พิฆเนศวร์สาร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan
<h3><strong>พิฆเนศวร์สาร</strong></h3> <p><strong>เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 1</strong> (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใน<strong>สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ วรรณกรรมและทฤษฎีวรรณกรรม และการพัฒนาสังคม </strong>บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)</p> <p><br />พิฆเนศวร์สารได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบตีพิมพ์ (Print) เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2548 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) เริ่มเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2560 (ปีที่ 13 ฉบับที่ 2) พิฆเนศวร์สารมีกำหนดออกเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><br /><strong>ISSN 1686-7467 (print)</strong><br /><strong>ISSN 2651-141X (online)</strong></p> <h3><strong>ค่าธรรมเนียม</strong></h3> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารพิฆเนศวร์สาร บทความละ 3,500 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</p> <h3><strong>วิธีการส่งบทความ</strong></h3> <p>ส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) ผ่านระบบจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiJo) ที่ Website: <a href="https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions">https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions</a></p> <p>พร้อมทั้งส่งแบบนำส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ หนังสือรับรองก่อนการตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดและหลักฐานการโอนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ทางอีเมล์ phikanatesan@gmail.com</p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/18s9x-aYCD-LxjHgiYtG3j5risZ2HXfvY/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1g0ylwDG_gw9k9qqcbLlqEwOkM7y3D7K5/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">แบบนำส่งบทความ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1tTREXUDvlDzwvbKnGEcJ9-myzXreLTUJ/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">หนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/17YG8D_1txZEaZxlE5Yh-ybrxgkWyR-Fx/view?usp=share_link" target="_blank" rel="noopener">การจัดรูปแบบบทความ</a></p>
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
th-TH
พิฆเนศวร์สาร
1686-7467
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิก
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273361
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิกระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิก ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในกลุ่มโรงเรียนศูนย์ประสานงานตะพานหิน 02 รวมทั้งสิ้น 111 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสัตตวนาราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test Dependent และ t-test One-Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังกราฟิกอยู่ในระดับมากที่สุด </p>
พรนภา บุญสุริวงษ์
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
1
17
-
การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273398
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 29 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 78.5 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
สิริยากร กระออมแก้ว
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
19
34
-
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงพยาบาลของผู้เรียนชาวกัมพูชาที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273386
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของผู้เรียนชาวกัมพูชาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh) ที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ โดยศึกษาจากเอกสารภาษาไทยและภาษาเขมร และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงมี 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ได้แก่ นักศึกษาชาวกัมพูชาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 บัณฑิตวิชาเอกภาษาไทยที่กำลังทำงานในโรงพยาบาล ผู้ใช้บัณฑิตที่ทำงานในโรงพยาบาล และอาจารย์ผู้สอนภาษาไทยชาวกัมพูชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงพยาบาลของผู้เรียนชาวกัมพูชาที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศมี 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาของประเทศกัมพูชา 2) การเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) 3) โครงการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของกัมพูชา 4) ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical Hub) 5) การสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) 6) การจัดการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย สถาบันภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ และ 7) การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นปัจจัยด้านนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของผู้เรียนชาวกัมพูชาส่งผลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการใช้ภาษาไทยธุรกิจเพื่อการบริการสุขภาพในโรงพยาบาล ปัจจัยดังกล่าวเชื่อมโยงสู่ความต้องการผู้เรียนชาวกัมพูชาที่สามารถใช้ภาษาไทยและเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับระบบบริการโรงพยาบาลที่สอดคล้องกับนโยบายและการทูตระหว่างสองประเทศ</p>
