พิฆเนศวร์สาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan <h3><strong>พิฆเนศวร์สาร</strong></h3> <p><strong>เป็นวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 1</strong> (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใน<strong>สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ วรรณกรรมและทฤษฎีวรรณกรรม และการพัฒนาสังคม </strong>บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)</p> <p><br />พิฆเนศวร์สารได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบตีพิมพ์ (Print) เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2548 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) เริ่มเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2560 (ปีที่ 13 ฉบับที่ 2) พิฆเนศวร์สารมีกำหนดออกเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><br /><strong>ISSN 1686-7467 (print)</strong><br /><strong>ISSN 2651-141X (online)</strong></p> <h3><strong>ค่าธรรมเนียม</strong></h3> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารพิฆเนศวร์สาร บทความละ 3,500 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมหลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</p> <h3><strong>วิธีการส่งบทความ</strong></h3> <p>ส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) ผ่านระบบจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiJo) ที่ Website: <a href="https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions">https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/about/submissions</a></p> <p>พร้อมทั้งส่งแบบนำส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ หนังสือรับรองก่อนการตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดและหลักฐานการโอนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ทางอีเมล์ [email protected]</p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/18s9x-aYCD-LxjHgiYtG3j5risZ2HXfvY/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1g0ylwDG_gw9k9qqcbLlqEwOkM7y3D7K5/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">แบบนำส่งบทความ</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1tTREXUDvlDzwvbKnGEcJ9-myzXreLTUJ/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">หนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์</a></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/17YG8D_1txZEaZxlE5Yh-ybrxgkWyR-Fx/view?usp=share_link" target="_blank" rel="noopener">การจัดรูปแบบบทความ</a></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์) [email protected] (นางสาวกมลรัตน์ เชื้อเสือน้อย) Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลการใช้บอร์ดเกมออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269886 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบอร์ดเกมออนไลน์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิผลของบอร์ดเกมออนไลน์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนกับหลังจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกมออนไลน์ และ 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้บอร์ดเกมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบอร์ดเกมออนไลน์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้บอร์ดเกมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บอร์ดเกมออนไลน์ เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 5 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ตัวสะกดตรงมาตรา ชุดที่ 2 ลองปัญญาแม่ กก กัน ชุดที่ 3 แม่กบ จำให้มั่น ชุดที่ 4 แม่กนนั้น แสนง่ายดาย และชุดที่ 5 พวกเรามา ทำแม่กด ซึ่งมีค่า E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>เท่ากับ 85.65/87.61 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 85/85 2) ประสิทธิผลของบอร์ดเกมออนไลน์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกมออนไลน์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้บอร์ดเกมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> วรัญญา พรรณเหล็ก, สนิท สัตโยภาส, กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269886 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269374 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 <br />3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินประสิทธิผลชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่ากล้วยพัฒนา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกด และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การหาค่า E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีปัญหาในการเรียนเรื่อง การอ่านและเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดและต้องการให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 4 ชุด ได้แก่ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กก คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กด คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กน และคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กบ 3) ผลคะแนนการทำแบบทดสอบวัดทักษะอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.76 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.53 และ 4) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่า E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เท่ากับ 89.56/87.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 85/85 นักเรียนมีคะแนนการทำแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดในระดับมากที่สุด</p> ธงชัย จันทร์หอม, สนิท สัตโยภาส, กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269374 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 “ตะโกน” ในภาษาไทยปัจจุบัน: การศึกษาหน้าที่และความหมาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/267983 <p>ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด จึงเอื้อให้คำหลายคำมีหน้าที่หรือความหมายเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการการใช้ภาษาในแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในสังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้น ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้คำที่จะสื่อสารได้อย่างอิสระ ส่งผลให้คำในภาษาไทยหลายคำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่างหน้าที่และความหมายเดิมกับหน้าที่และความหมายใหม่ คำว่า “ตะโกน” ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยเป็นคำยอดนิยมคำหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้ภาษาที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านหน้าที่และความหมายของคำอยู่ในบริเวณทับซ้อน</p> <p>บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่และความหมายของคำว่า “ตะโกน” ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือค้นหาของ https://www.google.co.th ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ได้ข้อมูลที่ปรากฏคำว่า “ตะโกน” ในข้อความภาษาไทยปัจจุบันบนสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 153 ข้อความ จำแนกข้อมูลตามรูปภาษาที่ปรากฏได้ 2 รูปแบบ คือ ข้อความที่ปรากฏคำว่า “ตะโกน” จำนวน 66 ข้อความ และข้อความที่ปรากฏคำว่า “แบบตะโกน” จำนวน 87 ข้อความ ผลการศึกษาพบหน้าที่ของคำว่า “ตะโกน” จำแนกเป็น 2 หมวดคำ ได้แก่ 1 ) หมวดคำกริยา ทำหน้าที่แสดงการกระทำหรืออาการของผู้กระทำกริยา จำนวน 59 ข้อความ และ 2) หมวดคำกริยาวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายกริยาหลักในประโยค จำนวน 94 ข้อความ ผลการศึกษาด้านความหมายของคำว่า “ตะโกน” พบว่ามี 2 ความหมาย ได้แก่ 1) ความหมายเดิม ซึ่งเป็นความหมายประจำคำ หมายถึง ‘ออกเสียงดังกว่าปรกติเพื่อให้ได้ยิน’ และ 2) ความหมายใหม่ที่ขยายกว้างขึ้นแต่ยังเชื่อมโยงกับความหมายเดิม หมายถึง ‘การขยายรายละเอียด หรือถ่ายทอดลักษณะ ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อแสดงให้เห็นภาพตามอย่างชัดเจน หรือเห็นภาพแล้วแต่ต้องการเน้นความพิเศษเพิ่มขึ้น’ </p> ยุธิดา โฉสูงเนิน, เสาวรส มนต์วิเศษ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/267983 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้ภาษาความเปรียบในตัวละครวรรณคดีไทยเรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265133 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาษาความเปรียบในตัวละครวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน และเพื่อวิเคราะห์สุนทรียรสที่ปรากฏในวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน ผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดโวหารภาพพจน์อุปมา โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ และสุนทรียรสวรรณคดีไทย 4 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิไสย และนำเสนอผลโดยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555 โดยสำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ปรากฏการใช้ภาษาความเปรียบตัวละครหลักประกอบไปด้วยตัวละครขุนช้าง พบว่ามีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 31 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 87 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้ความเปรียบในบทของตัวละครขุนช้าง ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 1 คำ พิโรธวาทัง 91 คำ และสัลลาปังคพิไสย 5 คำ ตัวละครขุนแผน พบมีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 31 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 129 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้ความเปรียบในบทของตัวละครขุนแผน ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 82 คำ พิโรธวาทัง 37 คำ และสัลลาปังคพิไสย 19 คำ ตัวละครนางวันทอง พบมีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 36 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 127 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบ 4 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 54 คำ นารีปราโมทย์ 38 คำ พิโรธวาทัง 65 คำ และสัลลาปังคพิไสย 29 คำ และตัวละครพระไวย พบมีการใช้คำแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 6 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 140 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้คำเปรียบในบทของตัวละคร และตัวละครพระไวย ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 12 คำ พิโรธวาทัง 11 คำ และสัลลาปังคพิไสย 21 คำ</p> บุษราคัม ยอดชะลูด, อรทัย ขันโท Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265133 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 กลวิธีการแปลหนังสือราชการทางการทูตจากจีน-ไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265282 