TY - JOUR AU - เทียมสุข, ประยุทธ PY - 2021/06/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธ: แนวคิด ทฤษฎี วิธีปฏิบัติ และการประเมินผล JF - มมร ล้านนาวิชาการ JA - mbulncjo VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/243707 SP - 105-117 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; “ทุนมนุษย์” เป็นสินทรัพย์ขององค์การที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารจัดการองค์การให้บรรลุเป้าหมายสามารถแข่งขันกับองค์การอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะทุนมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและคุณธรรมจริยธรรมให้กับองค์การ การจะได้มาซึ่งทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาและการรักษาทุนมนุษย์ให้อยู่กับองค์การ ตลอดจนการออกจากองค์การไปด้วยดีนั้น ล้วนต้องอาศัยการจัดการทุนมนุษย์ที่ดี&nbsp; ดังนั้น ทุนมนุษย์ จำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการเพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพ สร้างคุณค่าให้กับบุคคลและทำให้บุคคลคนนั้นเป็นทุนขององค์การที่มีมูลค่าสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินทรัพย์อื่นใดขององค์การ&nbsp;&nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเห็นว่าการเกิดเป็นมนุษย์ถือว่าเป็นผู้มี “ทุน” หรือเป็น “ทุนมนุษย์” อยู่แล้วและทุนมนุษย์นี้สามารถพัฒนาให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นไปได้ ผลแห่งการพัฒนาจะสั่งสมเป็นทุนติดตัวตลอดไป และผลนั้นสามารถสืบต่อข้ามภพข้ามชาติได้จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ดังนั้น คำว่าทุนมนุษย์นี้จึงหมายถึง “พระอริยบุคคล”&nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระพุทธศาสนามุ่งเน้นการบริหารจัดการทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่งและคนดีโดยวางเป้าหมายไว้ 2 ระดับ คือ ระดับโลกียะ (กัลยาณชน) และระดับโลกุตตระ (อริยชน) โดยยึดกระบวนการ&nbsp; 3 ป.&nbsp; เป็นแนวปฏิบัติ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติเวธ และใช้ระบบไตรสิกขาซึ่งครอบคลุมถึงมรรคมีองค์ 8 เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งทั้งกระบวนการและระบบในการบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธนั้นจะต้องดำเนินการไปภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักอริยสัจ 4</p> ER -