https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/issue/feed พิฆเนศวร์สาร 2024-06-06T15:43:33+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ Kittipong_won@cmru.ac.th Open Journal Systems <h3><strong>พิฆเนศวร์สาร</strong></h3> <p><strong>เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 1</strong> (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใน<strong>สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ วรรณกรรมและทฤษฎีวรรณกรรม และการพัฒนาสังคม </strong>บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)</p> <p><br />พิฆเนศวร์สารได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบตีพิมพ์ (Print) เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2548 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) เริ่มเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2560 (ปีที่ 13 ฉบับที่ 2) พิฆเนศวร์สารมีกำหนดออกเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><br /><strong>ISSN 1686-7467 (print)</strong><br /><strong>ISSN 2651-141X (online)</strong></p> <h3><strong>ค่าธรรมเนียม</strong></h3> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารพิฆเนศวร์สาร บทความละ 3,500 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</p> <h3><strong>วิธีการส่งบทความ</strong></h3> <p>ส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) ผ่านระบบจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiJo) ที่ Website: <a href="https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions">https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions</a></p> <p>พร้อมทั้งส่งแบบนำส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ หนังสือรับรองก่อนการตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดและหลักฐานการโอนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ทางอีเมล์ phikanatesan@gmail.com</p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/18s9x-aYCD-LxjHgiYtG3j5risZ2HXfvY/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1g0ylwDG_gw9k9qqcbLlqEwOkM7y3D7K5/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">แบบนำส่งบทความ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1tTREXUDvlDzwvbKnGEcJ9-myzXreLTUJ/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">หนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/17YG8D_1txZEaZxlE5Yh-ybrxgkWyR-Fx/view?usp=share_link" target="_blank" rel="noopener">การจัดรูปแบบบทความ</a></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/270407 สารัตถะและอัตลักษณ์การใช้ภาษาในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2024-01-08T10:05:42+07:00 รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ rungrawai@hotmail.com วรวรรธน์ ศรียาภัย rungrawai@hotmail.com วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์ rungrawai@hotmail.com ปาริชาต โปธิ rungrawai@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สารัตถะในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาโดยภาพรวมที่แสดงอัตลักษณ์ในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยคัดเลือกบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยที่พลเอกเปรมได้แสดงไว้ในระหว่างปีพุทธศักราช 2537 ถึง 2541 จำนวน 5 เรื่อง จากหนังสือ แทนคุณแผ่นดินเกิด เทิดคุณค่าภาษาไทย จากนั้นวิเคราะห์จากตัวบทเป็นหลักตามแนวคิดทฤษฎีการใช้คำและถ้อยคำที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้น แล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สารัตถะในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สามารถวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ สารัตถะด้านการใช้ภาษา และสารัตถะด้านภาษาถิ่น ด้านสารัตถะการใช้ภาษาพบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างเหมาะสม การออกเสียงให้ถูกต้อง การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายและหลักไวยากรณ์ เหมาะสมแก่กาลเทศะ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภาษาไทยในฐานะภาษาประจำชาติ เป็นสมบัติอันล้ำค่า อันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย ด้านสารัตถะภาษาถิ่น พบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของภาษา วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร การปลูกจิตสำนึกให้ธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย และภาษาถิ่นภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย </p> <p>ด้านการใช้ภาษาโดยภาพรวมที่แสดงอัตลักษณ์การใช้ภาษาในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สามารถแยกออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านการเลือกใช้ระดับภาษาพบว่า มีการใช้ภาษาในระดับกึ่งทางการขึ้นไปจนถึงภาษาระดับพิธีการ ด้านการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษพบการยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ด้านการใช้รูประโยคหรือไวยากรณ์ปรากฏลักษณะเด่นด้านการใช้บุรุษสรรพนามแทนตัวผู้พูดว่า “ผม” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 แทนผู้พูดทุกครั้ง และใช้บุรุษสรรพนามว่า “ท่านผู้มีเกียรติ ท่านผู้ฟัง ท่านทั้งหลาย” เป็นสรรพนามแทนผู้ฟังเสมอ ด้านการใช้ย่อหน้าพบอัตลักษณ์ที่เป็นลักษณะเด่นของพลเอกเปรม ด้านการใช้หน่วยภาษาที่ใช้ขึ้นต้นย่อหน้าใน 5 ลักษณะ ได้แก่ การบอกเล่า การสรุปประเด็น การเสนอข้อมูลเพิ่มเติม การต่อความ และการใช้เนื้อหาสาระที่มุ่งกล่าว นอกจากนั้นยังพบลักษณะเด่นในการนำเสนอบทปาฐกถาแก่ผู้ฟังอย่างเป็นระบบ เป็นข้อ ๆ ทีละประเด็น ประกอบการให้เหตุผล อย่างชัดเจน</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271076 การขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2024-03-08T11:26:41+07:00 พัชราพรรณ ชอบธรรม patcharapan_cho@g.cmru.ac.th <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน </span><span style="color: windowtext;">13 <span lang="TH">คน ได้แก่ บุคลากรภายในเทศบาลตำบลขี้เหล็กและตัวแทนผู้นำชุมชนในตำบลขี้เหล็กหมู่ที่ </span>1 – 8<span lang="TH"> วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและรายงานผลการวิจัยเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลได้ขับเคลื่อนการจัดการขยะตามกฎหมาย ทิศทางการพัฒนา ปัญหาขยะชุมชนที่เพิ่มขึ้น การประชาคมหมู่บ้าน ผู้บริหารจึงกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมอบหมายให้กองสาธารณสุข กองการเกษตร จัดทำโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะที่ต้นทาง การสร้างมูลค่าจากขยะตามหลักการ </span>3Rs <span lang="TH">คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ โครงการรณรงค์และคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด กิจกรรมส่งเสริมการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ โครงการส่งเสริมการสร้างมูลค่าจากขยะรีไซเคิล และได้ดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา บริษัทต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น และปัจจัยความล้มเหลว ได้แก่ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน การขาดความต่อเนื่องและการต่อยอด และการขาดจิตสำนึกของชุมชน</span></span></p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271851 การพัฒนาทักษะการเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2024-02-06T12:54:22+07:00 ศรัณยา ลำบาล joyjoysaranya@gmail.com ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล joyjoysaranya@gmail.com สมหวัง อินทร์ไชย joyjoysaranya@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนจอมจันทร์วิทยาคาร จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ 2) ชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.74/81.19 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.36 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.36 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนพบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน</p> 2024-06-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271284 หนังสือแนวชีวประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์กับการสร้างชีวิตหลังมรณกรรม 2024-02-06T13:37:22+07:00 ชญาตี เงารังษี chayatee.p@gmail.com อารียา หุตินทะ chayatee.p@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดความทรงจำวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะที่ได้รับการสร้างขึ้นผ่านหนังสือแนวชีวประวัติ จำนวน 9 เรื่อง ผลการศึกษาพบการผลิตสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ผ่านหนังสือแนวชีวประวัติด้วยการผลิตซ้ำเรื่องราวทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นผู้มีความสง่างามและภาคภูมิ และ 2) การเป็นผู้มีความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ในการสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ในฐานะทหาร ส่วนเรื่องราวอีก 3 ด้าน ได้แก่ 3) การเป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเทและเสียสละ 4) การเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดี และ 5) การเป็นผู้ทรงอิทธิพลและมีคนหนุนหลังทางการเมือง ทำหน้าที่ในการสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ในฐานะนักการเมือง ทำให้เรื่องราวของพลเอก เปรม ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะเป็นที่จดจำของสังคม และดำรงอยู่ในการรับรู้ได้อย่างยาวนานจนถึงช่วงชีวิตหลังมรณกรรม ผลการศึกษาด้านการสร้างชีวิตหลังมรณกรรมในสื่อรูปแบบต่าง ๆ พบว่า หนังสือแนวชีวประวัติโดยเฉพาะเรื่องที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาภายหลังการอสัญกรรม รวมถึงพิธีรำลึกและคำไว้อาลัยเป็นสื่อที่สามารถสร้างชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ให้เกิดขึ้นได้ ส่งผลให้เรื่องราวของพลเอก เปรม ถูกชุบชีวิตขึ้นอีกครั้งและสามารถดำรงอยู่ในการจดจำของสังคมได้ต่อไป</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272150 พัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย 2024-03-25T16:54:41+07:00 ขนิษฐา ใจมโน kanita.chaimano@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากชื่อวิทยานิพนธ์และบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ทุกเรื่องที่ปรากฏบนฐานข้อมูล