Narong Sarath
สุภัค มหาวรากร
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
35
49
-
การใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/274687
<p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">การวิจัยเรื่องการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span><span style="color: windowtext;">1<span lang="TH">) ออกแบบหนังสือเรียนแบบดิจิทัลที่ใช้ควบคู่กับวิธีการสอนแบบอุปนัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 </span>2<span lang="TH">) สร้างและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล และ 4) ศึกษาระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านป่าเหมือด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล หนังสือเรียนแบบดิจิทัล แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง และแบบทดสอบสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยนำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></span></p> <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">ผลการวิจัยพบว่า </span><span style="color: windowtext;">1<span lang="TH">) หนังสือเรียนแบบดิจิทัลที่ใช้ควบคู่กับวิธีการสอนแบบอุปนัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองที่สร้างขึ้น โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.05) </span>2<span lang="TH">) ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04) 3) ระดับสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล จากระดับกำลังพัฒนาเป็นระดับสามารถ 4) ระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล จากระดับกำลังพัฒนาเป็นระดับสามารถ</span></span></p>
กรรณิการ์ จำปี
นทัต อัศภาภรณ์
ศักดา สวาทะนันท์
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
51
67
-
แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269233
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายหลังสถานการณ์โควิด-19 2) ประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ในการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ 3) เสนอแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ที่เน้นสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้ง 7 อำเภอ และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ที่สามารถเข้ารับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 814 ผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสถานประกอบการในการเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) จำนวน 12 ชุด ผลการศึกษาพบว่า 1) ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังคงฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่กลับมาสู่ระดับปกติ สถานประกอบการได้ปรับตัวด้วยมาตรการสุขอนามัยและการตลาดออนไลน์ ภาครัฐให้การสนับสนุนผ่านโครงการส่งเสริมและเงินช่วยเหลือ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงส่งผลให้ธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน 2) ผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสถานประกอบการเป็นไปตามข้อกำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) คิดเป็นร้อยละ 76.90 - ร้อยละ 85.50 และผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) แยกตาม 10 ประเภทกิจการ ส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อกำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ยกเว้นประเภทบริษัทนําเที่ยว ประเภทกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว และประเภทกิจการ/จัดกิจกรรม/อีเวนท์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานจึงควรได้รับการปรับปรุง และ 3) แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐาน (SHA) โดยจะนำเสนอเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการที่พร้อมสมัครเข้าร่วมโครงการ SHA ควรได้รับการส่งเสริมและผลักดันให้ได้รับมาตรฐาน SHA อย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และช่วยพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ประกอบการที่เตรียมตัวเข้าร่วมตรวจประเมิน SHA ควรได้รับการอบรมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน SHA เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในระยะยาว</p>
พริ้มไพร วงค์ชมภู
กฤต พันธุ์ปัญญา
พุทธชาติ ยมกิจ
จิรันตนะ คำต๊ะ
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
69
84
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/271640
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 2) สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็ก จำนวน 10 ราย ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และคัดเลือกให้เหลือ จำนวน 3 ราย นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 35 – 45 ปี มีรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจที่หลากหลาย มีการจัดตั้งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบธุรกิจครอบครัว ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงการรวมกันของเด็กในชุมชนภายใต้การดูแลของครูในโรงเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือด้านผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงตราผลิตภัณฑ์ที่ต้องสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ สร้างความน่าจดจำในตราสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รองลงมาคือการส่งเสริมการตลาดเน้นการประชาสัมพันธ์ปากต่อปาก เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือในการบอกต่อของผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือช่องทางจัดจำหน่าย เน้นการฝากจำหน่ายในร้านขายของฝากของที่ระลึกในอำเภอที่ผู้ประกอบการอาศัยอยู่และการกำหนดราคาใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาตามราคาต้นทุน ตามลำดับ</p>
สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-02
2024-10-02
20 2
85
97
-
การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพทำปานซอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272080
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน 2) จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย และ 3) พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา ใน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ระยะที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย ประเมินความความเป็นไปได้ของแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และระยะที่ 3 พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกภูมิปัญญาการทำปานซอยและผู้ประกอบอาชีพปานซอย จำนวน 30 คน เพื่อประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ได้แก่ 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยโดยประยุกต์เข้ากับวัสดุท้องถิ่น 2) การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างปานซอยกับภูมิปัญญาด้านอื่น และ 3) การประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยให้มีความร่วมสมัยสามารถจำหน่ายเป็นของใช้หรือของที่ระลึกได้ โดยความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. แผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการดำเนินงาน 4) แนวทางการพัฒนาอาชีพปานซอย 5) กระบวนการถ่ายทอดอาชีพ และ 6) การประเมินผล โดยทุกองค์ประกอบมีคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3. กระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย “PANSOI Process” แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่1) การเตรียมความพร้อม 2)การสร้างทัศนคติ 3) การสร้างความคิดใหม่ 4) การสร้างทักษะการทำงาน 5) สร้างทักษะการสังเกต และ 6) การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม ด้านการประเมินกระบวนการมีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</p>
ประสิทธิ์ ฉิมบุญมา
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-03
2024-10-03
20 2
99
116
-
การศึกษากลวิธีการแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยในการ์ตูนจีนแนวแฟนตาซี เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูตถังซาน (斗罗大陆)
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/273609
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ในการ์ตูนแนวแฟนตาซี เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูติถังซาน (斗罗大陆) จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยรวบรวมชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ของตัวละครจากการ์ตูน เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูติถังซาน ที่มีการแปลคำบรรยายจีนเป็นไทยผ่านแอปพลิเคชัน We TV ภาค 1-4 ตอนที่ 1-264 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลรายชื่อเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และจำแนกประเภทกลวิธีการแปล นำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มีการแปลชื่อทักษะและชื่อพลังการต่อสู้จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยจำนวนทั้งสิ้น 509 ชื่อ โดยผู้แปลใช้กลวิธีการแปล 3 แบบ ได้แก่ 1. การแปลความหมาย จำนวน 420 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 82.51 2. การแปลผสมระหว่างการแปลความหมายกับการทับศัพท์ จำนวน 26 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 5.10 และ 3. การตั้งชื่อใหม่โดยอิงชื่อตามภาษาต้นฉบับ จำนวน 63 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 12.37 ผู้แปลมีแนวโน้มในการแปลชื่อเฉพาะโดยใช้กลวิธีการแปลความหมายมากที่สุดเพื่อต้องการสื่อความหมายให้ผู้รับชมเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช้วิธีการทับศัพท์โดยไม่จำเป็น ทั้งนี้มีปัจจัย 3 ประการ คือ 1. อิทธิพลจากสื่อบันเทิงแนวกำลังภายในในอดีตส่งผลมาถึงปัจจุบัน 2. กลวิธีการแปลมีความสัมพันธ์กับลักษณะการตั้งชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ 3. มีแนวโน้มในการเลือกภาษาจีนกลางที่ใช้ทับศัพท์เมื่อแปลชื่อเฉพาะ นอกจากนี้ยังพบข้อผิดพลาดในการแปล 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. การแปลความหมายผิด 2. การเลือกใช้คำแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ไม่เป็นเอกภาพ 3. การสะกดคำผิดโดยใช้รูปวรรณยุกต์ผิด ซึ่งมาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ 1. ผู้แปลมิได้มีคนเดียว มีการแบ่งตอนกันแปลโดยไม่ได้เจรจาตกลงกันเรื่องการเลือกใช้คำศัพท์ให้เป็นเอกภาพ และ 2. เนื้อหาคำบรรยายฉบับแปลไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง</p>
จิราพร ปาสาจะ
กนกพร นุ่มทอง
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-24
2024-10-24
20 2
117
136
-
การศึกษาประเด็นทางวัฒนธรรมและระเบียบแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาหนังสือเรียนรายวิชาภาษาจีนเพื่อธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษาของไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/274073
