจารย์อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ด้านการสงเคราะห์ ใช้หลักการบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและสาธารณชนด้วยหลักธรรมและวัตถุ การเผยแผ่ใช้หลักการเข้าถึงบุคคล สังคมและชุมชน และด้านสาธารณูปการ การสร้างวัดที่เรียบง่ายเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติ การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ใช้พระธรรมวินัยและมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ มติของมหาเถรสมาคมเป็นหลักสนับสนุน เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน และการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ควรปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ได้แก่ ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและการสร้างกฎระเบียบให้ง่ายขึ้น กำหนดให้มีการฝึกอบรมด้านพระพุทธศาสนาทุกระดับชั้น ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง กำหนดฝึกอบรมคฤหัสถ์ที่มีอายุครบ 20 ปี ทุกคน ไม่ต่ำกว่า 3 วัน ใน 1 ปี คณะสงฆ์จัดงบประมาณร่วมกันเพื่อสร้างถาวรวัตถุและบูรณวัดที่ขาดแคลน และการจัดทำประกันชีวิตให้กับพระภิกษุและการจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือประชาชนทั่วไปกรณีฉุกเฉิน</p> Dr.Prasong Promsri Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274234 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274601 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 52 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการผลิตสื่อการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent)</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>1) ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.37)</p> <p>2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ IGPEP และการวัดผลทักษะการผลิตสื่อการสอน</p> <p>3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นแสดงให้เห็นว่า คะแนนทดสอบสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.61)</p> <p>4) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ= 4.60)</p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 52 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการผลิตสื่อการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent)</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>1) ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.37)</p> <p>2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักการ ด้านวัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ IGPEP และการวัดผลทักษะการผลิตสื่อการสอน</p> <p>3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นแสดงให้เห็นว่า คะแนนทดสอบสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61)</p> <p>4) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการสอนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.60)</p> <p> </p> พระวสันต์ ธีรวโร เกษงาม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/274601 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบความสามารถในด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275133 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ตำบลหนองกุงสวรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 11 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 2) แบบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร หลังการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (μ = 19.91 ) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ (μ = 13.82 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร ที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( μ= 4.72 ).</p> สิทธิชน พิกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275133 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275163 <p> </p> <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (𝑥̅ =3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเป็นแบบอย่างผู้นำตนเอง (𝑥̅ =4.43) ด้านการสร้างภาวะผู้นำตนเอง (𝑥̅ =4.24) ด้านการสร้างพลังอำนาจ (𝑥̅ =3.89) ด้านการสร้างพลังเชิงบวก (𝑥̅ =3.60) และด้านการสนับสนุนและเสริมแรงบุคลากร (𝑥̅ =3.24) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ครูที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> เทพประกร คำภูเขียว, วิทูล ทาชา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275163 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275165 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูจำนวน 257 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การประเมินความต้องการจำเป็น ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีการดำเนินการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.16) และให้มีการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.61) 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดมี 3 ด้านได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (PNI<sub>Modified</sub>=0.11) ด้านการมีแบบแผนความคิด (PNI<sub>Modified</sub>=0.11) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (PNI<sub>Modified</sub>=0.11) รองลงมาคือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (PNI<sub>Modified</sub>=0.10) และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (PNI<sub>Modified</sub>=0.09) และ 3) แนวทางพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ผู้บริหารควรสื่อสาร สร้างบรรยากาศ จัดสรรเวลา และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ครูได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง สู่การเป็นวัฒนธรรมองค์กร</p> Parichat Jongphuakklang Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275165 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275219 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 327 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 282 คน คิดเป็นร้อยละ 86.54 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยเรียงระดับจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (𝑥̅ = 3.67) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (𝑥̅ = 3.65) ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (𝑥̅ = 3.61) ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (𝑥̅= 3.55) และ 2) ผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า เพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> Areeya Intapanya, Witoon Thacha Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275219 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275657 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำนวน 44 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅ = 4.26) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ( 𝑥̅ = 4.50) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ( 𝑥̅ = 4.32) ทักษะด้านความคิดรวบยอด ( 𝑥̅ = 4.21) ทักษะการใช้เทคโนโลยี และดิจิทัล ( 𝑥̅ = 4.19) ทักษะด้านการสื่อสาร ( 𝑥̅ = 4.09) ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำแนกตาม ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05</p> Maliwan