Thailis (Thai Library Integrated System) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 ถึงปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นปีปัจจุบันที่ทำวิจัย โดยเลือกการค้นหาแบบเบื้องต้น (Basic Search) และกำหนดการสืบค้นคำศัพท์จำนวน 3 คำ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาถิ่น และภาษาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยครอบคลุมวัตถุประสงค์ การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลนี้เพราะเป็นฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ที่รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 1,525 เรื่อง จำแนกวิทยานิพนธ์เป็นประเภทต่าง ๆ และนับจำนวนหาค่าความถี่ร้อยละอย่างง่ายเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยเป็น 7 กลุ่ม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) งานวิทยานิพนธ์ด้านไวยากรณ์ไทย 2) งานวิทยานิพนธ์ด้านการใช้ภาษาไทย 3) งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยถิ่น 4) งานวิทยานิพนธ์ที่เปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศ 5) งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 6) งานวิทยานิพนธ์ด้านอักษร อักขรวิธี และตัวอักษร และ 7) งานวิทยานิพนธ์ด้านอวัจนภาษา สำหรับการสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย งานวิจัยนี้ทำให้เห็นแง่มุมต่าง ๆ เพื่อหาประเด็นของเรื่องที่จะทำวิจัย ขอบเขตการวิจัย กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนผลการวิจัย นอกจากนั้นผลการวิจัยชี้ให้เห็นแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ว่า งานวิทยานิพนธ์ด้านไวยกรณ์ไทยและงานวิทยานิพนธ์ด้านการใช้ภาษาไทยเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้ศึกษาด้านภาษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน</p> <p>หากเปรียบต่างงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยระดับมหาบัณฑิตและระดับดุษฎีบัณฑิตจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า งานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตมุ่งเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาษา การวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดต่าง ๆ ในขณะที่งานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ไม่เพียงแต่ศึกษาปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาษาเท่านั้น หากแต่มุ่งหาคำตอบที่จะพิสูจน์ข้อสมมุติฐานการวิจัยที่ลุ่มลึก ได้แก่ การหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา หรือแม้กระทั่งการนำทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดทางภาษามาประยุกต์ใช้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ อันจะเป็นการขยายองค์ความรู้ใหม่ให้กับงานวิจัยทางด้านภาษาไทยที่ศึกษาต่อไป</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272266 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม และ เรื่อง เด็กชายต้นไม้: วิเคราะห์ตามแนวคิดวิจารณ์เชิงนิเวศ 2024-03-19T14:13:51+07:00 รุ่ยจือยี่ จาง yiz41441@gmail.com ธนพร หมูคำ yiz41441@gmail.com ภูริวรรณ วรานุสาสน์ yiz41441@gmail.com <p>บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” กลุ่มตัวอย่าง คือ วรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” โดยใช้แนวคิดวิจารณ์เชิงนิเวศ (Ecocriticism) ของ Cheryll Glotfelty เป็นแนวทางการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในวรรณกรรม เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” มีการประกอบสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติพึ่งพากันและกัน โดยประกอบสร้างตัวละครเอกให้มีจริยธรรมที่ดีต่อสัตว์และสำนึกรักสิ่งแวดล้อม 2) ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์และธรรมชาติ ยังปรากฏว่ามนุษย์เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมและสัตว์ด้วยน้ำมือของมนุษย์ โดยมีการสร้างตัวละครที่มีพฤติกรรมทำลายธรรมชาติ และ 3) นำเสนอความโหดร้ายของธรรมชาติ ที่ลงโทษมนุษย์จากการกระทำของมนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติ เป็นการอธิบายถึงการลงโทษมนุษย์ที่ธรรมชาติเอาคืนมนุษย์ เช่น วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัยที่มาแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งนี้วรรณกรรมเยาวชนเป็นเครื่องมือในการสร้างและปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกเชิงนิเวศ ผ่านตัวละครเอก ฉาก เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่ต้องให้ตัวละครเอกหาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273009 การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2024-04-07T12:01:04+07:00 ณัฐกร ชัยยะ nutthakorn.2107@gmail.com น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ nutthakorn.2107@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำริน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้หน่วยสุ่มเป็นโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>S.D.)</em> ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.63, <em>S.D.