@article{Korree_2020, title={รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเกษตรเพื่อนำไปสู่การลดภาวะหนี้สิน ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง}, volume={9}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/240648}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินและวิธีการจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการก่อเกิดการมีภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร และ 3) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครัวเรือนเกษตรกรบ้านจู้ด หมู่ที่ 5 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งทำการเกษตรในปีการผลิต 2560/2561 ติดต่อกัน 3 ปี จำนวน 58 ครัวเรือน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และกลุ่มที่ 2 การสนทนากลุ่มโดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้แทนครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 8 คน ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ผู้อาวุโสหรือปราชญ์ทางการเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 2 คน และผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน รวมจำนวน 22 คน และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารองค์กรที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ครัวเรือนเกษตรกรมีภาวะหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 276,427 บาท แหล่งเงินทุนที่มีภาวะหนี้สินมากที่สุด ได้แก่</p> <p> </p> <p>ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเกาะคา มีการชำระหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 61,389 บาทต่อปี 2) ปัจจัยหรือเงื่อนไขสำคัญจากความเห็นของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่ส่งผลต่อการก่อเกิดสภาวะหนี้สิน แบ่งเป็น 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 2.1) ด้านสภาพครัวเรือนเกษตรกร ได้แก่ การขาดความรู้และทักษะในการทำการเกษตร และการขาดความสามารถการบริหารจัดการของครัวเรือนเกษตรกร 2.2) ด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ได้แก่ การบริโภคนิยม มีพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่อนส่ง และการลอกเลียนแบบ และการไม่รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม 2.3) ด้านสภาพแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำ ลักษณะดินแห้งแล้ง และการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช 2.4) ด้านสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ กลไกการตลาดที่ไม่เป็นธรรม และขาดการบริหารจัดการเครื่องมือทำการเกษตร 2.5) ด้านนโยบายทางการเมือง ได้แก่ เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีไม่เพียงพอ และ 3) รูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สิน ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ค่าดิน ควรเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำทำการเกษตร ควรทำการเกษตรแบบผสมผสาน ครัวเรือนเกษตรกรควรลดการบริโภคนิยม คือ ควรลดพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่อนส่งและการลอกเลียนแบบ ควรจัดทำบัญชีครัวเรือน และความสัมพันธ์ของชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่าย เสริมสร้างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยนกัน</p>}, number={1}, journal={มมร ล้านนาวิชาการ}, author={Korree, Kart}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={55–66} }