Janhuana Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/275657 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276047 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของทางวัฒนธรรมในล้านนา 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา และ 3) เพื่อจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 รูป/คน การปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย 21 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบ่งออก 4 อย่าง คือ 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ มิติด้านศาสนา มิติด้านอัตลักษณ์และภูมิปัญญา มิติด้านธรรมชาติ และมิติทางด้านศิลปะ 2) ศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา เชิงชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และเชิงธรรมชาติใกล้พื้นที่สร้างสรรค์ 3) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามโมเดล BCG อาศัยปัจจัย 5 ด้าน คือ (1) อาหารพื้นบ้าน (2) บทบาทเจ้าของพื้นที่ (3) ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (4) กิจกรรมท้องถิ่น และ (5) เทศกาลในท้องถิ่น</p> <p class="5175">2<span lang="TH">. การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวมีขั้นตอน ดังนี้ 2.1) การพัฒนาประเพณี วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชุมชน 2.2) กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่สร้างสรรค์ 2.3) การออกแบบกิจกรรมเชื่อมโยงความเชื่อ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พื้นที่ท่องเที่ยวหลัก และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 2.4) การถอดบทเรียนและคืนข้อมูลแก่ชุมชน</span></p> <p class="5175"><span lang="TH">3.</span><span style="font-size: 0.875rem;">โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 โปรแกรม คือ 1) โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน 2) โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านศิลปะ และ 3) โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์กับธรรมชาติ ซึ่งโปรแกรมการท่องเที่ยวนี้จะยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนตามโมเดล BCG และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน</span></p> สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276047 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาองค์ประกอบทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู ในศตวรรษที่ 21 และคุณภาพผู้เรียน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276290 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเอกสาร (Document Study) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง และขั้นตอนที่ 2. ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และคุณภาพผู้เรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะในการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 มี 5 องค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากทุกองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ทักษะการจัดการชั้นเรียน 2. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ทักษะการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 4. ทักษะการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 2) คุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน มี 6 องค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากทุกองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ทักษะการคิด 2. การมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ 3. การมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 4. ทักษะการแสวงหาความรู้ 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6. ทักษะการทำงานเป็นทีม</p> Cholrawin Loamarintchai, Wannika Chalakbang, Apisit Somsrisuk Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276290 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นผู้บริหารและครู ยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276065 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test independent) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.27) เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทบทวนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ( 𝑥̅= 4.30)รองลงมา คือ ด้านการบูรณาการหลักธรรมกับชีวิตประจําวัน ( 𝑥̅= 4.29) ด้านการวางแผนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 𝑥̅= 4.27) และด้านการจัดกิจกรรมทําสมาธิให้กับผู้เรียน ( 𝑥̅= 4.23) และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูพระสอนศีลธรรมยุคดิจิทัลในโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา ในภาพรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมและรายด้าน ยกเว้นด้านการจัดกิจกรรมทําสมาธิให้กับผู้เรียน</p> Manasawin Pobsuk Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276065 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ธรรมาสน์ล้านนา: อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และสุนทรียศาสตร์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276672 <p>บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสำรวจ วิเคราะห์ประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของธรรมาสน์ล้านนา 2) เพื่อวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ธรรมาสน์ล้านนา และ 3) เพื่อพัฒนากระบวนการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ธรรมาสน์ล้านนา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในพื้นที่วัด 2 แห่ง ได้แก่ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยใช้การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป/คน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการพรรณนาบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ธรรมาสน์ล้านนามีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 - 25 โดยสอดคล้องกับปรัชญาและคติธรรมทางพระพุทธศาสนา มีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ฐาน เรือนเทศน์ และหลังคา แต่ละส่วนแฝงความหมายเชิงศาสนา เช่น การแกะสลักลวดลายดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการพ้นจากกิเลส และลวดลายนาคที่สื่อถึงการปฏิบัติอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด ธรรมาสน์บางหลังยังมีลวดลายเทวดาที่สื่อถึงการบูชาพระธรรมของเทวดา ซึ่งจัดเป็นอามิสบูชา สะท้อนความเชื่อของชาวล้านนาในเรื่องการสร้างบุญกุศล 2) สุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในธรรมาสน์ล้านนา มีความโดดเด่นด้านการออกแบบและตกแต่ง โดยลวดลายต่าง ๆ ลายดอกบัวที่สื่อถึงการตรัสรู้ ลายเถาวัลย์ที่แสดงถึงการเติบโต และลายเมฆที่สื่อถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นลวดลายที่ถูกออกแบบมาอย่างประณีตเพื่อสะท้อนคติธรรมที่ลึกซึ้ง นอกจากนี้ การจัดวางและออกแบบธรรมาสน์ยังถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมบรรยากาศในการปฏิบัติธรรมและการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ลวดลายและสัญลักษณ์ที่ใช้ในการตกแต่งธรรมาสน์ช่วยส่งเสริมบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างสมบูรณ์ และ 3) การพัฒนากระบวนการเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาการสร้างธรรมาสน์ล้านนา มุ่งเน้นการอนุรักษ์ศิลปกรรมผ่านการฝึกอบรม การจัดกิจกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยังสังคมในวงกว้าง นิทรรศการและการแสดงศิลปกรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสนใจและกระตุ้นการอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนาในยุคปัจจุบัน</p> Chantarat Tapuling Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276672 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276092 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การทดสอบ t-test (Independent Samples Test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก( 𝑥̅= 4.26) โดยด้านทักษะความร่วมมือมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านทักษะความร่วมมือ( 𝑥̅= 4.32) ด้านทักษะวิสัยทัศน์( 𝑥̅= 4.27) ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์( 𝑥̅= 4.23) และด้านทักษะการสื่อสาร( ( 𝑥̅= 4.20) ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน</p> Tippawan Wiseddee Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276092 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ ของครูใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276592 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test independent) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅= 4.40) เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( 𝑥̅= 4.47) ด้านภาวะผู้นำ ( 𝑥̅= 4.39) ด้านวิสัยทัศน์( 𝑥̅= 4.37) และด้านบริหารจัดการ ( 𝑥̅= 4.35) และ 2) ผลการเปรียบเทียบความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุและประสบการณ์ในการทำงานในรายด้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านภาวะผู้นำ และด้านคุณธรรม จริยธรรม </p> setthaphum faenglap Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276592 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276731 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอน จำนวน 317 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 302 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅= 3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( 𝑥̅= 3.97), ด้านสร้างแรงบันดาลใจ ( 𝑥̅= 3.93), ด้านกระตุ้นทางปัญญา( 𝑥̅= 3.91) และด้านคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ( 𝑥̅= 3.89) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกันและมีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> Rungtiwa Seehanoo Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276731 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วย โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276903 <p>วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมตัวก่อนตายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายโรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาหลักอริยสัจ 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเน้นศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ ตำรางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงในภาคปฏิบัติ และทบทวนเอกสารแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุป และนำเสนอเชิงพรรณา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมตัวก่อนตายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายโรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นการเตรียมตัวผู้ป่วยใน 3 มิติ คือ (1) ด้านร่างกาย โดยการเข้าใจกระบวนการักษาแบบประคับประคอง (2) ด้านจิตใจและจิตวิญญาณ โดยการเข้าใจกระบวนการยอมรับข้อเท็จจริงของชีวิต และ(3) ด้านสังคม โดยการเข้าใจบริบท ซึ่งมีครอบครัวและสิ่งแวดล้อม อยู่ในกระบวนการบทบาทของทีมการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล จึงเป็นความหวังสุดท้ายของชีวิต ในการบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ 2) หลักอริยสัจ 4 เป็นกระบวนการแก้ปัญหาดับทุกข์ที่แท้จริง ได้แก่ ทุกข์(รู้ปัญหา) สมุทัย(รู้สาเหตุ) นิโรธ(รู้เป้าหมาย) มรรค (รู้วิธีการ) และ3) การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการเตรียมตัวก่อนตายกับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นผลทำให้ผู้ป่วยรู้มิติของชีวิตและความเจ็บป่วย เข้าใจชีวิตและยอมรับความตายได้ตามความเป็นจริง โดยวาระสุดท้ายของชีวิตมี 4 ขั้นตอน คือ (1) กระบวนการสร้างความเข้าใจความจริง (2) กระบวนการสร้างการยอมรับ (3) การปรับสมดุลชีวิต และ (4) การปล่อยวางอย่างเข้าใจ.</p> สิริกาญจน์ มหากิจสิริภักดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276903 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์การบริหารการศึกษากับกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276218 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ความรู้จากนานาทัศนะของนักวิชาการด้วยการวิจัยเอกสารสู่การนำเสนอแนวคิดการบริหารการศึกษากับกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา และ 2) ศึกษาความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการบริหารการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์เก่าสำหรับศตวรรษที่ 20 สู่กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ตามแนวทางของ Scott (2006) ศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากทัศนะของนักวิชาการจากเอกสารหลากหลายฉบับ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการศึกษาที่จะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายกับกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิผล นักบริหารการศึกษาจะต้องมีความคาดหวังสูง มองอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์ มีจิตมุ่งสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายพื้นฐานที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด มีภาวะผู้นำแบบร่วมมือ และสร้างความตื่นตัวทางปัญญาให้โรงเรียนและห้องเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกระบวนทัศน์เก่าผู้บริหารการศึกษาดำเนินงานตามกรอบเค้าโครงความคิดตามแบบวิทยาศาสตร์แบบตายตัวไม่เปิดกว้าง ไม่ยืดหยุ่น ต้องได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง แตกต่างจากกระบวนทัศน์ใหม่ที่ผู้บริหารการศึกษาดำเนินงานแบบเปิดกว้างยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารแบบประชาธิปไตยให้ทุกคนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง</p> Phramaha Suphachai Bootraked (Suphakicco) Phramaha Suphachai Bootraked (Suphakicco) Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/276218 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/277021 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยแบบการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.29) 2) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.33) 3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา วิสัยทัศน์ดิจิทัล และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรในยุคดิจิทัลมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีอิทธิพลสูงที่สุด คือ วิสัยทัศน์ดิจิทัล รองลงมา คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรในยุคดิจิทัล ตามลำดับ โดยมีอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ได้ร้อยละ 62.50</p> นางสาวปลายฟ้า แก้วพรหม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/277021 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700