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลหนังสือราชการทางการทูตจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย เปรียบเทียบกับภาษาต้นฉบับพร้อมยกตัวอย่าง จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว ประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 72 เรื่อง และข้อควรระวังการแปลหนังสือราชการทางการทูต ระเบียบวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพใช้ทฤษฎีการแปลของ Newmark, Baker และ กนกพร นุ่มทอง และ ศิริวรรณ ลิขิตเจริญเป็นเกณฑ์ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าการแปลหนังสือราชการทางการทูตไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะรูปประโยคในหนังสือมีโครงสร้างแบบตายตัว ในแต่ละประโยคยังแฝงไปด้วยคำศัพท์และความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้กับผู้อ่านได้ศึกษามุมมองของคำศัพท์ที่หลากหลาย แต่ยังคงรักษาโครงสร้างและความหมายเดิมเอาไว้ ผู้วิจัยสรุปกลวิธีการแปลเป็น 4 แนวทาง ได้แก่ การแปลแบบตรงภาษา การทับศัพท์ การละและเพิ่มคำ และการละคำ โดยกลวิธีการแปลที่พบมากที่สุด คือ กลวิธีการแปลแบบตรงภาษา คิดเป็นร้อยละ 76.39 รองลงมาคือ การแปลทับศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 11.11 การละและเพิ่มคำ คิดเป็นร้อยละ 6.94 และพบน้อยที่สุดคือการละคำ คิดเป็นร้อยละ 5.56 หลังจากการศึกษาและวิเคราะห์การแปลหนังสือราชการทางการทูตพบว่ามีคำศัพท์ทางราชการที่หลากหลายคำที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในอนาคต ดังนั้นคำศัพท์ที่ศึกษาในงานวิจัยฉบับนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการนำไปใช้แปลหนังสือราชการทางการทูตต่อไป</p> ฉัตรณพัฒน์ รักสัตย์, ขวัญใจ กิจชาลารัตน์, วุฒิชัย สืบสอน Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265282 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมสำหรับเยาวชนของปิงซิน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/266530 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมร้อยแก้วสำหรับเยาวชนของปิงซินที่อยู่ในแบบเรียนภาษาจีนระดับมัธยมต้นของประเทศจีนจำนวนสี่เรื่องได้แก่ เรื่อง “ส่งให้ผู้อ่านตัวน้อย” (寄小读者) “เรื่องรำลึกชมระบำ” (观舞记) “เรื่องชื่นชมดอกซากุระ” (樱花赞) และ “เรื่องโคมส้มดวงน้อย” (小橘灯) ผลการศึกษานำเสนอ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ด้านแนวคิด 2. ด้านกลวิธีเสนอแนวคิด ประเด็นที่ 1 พบว่าด้านแนวคิดแบ่งเป็น 1) ด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรักของมารดา ความรักของเด็กที่บริสุทธิ์ ความรักธรรมชาติ 2) ด้านสังคม นำเสนอสังคมแบบชนบท บริบททางสังคมของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3) ด้านสติปัญญา นำเสนอแนวคิดแบบมีเหตุผลและสร้างสรรค์ 4) ด้านร่างกาย พบการนำเสนอเพียงเล็กน้อย โดยเป็นแนวคิดการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย ไม่พบการนำเสนอด้านสุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพ ปลูกฝังการดื่มนมในเด็ก การปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคภัย และส่วนประเด็นที่ 2 พบกลวิธีเสนอแนวคิดแบ่งเป็น 1) ผ่านโครงเรื่องพบทั้ง 4 เรื่องมีโครงเรื่องที่แสดงถึงสังคมจีนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2) ผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้เขียนใช้มากที่สุด พบจำนวนตัวละครเพียงไม่กี่ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและสัตว์ โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ความรัก อดทนแก้ปัญหาอย่างเข้มแข็ง การมองโลกในแง่ดีผ่านบทสนทนาของตัวละคร 3) ผ่านฉากนำเสนอบรรยากาศแบบชนบท ทำให้ผู้อ่านตระหนักในคุณค่าและความงดงามของธรรมชาติ 4) ผ่านมุมมองผู้เขียน โดยนำเสนอเรื่องราวและสอดแทรกทัศนะของผู้เขียนได้แก่ แนวคิดด้านความรัก สำนึกรักบ้านเกิด และมิตรภาพระหว่างสองประเทศ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่าลักษณะร่วมของวรรณกรรมทั้งสี่เน้นถึงปรัชญาของความรัก แฝงการบ่มเพาะความรักชาติ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวจีนและประเทศเพื่อนบ้าน</p> มัสยามาศ ชัยชนะกิจพงษ์, กนกพร นุ่มทอง Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/266530 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาพลักษณ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ปรากฏในภาพยนตร์และละครตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269008 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ปรากฏในภาพยนตร์และละคร ตั้งแต่อดีต (ค.ศ. 1929) จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) โดยใช้วิธีรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ และอภิปรายผลการวิจัยด้วยการเขียนเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) พร้อมเสนอข้อคิดเห็น</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีภาพยนตร์และละครที่ปรากฏตัวละครจักรพรรดิเฉียนหลง รวมทั้งหมด 93 เรื่อง บทบาทและภาพลักษณ์ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ ตัวละครหลักที่มีภาพลักษณ์บวก จำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 29.03 ของภาพยนตร์และละครทั้งหมด โดยมีลักษณะนิสัย เช่น จักรพรรดิผู้มีคุณธรรม มีสติปัญญา รักความสนุกสนาน มีเมตตา มีความมานะอุตสาหะ เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพลักษณ์เดียวกับภาพลักษณ์แรกของจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง เฉียนหลงโหยวเจียงหนาน《乾隆游江南》 ตั้งแต่ ค.