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดเนื้อหาในประเด็นความรู้ทางวัฒนธรรมและระเบียบแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในหนังสือเรียนภาษาจีนและภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการบิน จำนวน 16 เล่ม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเสนอแนวคิดการจัดการเนื้อหาในหนังสือเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือเรียนภาษาจีนและภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการบินมีจำนวนเพียง 2 เล่ม ที่เรียบเรียงเนื้อหาทางวัฒนธรรมและระเบียบแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในบทเรียนโดยตรง 2) ไม่พบหนังสือที่มีเนื้อหาทางวัฒนธรรมและระเบียบแนวปฏิบัติที่ตรงตามมาตรฐานอาชีพแห่งชาติครบทุกประเด็น 3) ความรู้ทางวัฒนธรรมบางประเด็นจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ดังนั้นการถ่ายทอดผ่านทางเนื้อหาเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยสื่อสารสนเทศอื่น ๆ ประกอบการจัดการเรียนการสอน 4) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงและใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน โดยไม่ยึดแบบเรียนเป็นสำคัญ สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องมีในหนังสือเรียนคือหัวข้อที่ครบถ้วนตามมาตรฐานอาชีพแห่งชาติ</p>
ตงตง ฉิน
จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์
ณัฐกานต์ ทวีวัฒนเศรษฐ์
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-24
2024-10-24
20 2
137
152
-
การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272978
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2. พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ/กึ่งทดลอง รูปแบบ One-Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t แบบทดสอบ t-test Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 25.66, S.D. = 3.05) สูงกว่าก่อนเรียน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 15.10, S.D. = 1.5) t 17.07 นักศึกษามีสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.36, S.D. = 0.53) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.15, S.D.= 0.58)</p>
วทัญญู ขลิบเงิน
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-28
2024-10-28
20 2
153
168
-
ปัญหาในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรสายปฏิบัติการวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/272735
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการเขียนหนังสือราชการ และ 2) ศึกษาแนวการเขียนหนังสือราชการที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของบุคลากรสายปฏิบัติการ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลเฉพาะหนังสือภายในและหนังสือภายนอก ของบุคลากร 44 คน หัวหน้างาน 5 งาน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเขียนหนังสือราชการ และจัดอบรม “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ” โดยทดสอบความรู้หลังรับการอบรม</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการเขียนหนังสือ 4 ด้าน คือ 1) ด้านแบบฟอร์ม ก่อนอบรมร้อยละ 100 หลังอบรมร้อยละ 61.36 ได้แก่ ตั้งขอบกระดาษ การใช้ตราครุฑ การย่อหน้าบรรทัด ระยะการพิมพ์ 2) ด้านเนื้อหา ก่อนอบรมร้อยละ 31.81 หลังอบรมร้อยละ 52.27 ได้แก่ เนื้อหาไม่ครบองค์ประกอบ 5W 1H เนื้อหาไม่ตรงประเด็น ขาดการอ้างอิงข้อมูล ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุปความ เนื้อหาไม่ชัดเจน คำลงท้ายไม่เหมาะสม 3) ด้านภาษา ก่อนอบรมร้อยละ 38.63 หลังอบรมร้อยละ 20.45 ได้แก่ การใช้คำซ้ำซ้อน ชื่อเรื่องไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาและสรุปความ คำฟุ่มเฟือย ใช้ภาษาพูด สรรพนามบุคคลและคำนำหน้าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาภาคเหตุและภาคความประสงค์ 4) ด้านการพิมพ์ ก่อนอบรมร้อยละ 97.72 หลังอบรบร้อยละ 86.36 ได้แก่ ส่วนหัวของบันทึกข้อความขนาดตัวหนังสือน้อยกว่า 20 พอยต์ ยศของผู้ลงชื่อไม่ตรงกึ่งกลางกระดาษ เว้นวรรคระหว่างประโยคห่างเกิน ไม่ตัดคำระหว่างบรรทัด พิมพ์ผิด ข้อความตกหล่น คำซ้ำ ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดเกิน 1 เท่า หรือการบีบระยะห่างระหว่างบรรทัด ไม่ระบุเลขหน้าเอกสารหน้าถัดไป ตัวอักษรเล็กกว่า 16 พอยต์ และพบว่า 2. แนวทางในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรต้องเป็นไปตามหลัก 5W 1H ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ซึ่งบุคลากรควรทำความเข้าใจและศึกษาระเบียบฯ ให้ถูกต้องแม่นยำ รับฟังคำสั่งให้ครบถ้วน และทำความเข้าใจคำสั่ง หรือศึกษาวัตถุประสงค์ของหนังสือที่เขียน และวิเคราะห์ด้วยดุลยพินิจ เลือกใช้รูปแบบ และโครงสร้างของหนังสือให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของหนังสือที่จะร่าง ใช้คำและภาษาราชการที่ถูกต้อง เหมาะสม สื่อสาร สื่อความได้อย่างถูกต้องหมั่นสังเกตตัวอย่างโครงสร้างเพื่อเป็นแนวทางการเขียน เลือกใช้ภาษา และวิเคราะห์การเขียนจากตัวอย่างหนังสือของบุคลากรที่มีประสบการณ์ และฝึกฝนเรียนรู้พัฒนาตนเพื่อให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญและเขียนหนังสือราชการอย่างมีประสิทธิภาพ การเขียนหนังสือราชการที่มีประสิทธิภาพยังบอกถึงศักยภาพของผู้เขียน การเขียนหนังสือราชการอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและแนวการปฏิบัติของหน่วยงาน และสิ่งที่ผู้เขียนหนังสือควรตระหนักคือ ความเป็นจริงของหนังสือราชการต้องเป็นหนังสือที่มีประโยชน์ พึงประสงค์ และเป็นหนังสือราชการที่มีความเหมาะสมตามเวลา โอกาส สถานที่ และบุคคล</p>
ปิยาภรณ์ ณ เชียงใหม่
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-04
2024-11-04
20 2
169
182