มมร ล้านนาวิชาการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal <p>วารสาร มมร ล้านนาวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่าง ๆ ดังนี้ 1) สาขาศาสนาและปรัชญา 2) สาขาศึกษาศาสตร์ 3) สาขามนุษยศาสตร์ 4) สาขาสังคมศาสตร์ 5) สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ 6) สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>โดยกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br />✎ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ✎ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN </strong>3027-8961 (Online)<br /><em>* ตั้งแต่ฉบับปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2567) เผยแพร่เฉพาะรูปแบบออนไลน์เท่านั้น</em></p> มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา th-TH มมร ล้านนาวิชาการ 3027-8961 <p>ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์</p> <p>บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ</p> กรรม การเกิดใหม่และสังสารวัฏตามหลักพุทธปรัชญา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/269805 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของกรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏตามหลักพุทธปรัชญา และ 2) เพื่อการวิเคราะห์ถึงผลกรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏตามหลักพุทธปรัชญา อ้างอิงจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น พระไตรปิฎกตลอดจนหนังสือจากนักการศาสนาที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา พบว่า บุคคลที่มีกรรมเป็นของตน การกระทำที่มีเจตนาเป็นตัวกำหนดการกระทำ เมื่อมีเจตนาแสดงการกระทำกรรม ทางกาย วาจา และใจ กระทำกรรมเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เป็นไปตามกฎ ปฏิจจสมุปบาท คือ กฎแห่งเหตุและผล เรียกว่า “กฎแห่งกรรม” เมื่อทำกรรมดีย่อมทำได้รับผลดี เมื่อทำกรรมชั่วย่อมทำได้รับผลชั่ว ประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข</p> บุษราภรณ์ บุญเอียด ธรรมรัตน์ ยศขุน สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 13 1 128 138 แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย กรณีศึกษาชุมชนเทศบาล ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272023 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบแอลเอสดี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย มีรายการปฏิบัติ 22 รายการประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ เช่น เทศบาลจัดประชุมประชาคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการในการแก้ปัญหาอุทกภัย ด้านการแก้ไขปัญหาอุทกภัย เช่น เทศบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รู้สถานการณ์น้ำ เพื่อเตรียมรับมือกับอุทกภัย ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้านการรับผลประโยชน์ เช่น เทศบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และด้านการประเมินผลและการติดตาม เช่น เทศบาลมีการประชุมประชาคมสรุปการดำเนินงานหลังจากเกิดเหตุอุทกภัย เป็นต้น</li> </ol> อติกานต์ แสวงบุญ นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 13 1 1 9 คุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272079 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 320 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test และทดสอบค่า F-test แบบ One Way ANOVA และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 รูป/คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />=4.06, S.D.=0.681) ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />=4.10, S.D.=0.688)</li> <li>เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ พบว่า ผู้รับบริการที่มีชั้นปี คณะ และสังกัดวิทยาเขตต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้รับบริการที่อยู่คณะต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ ตามหลักสังควัตถุ 4 โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ พบว่า ควรเพิ่มอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในการรับบริการให้เพียงพอกับความต้องการของผู้รับบริการ ควรจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในการให้บริการอย่างเพียงพอและทันสมัย</li> </ol> ศิริกร ไชยสิทธิ์ นพดณ ปัญญาวีรทัต เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 13 1 10 20 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสำนักศาสนศึกษาวัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/271959 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายใน 4) เพื่อประเมินผลและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสำนักศาสนศึกษาวัดเจดีย์หลวง เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้ผู้ให้ข้อมูลการวิจัยเป็นผู้บริหาร 2 รูป ครูผู้นิเทศ 8 รูป และครูผู้รับนิเทศ 8 รูป ในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิจัย คือ แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการนิเทศภายใน พบว่า มีสภาพปัจจุบันยังไม่มีการนิเทศภายในเป็นรูปแบบที่มีกระบวนการตามระบบคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นการประเมินไม่ตรงตามประเด็นปัญหาที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนา</li> <li>การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ชื่อว่า AETI Model มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพความต้องการจำเป็น (Aspiration, A) ขั้นที่ 2 วางแผน (Exertion, E) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติ (Thoughtfulness, T) ขั้นที่ 4 ประเมินผล (Investigation, I)</li> <li>การทดลองใช้รูปแบบ โดยก่อนและหลังการใช้รูปแบบ โดยหลังการใช้รูปแบบ มีคะแนนเฉลี่ย (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />= 4.03, S.D. = 0.55, % = 84.66) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ มีคะแนนเฉลี่ย (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />= 3.46, S.D. = 0.58, % = 71.76)</li> <li>การประเมินผลและพัฒนารูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรับรองประสิทธิภาพรูปแบบการนิเทศภายใน ทุกรูป/คนเห็นสอดคล้องกันว่า กระบวนการของรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันได้</li> </ol> อุดร ทีปวังโส พระมหาสกุล มหาวีโร Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 13 1 21 33 สภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษา: โรงเรียนเชตุพนศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272197 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา 2) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา 3) แสวงหาแนวทางพัฒนาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนเชตุพนศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 5 รูป และ นักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพในการฝึกปฏิบัติการสอน มีการดำเนินการเรียนการสอนตามแผนการสอนและสื่อการสอน การรายงานผลการปฏิบัติการสอนโดยบันทึกกิจกรรมการสอนตามแผนการสอน</li> <li>ปัญหาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา พบว่า การติดต่อประสานงานด้านเอกสารมีมาก ขาดการติดต่อให้คำเสนอแนะ ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน นักเรียนไม่ค่อยมีพื้นฐาน ชอบหลับในห้องเรียน แสดงกิริยาไม่ค่อยเหมาะสม</li> <li>แนวทางพัฒนาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา พบว่า ควรปรับปรุงด้านการทำเอกสารให้มีรูปแบบชัดเจน ครูพี่เลี้ยง ครูนิเทศก์ ควรให้คำแนะนำและเทคนิคการสอนแก่นักศึกษา ควรปรับปรุง แก้ไขการทำรายงานทางปฏิบัติการสอน และควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการอ่านมากขึ้น</li> </ol> เขียน วันทนียตระกูล สมนึก นาห้วยทราย ชุติมา มุสิกานนท์ Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 13 1 34 44 แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรม 4 ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/271978 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเสี่ยงด้านบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาวิธีการบริหารความเสี่ยง ตามหลักวุฒิธรรม 3) เสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 280 คน สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพความเสี่ยงด้านการบริหารสถานศึกษา มีระดับการบริหารมากที่สุด ความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านการครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส 3) ด้านการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย 4) ด้านการเรียนรู้ 5) ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง 6) ด้านการบริหารการเงิน ตามลำดับ</li> <li>วิธีการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารสถานศึกษา มีหลักการบริหาร คือ 1) นำหลักสัปปุริสังเสวะมาใช้เป็นแนวทางบริหารการเรียนรู้ 2) ใช้หลักสัทธัมมัสสวนะเป็นแนวทางศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารให้ครอบคลุมถึงมิติเด็กด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพและการคุ้มครองเด็ก 3) ตรวจสอบตามหลักหลักโยนิโสมนสิการด้วยเหตุผลด้านนโยบายและด้าน การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย 4) ปฏิบัติตามหลักธัมมานุธัมมปฏิบัติ เพื่อบริหารการเงินให้เกิดความโปร่งใส</li> <li>แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรม 4 มีแนวทาง ดังนี้ 1) ใช้หลักสัปปุริสังเสวะ โดยเสวนา แบบกัลยาณมิตร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างละเอียด กำหนดทิศทางการบริหารได้ 2) ใช้หลักสัทธัมมัสสวนะ เพื่อเปิดโอกาสรับฟังข้อมูลและนำมาเป็นหลักขยายโอกาสทางการศึกษาครอบคลุมถึงนโยบายการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 3) ดำเนินการด้วยหลักโยนิโสมนสิการ มีการตรวจสอบข้อมูลว่าสอดคล้องกับสภาพปัญหาการบริหารอย่างแท้จริง 4) ใช้หลัก ธัมมานุธัมมปฏิบัติ พิจารณาหลักการนำความรู้การสู่ปฏิบัติให้ถูกต้อง มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง</li> </ol> ชัชวาลย์ คำงาม Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 13 1 45 59 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/271844 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัล 3) ประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหาร 141 คน ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนา โดยใช้แบบประเมินกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารและครูหัวหน้าวิชาการ 15 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าภาวะผู้นำเชิงบวกอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความสำคัญของความต้องการจําเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การคิดเชิงบวก การสร้างแรงบันดาลใจ การใช้หลักการด้านสุนทรียสาธก และการการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ตามลำดับ</li> <li>รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา ประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ (1) การใช้หลักการด้านสุนทรียสาธก (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (3) การยึดมั่นในสิ่งถูกต้องชอบธรรม (4) การคิดเชิงบวก และ 4) การดำเนินงานและการนำไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> ภูวไนย ซ่อนกลาง สุภัทร พันธ์พัฒนกุล Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 13 