</em> = 0.52) ความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักเรียนในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.76, <em>S.D.</em> = 0.43)</p> 2024-06-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271335 การอนุรักษ์ภาษาจีนของคนจีนย่านตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย พ.ศ. 2491 - 2519 2024-02-06T13:35:07+07:00 เเพรวา รัตนทยา praewa_rtnty@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการอนุรักษ์ภาษาจีนของคนจีนย่านตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย ในช่วง พ.ศ. 2491 – 2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความเป็นจีนถูกมองในแง่ลบจากรัฐบาลไทยและนานาประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คนจีนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2510 และใช้ชีวิตอยู่ในย่านตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เชื่อมโยงกับบริบททางการเมืองทั้งของประเทศไทยและประเทศจีน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่คนจีนย่านตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยต้องอนุรักษ์ภาษาจีนในช่วง พ.ศ. 2491 - 2519 เนื่องจากภาษาจีนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อค้าขายกับคนจีนด้วยกัน การสื่อสารกับคนในครอบครัว การสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีจีน หรือการเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติที่เมืองจีน สำหรับวิธีการในการอนุรักษ์ภาษาจีนในช่วงเวลาดังกล่าวมีหลากหลายวิธีด้วยกัน คือ ส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนจีน จ้างครูมาสอนภาษาจีนที่บ้าน พูดภาษาจีนกับคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ และส่งบุตรหลานไปเรียนที่เมืองจีน</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271370 การศึกษาเปรียบเทียบการละคำลักษณนามที่คู่กับคำนามในภาษาจีนและภาษาไทย 2024-03-08T11:33:43+07:00 อาทิตยา หล่าวเจริญ atittaya.lao@mfu.ac.th ธีรภาพ ปรีดีพจน์ atittaya.lao@mfu.ac.th <p>บทความนี้เป็นบทความวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสรุปกฎการละคำลักษณนามที่คู่กับคำนามในภาษาจีน และ 2) เปรียบเทียบกฎการละคำลักษณนามในภาษาจีนกับภาษาไทย โดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 อย่าง ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสารทุติยภูมิ (Secondary Data) และแบบบันทึกประโยคภาษาจีน จากการศึกษาพบว่า ในภาษาจีนคำลักษณนามที่คู่กับคำนามที่สามารถละได้มี 3 กรณี คือ 1) บริบทของการเขียนข่าว โดยเฉพาะการพาดหัวข่าว 2) การอ้างอิงถึงคนหรือสิ่งที่ถูกกล่าวมาก่อน ซึ่งเป็นคนหรือสิ่งที่ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจตรงกัน และ 3) การแจกแจงจำนวนหรือองค์ประกอบของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีจำนวนหรือองค์ประกอบตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป ส่วนคำลักษณนามที่คู่กับคำนามที่ไม่สามารถละได้มี 4 ประเภท คือ 1) คำลักษณนามที่เป็นหน่วยวัดตวง 2) คำลักษณนามที่บอกจำนวนคู่หรือกลุ่ม 3) คำลักษณนามประมาณการ และ 4) คำลักษณนามที่เป็นคำนามบอกเวลา เมื่อนำมาเทียบเคียงกับลักษณะเดียวกันในภาษาไทยพบว่า กรณีที่ละคำลักษณนามได้เหมือนกัน 2 ลักษณะ คือ 1) การละคำลักษณนามในบริบทของการเขียนข่าว 2) การละคำลักษณนามเพื่อแจกแจงจำนวนหรือองค์ประกอบ ต่างกัน 1 ลักษณะ คือ 1) การละคำลักษณนามในการชี้เฉพาะสิ่งที่ถูกกล่าวมาแล้ว สำหรับกรณีละคำลักษณนามไม่ได้ เหมือนกัน 3 ลักษณะ คือ 1) คำลักษณนามที่เป็นหน่วยวัดตวง 2) คำลักษณนามที่บอกจำนวนคู่หรือกลุ่ม และ 3) คำลักษณนามที่เป็นคำนามบอกเวลา ต่างกัน 1 ลักษณะ คือ คำลักษณนามประมาณการ</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272065 พระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการใช้ละครพัฒนามนุษย์ที่สอดคล้องกับการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 2024-03-21T10:58:42+07:00 ชลธิชา หอมฟุ้ง cholticha207@hotmail.com <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการแสดงละครพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สอดคล้องกับการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านงานละครที่สอดคล้องกับการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 วิธีการศึกษาคือการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษาพบว่า 1) บทละครพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทเค้าโครงเรื่องสำหรับการแสดง และละครปริศนาช่วยพัฒนามนุษย์ได้สอดคล้องกับการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน 2) พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สะท้อนผ่านงานละคร ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการทรงเป็นนักการศึกษา แนวคิดในการพัฒนามนุษย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนับว่าเป็นสิ่งที่เป็นสากลที่ยังเป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และยังต่อยอดนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันได้</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272889 การวิเคราะห์คติชนในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2024-04-25T09:28:29+07:00 เมธี อนันต์ mathee.ma1579@gmail.com วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล mathee.ma1579@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประเภทของคติชน 2. วิเคราะห์อนุภาคทางคติชน 3. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคม 4. วิเคราะห์การสะท้อนคติชนทางสังคม วิถีชีวิตและการเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตจริง โดยมีแหล่งข้อมูลในการวิจัย คือ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกวิเคราะห์คติชนในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์สรุปอุปนัยแล้วเขียนบรรยายเป็นความเรียง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลประเภทของคติชนที่พบประกอบด้วย กลุ่มสื่อความด้วยภาษา คิดเป็นร้อยละ 58.47 กลุ่มวัตถุภาษา คิดเป็นร้อยละ 31.70 และคติชนกลุ่มผสม คิดเป็นร้อยละ 9.83 ตามลำดับ 2. ข้อมูลอนุภาคทางคติชนที่พบประกอบด้วย หมวด F ความแปลกมหัศจรรย์ คิดเป็นร้อยละ 64.29 หมวด D ความวิเศษ คิดเป็นร้อยละ 17.86 หมวด V ศาสนา คิดเป็นร้อยละ 7.14 หมวด B สัตว์ หมวด G ยักษ์ และหมวด T เรื่องเพศ คิดเป็นร้อยละ 3.57 ตามลำดับ 3. ข้อมูลบทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคมที่พบประกอบด้วย บทบาทคติชนในการให้การศึกษา อบรมระเบียบสังคม และรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคมในมิติของบทบาทคติชนในการอบรมระเบียบสังคม ปลูกฝังค่านิยม และรักษาบรรทัดฐานทางพฤติกรรมให้สังคม คิดเป็นร้อยละ 49.53 บทบาทคติชนในการให้ความรู้และเสริมสร้างปัญญา คิดเป็นร้อยละ 22.43 และบทบาทคติชนในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับ “ท้องถิ่น” ของตน คิดเป็นร้อยละ 17.76 และความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคมเกี่ยวกับบทบาทคติชนในการอธิบายต้นกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรมในมิติของพิธีกรรมและประเพณีสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชนหรือชาติพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 6.54 ตำนานเกี่ยวกับอธิบายพิธีกรรม คิดเป็นร้อยละ 2.80 และตำนานกับการอธิบายกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและสถานภาพของคนในสังคม คิดเป็นร้อยละ 0.94 ตามลำดับ 4. สะท้อนให้เห็นเรื่องราวซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลคติชนวิทยาประเภทสำนวน สุภาษิต ตำนาน วิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม การตั้งถิ่นฐาน การประกอบชีพ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี อารยธรรม คุณค่าทางสังคมและวิถีชีวิต คุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาอารยธรรมที่บรรพชนได้สั่งสมมาเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย อีกทั้งข้อมูลคติชนวิทยาในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตจริงไปสู่การพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเข้าใจและเป็นสุข</p> 2024-06-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273428 การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ SQP2RS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2024-04-29T18:11:27+07:00 อิงฟ้า ทองทรง inkleeenu@gmail.com กาญจนา วิชญาปกรณ์ inkleeenu@gmail.com <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ </span><span style="color: windowtext;">1) <span lang="TH">เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ </span>2 <span lang="TH">ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ </span>SQP2RS <span lang="TH">ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด </span>2) <span lang="TH">เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ </span>2 <span lang="TH">โดยใช้การจัดการเรียนรู้ </span>SQP2RS <span lang="TH">ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดกับเกณฑ์ร้อยละ </span>70 <span lang="TH">และ </span>3) <span lang="TH">ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ </span>2 <span lang="TH">ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ </span>SQP2RS <span lang="TH">ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ </span>2 <span lang="TH">โรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต </span>1 <span lang="TH">ภาคเรียนที่ </span>2 <span lang="TH">ปีการศึกษา </span>2566 <span lang="TH">จำนวน </span>15 <span lang="TH">คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ </span>SQP2RS <span lang="TH">ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และแบบประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></span></p> <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนการทดสอบของนักเรียนหลังสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ </span><span style="color: windowtext;">70 <span lang="TH">และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ </span>SQP<span lang="TH">2</span>RS <span lang="TH">ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด </span></span></p> 2024-06-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่