TY - JOUR AU - พิมพ์สุรโสภณ, พรทิพย์ PY - 2021/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - มาตรการทางกฎหมายในการเลี่ยงการบังคับโทษผู้เสพยาเสพติด JF - มมร ล้านนาวิชาการ JA - mbulncjo VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/247716 SP - 68-76 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการเลี่ยงการบังคับโทษจำคุกผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติด ซึ่งพิจารณาจากมาตรการทางกฎหมายที่มีบทลงโทษจำคุกผู้เสพยาเสพติด ทำให้เกิดปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ต้องขังมีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนพฤติกรรมการกระทำความผิดกันเอง เป็นอุปสรรคในการบำบัดฟื้นฟู&nbsp; จึงมีการกระทำความผิดซ้ำเพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจับพบว่า มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากขึ้นและไม่สามารถทำให้ลดลงได้ แต่กลับมีการกระทำความผิดซ้ำ และมีผู้เสพยาเสพติดรายใหม่เพิ่มมากขึ้น มาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดไม่สามารถกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น จึงเสนอให้แก้ไข ประมวลอาญามาตรา 23 วรรคสอง “ในกรณีผู้กระทำความผิดต้องโทษจำคุกตามวรรคแรก ถ้าเป็นความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ศาลมีอำนาจใช้มาตรการในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดแทนการกักขัง” แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55 วรรคสอง “ถ้าการลงโทษจำคุกตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ศาลมีอำนาจใช้มาตรการในการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุก” และแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 52 (7) “กรณีนักโทษเด็ดขาดในคดีเกี่ยวกับการเป็นผู้เสพยาเสพติด คณะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาจัดทำแผนบำบัดฟื้นฟู โดยไม่คำนึงถึงจำนวนโทษที่ได้รับมาแล้ว ตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545”</p> ER -