1 60 69 การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272270 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) ร่างรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 304 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ร่างรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม 3) ประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบใช้สถิติความถี่และค่าร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ด้านการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้</li> <li>รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ 2) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ 3) สร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 4) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้</li> <li>ผลประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในร้อยละ 96.23</li> </ol> กันต์กนิษฐ์ แสนบุญยืน ทิพมาศ เศวตวรโชติ สรัญญา แสงอัมพร Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-21 2024-06-21 13 1 70 82 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหน้าที่พลเมือง เรื่อง สังคมของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้กรณีศึกษา (Case Study) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/271948 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้กรณีศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้กรณีศึกษา เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ได้แผนทั้งหมด 12 แผน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" /> = 20.50, S.D. = 2.31) สูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" /> = 14.50, S.D. = 2.03) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้กรณีศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />= 4.85, S.D. = 1.50)</p> พรรณทิพย์ เพ็ชรวิจิตร วีรยา เกตุแก้ว พลอยไพลิน กุลเมือง Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 13 1 83 93 รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/270969 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร และเสนอแนะรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการบริหารสาธารณะของกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คนสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง และพิสูจน์สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ SEM</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ปัจจัยด้านความสามารถเชิงนวัตกรรม และปัจจัยด้านการมีนวัตกรรมการบริการส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล</p> วีรภัทร์ พันธุ์หาญ Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 13 1 94 105 ประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272196 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46-60 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 15 ปีขึ้นไป</li> <li>ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารกิจการของเทศบาล ด้านการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ด้านการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ และด้านการหมุนเวียนขยะนำกลับมาใช้ประโยชน์ มีความคิดเห็นในระดับมาก</li> <li>การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน</li> </ol> กรวิชญ์ การอุภัย นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 13 1 106 117 วิเคราะห์หลักธรรม คุณค่าและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/272732 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเรื่องเปรตที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาคติ ความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา 3) วิเคราะห์หลักธรรม คุณค่า และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลประชากรจำนวน 16 รูป/คน และวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>เปรตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเกิดจากผู้ทำอกุศลกรรม 3 ทาง คือ 1) ทางกาย 2) ทางวาจา 3) ทางใจ โดยกรรมมีอยู่ 2 ประการ ได้ กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งกรรมทั้งด้านกุศลและอกุศลย่อมทำให้มนุษย์และสัตว์ไปเกิดในภูมิของเปรตหรือภูมิของเทวดา มโนทวารเป็นตัวการต่อการทำกรรมที่จะนำไปเกิดในสถานที่สุขหรือทุกข์</li> <li>คติ ความเชื่อและขั้นตอนพิธีปุพพเปตพลี เป็นการทำบุญอุทิศแก่ผู้ตายและแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) คณะศรัทธาประชุมเตรียมความพร้อม 2) ชาวบ้านหาผลไม้ พืชผัก เครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่ชะลอม 3) เขียนชื่อ ลงใบลาน 4) นำถวายแด่พระสงฆ์ 5) คณะสงฆ์อุปโลกน์ 6) การอนุโมทนาบุญตามเส้นสลากแบบฉบับล้านนา</li> <li>หลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมปุพพเปตพลีมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การกตัญญู สังคหวัตถุธรรม บุญกิริยาวัตถุ หลักสามัคคีธรรมและทาน โดยมีคุณค่าอยู่ 3 ด้าน คือ 1) ด้านจิตใจ การระลึกถึงผู้มีพระคุณ 2) ด้านสังคม เกิดความสามัคคี 3) ด้านวัฒนธรรม การรักษาจารีตประเพณีดั้งเดิม และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีมีอยู่ 4 ประการ 1) การให้ทานที่มีวัตถุเครื่องใช้ปัจจุบันและเงิน 2) ประเพณีแต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามบริบทสังคมนั้น ๆ 3) การรวมกลุ่มผู้ทำบุญขึ้นอยู่กับหน้าที่การงาน องค์กร 4) มีการละเล่นเข้มเพิ่ม เพื่อให้กระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น</li> </ol> เจตริน ขำคง ภาณุวัฒน์ แสนคำ สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 13 1 118 127