@article{เนตรทิพย์_ทองคล้อย_2022, title={วิธีคิดและการเปรียบเทียบนัยผู้หญิงในคร่าว ซอ}, volume={11}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/247461}, abstractNote={<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีคิดและการเปรียบนัยผู้หญิงใน คร่าว ซอ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากคร่าวใช้ของกวีพื้นบ้านและบทซอล่องน่านของพ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ) ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยศึกษาจากบทกวีที่ถ่ายทอดออกมาจากบทกวี และคำร้องที่ถ่ายทอดออกมาในซอล่องน่าน ทั้งคร่าวใช้และบทซอล่องน่าน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นัยการเปรียบของกวีนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับค่านิยมและคตินิยมของคนล้านนาในการมองผู้หญิงอันเป็นที่รักของตน โดยกวีนำมาเปรียบกับธรรมชาติ ความเชื่อ ศาสนา สรรพสิ่ง และความสัมพันธ์ในสังคม สร้างภาพให้ผู้หญิงมีความงดงามบอบบางน่าทะนุถนอม จึงเลือกที่จะนำเอาสตรีไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความงามตามคตินิยมของล้านนา กวีกล่าวถึงผู้หญิงด้วยการเปรียบกับสิ่งที่อยู่รอบตัว ชี้ให้เห็นถึงนัยที่แฝงสะท้อนให้เห็นถึงสภาพธรรมชาติ เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพความงดงามทางกายทั้งผิวพรรณ ผม ดวงตา แขน รูปร่าง หรือกล่าวโดยรวมเป็นความงามในพระพุทธศาสนาที่ถือว่าความงามอย่างนางวิสาขาเป็นแบบอย่างของความงาม เรียกว่า เบญจกัลยาณี ชาวล้านนาถือคติความงามของหญิงสาวตามอย่างของนางวิสาขาทั้งยังต้องมีความงดงามทั้งความงามภายในและความงามภายนอก วิถีชีวิตที่ยังคงเกี่ยวพันกับการถักทอใช้วัสดุในการถักทอเพื่อบ่งบอกความงามหรือสถานภาพ บทบาทหน้าที่ของผู้หญิงในสังคมทั้งแม่และน้อง ทั้งนี้คำเปรียบของกวียังชี้ให้เห็นความงามของผู้หญิงที่ไม่เพียงแต่งามทางกายเท่านั้น หากแต่งามทางด้านคุณสมบัติของการเป็นแม่เรือนที่ดีดุจนางแก้วหรือดุจพระนางมัทรีอีกด้วย</p>}, number={1}, journal={มมร ล้านนาวิชาการ}, author={เนตรทิพย์ อภิชาติ and ทองคล้อย สุพรรณ}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={53–64} }