@article{ญาณวีโร (ทิพย์โอสถ)_จันทร์แรง_ภูกงลี_2022, title={วิเคราะห์เดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก}, volume={11}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/248616}, abstractNote={<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก 2) วิเคราะห์เดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เดรัจฉานวิชาที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกทั้งในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสห้ามให้พระสาวกเรียนหรือผู้ประกอบพิธีกรรม เพราะจะเป็นการหลอกลวงเป็นช่องทางให้ผู้ที่เจตนาไม่บริสุทธิ์ใช้วิชานี้ว่าเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะมีผลเสียหายต่อธรรมวินัยส่งผลให้คำสอนที่เป็นหลักการที่สำคัญที่สอนอย่างมีเหตุผล มีแนวทางคำสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ 2) ทัศนะของพระพุทธศาสนาที่ต่อมีเดรัจฉานวิชามีลักษณะประนีประนอม ในมุมมองของจิตวิทยาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระอานนท์เรียนรตนสูตรเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ให้กับชาวเมืองไพศาลีเพื่อขับไล่อมนุษย์ออกไปจากเมืองจนทำให้เมืองเกิดความสงบสุขจนประชาชนเกิดความเลื่อมใสน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแนวทางในการดำเนินชีวิต คำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายระดับแตกต่างกัน สาระสำคัญที่เป็นแกนกลาง การดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญารู้เท่าทัน ไม่หลงงมงายตกเป็นทาสของกิเลสและความทุกข์ แม้อยู่ท่ามกลางกระแสสามารถทวนกระแสบางอย่างได้ มีชีวิตจิตใจที่เป็นอิสระ ควบคุมตนเองได้ ดังคำที่ว่า ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด</p>}, number={1}, journal={มมร ล้านนาวิชาการ}, author={ญาณวีโร (ทิพย์โอสถ) พระครูวินัยธรสัญชัย and จันทร์แรง เทพประวิณ and ภูกงลี สุดใจ}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={13–23} }