ศ. 1929</p> <p>จักรพรรดิเฉียนหลงปรากฏภาพลักษณ์ในภาพยนตร์และละครทั้งหมด 12 ภาพลักษณ์ ได้แก่ 1. จักรพรรดิผู้มีคุณธรรมและรักความสนุกสนาน 2. จักรพรรดิที่มีความเจ้าเล่ห์และต้องการครอบครองภรรยาของผู้อื่น 3. จักรพรรดิผู้มีความกลับกลอก ไม่รักษาคำพูด 4. จักรพรรดิผู้ไร้ความสามารถ อ่อนแอ หูเบา 5. จักรพรรดิที่เปลี่ยนแปลงจากผู้วิริยะอุตสาหะไปเป็นผู้ที่มุ่งเน้นเสพสุข 6. จักรพรรดิที่มีสติปัญญา รู้จักเลือกใช้คน 7. พ่อที่ใจดีมีเมตตา 8. เด็กหนุ่มที่ฉลาด มีสติปัญญา 9. พ่อที่เลอะเลือน หูเบา หวงอำนาจ 10. เด็กหนุ่มที่ฉลาดแต่ขี้ระแวง 11. สามีที่ขี้ระแวง ไม่เชื่อใจคนรัก 12. สามีที่ฉลาด ตลก ขี้เล่น และการปรากฏตัวที่ไม่ปรากฏภาพลักษณ์เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1993</p> กมลชนก โตสงวน, กนกพร นุ่มทอง, จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/269008 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมในภาษาเกาหลี ของนักศึกษาชาวไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265256 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมของนักศึกษาชาวไทยที่มีความรู้ทางภาษากลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูง กับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี 2) เปรียบเทียบการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ที่ปรากฏร่วมกับคำวิเศษณ์ของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูง กับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี โดยใช้แบบทดสอบจากนักศึกษาชาวไทย 139 คน และเจ้าของภาษาชาวเกาหลี 56 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชาวไทยกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลีมีความสามารถในการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกประเภท 2) เจ้าของภาษามีการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ได้ถูกต้องในอัตราที่สูงกว่านักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างในทุกประเภท นักศึกษาชาวไทยกลุ่มระดับสูงมีการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ที่ปรากฏร่วมได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลีมากกว่ากลุ่มระดับกลาง ส่วนปัญหาการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ปัญหาที่เกิดจากนักศึกษาชาวไทยสามารถเลือกใช้ไวยากรณ์ร่วมกับคำวิเศษณ์ได้ถูกต้องแต่นำไปใช้ในบทสนทนาได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ส่งผลให้คำตอบของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างยังคงแตกต่างกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี 2) ปัญหาการเลือกใช้ไวยากรณ์ที่ไม่สัมพันธ์กับคำวิเศษณ์ สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ไวยากรณ์ไม่เหมาะสมกับคำวิเศษณ์เกิดจากการที่ภาษาเกาหลีมีไวยากรณ์พ้องความหมายจำนวนมากทำให้เกิดการสับสนในการเลือกใช้ นอกจากนั้นยังมีการแทรกแซงจากภาษาแม่คือ มีการนำกฎการใช้ในภาษาไทยมาใช้กับคำวิเศษณ์ภาษาเกาหลี อนึ่งการเรียนรู้เนื้อหาทีละส่วนก็มีผลทำให้นักศึกษาชาวไทยมองไม่เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำวิเศษณ์และไวยากรณ์ในการปรากฏร่วมกันด้วยอีกประการหนึ่ง</p> ษมาวดี กั้งแฮ, กาญจนา สหะวิริยะ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265256 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/267842 <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการอ่านเชิงวิเคราะห์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ<a name="_Hlk127434647"></a>ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ รวมถึงเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ </span><span style="color: windowtext;">3 <span lang="TH">และ </span>4 <span lang="TH">จำนวน </span>125 <span lang="TH">คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงและโดยสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสัมภาษณ์แนวทางในการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (</span>Correlation Coefficient) <span lang="TH">และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (</span>Multiple Regression Analysis)<span lang="TH"> ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับ ต่ำ (ร้อยละ 59.13) โดยทักษะการประเมินและตัดสินสิ่งที่อ่านและทักษะการสรุปอ้างอิง มีระดับคะแนนน้อยกว่าทักษะด้านอื่น นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับกลวิธีการอ่านและแรงจูงใจ โดยแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่ควรส่งเสริม คือ กลวิธีการอ่าน กรอบความคิดเติบโต บทบาทผู้สอน แรงจูงใจ และทัศนคติ</span></span></p> จารุณี นาคเจริญ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/267842 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 โลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภี อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265619 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภี อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากตำราเอกสารโบราณหมวดพิธีส่งเคราะห์จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ตำราส่งชน ตำราส่งหลวง ตำราส่งนพคราส ตำราส่งมหาโลกาวุฒิ และตำราส่งมิตไฟ-ส่งแถน ผลการศึกษาพบว่าโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภีจำแนกได้ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก คือ โลกทัศน์ด้านความเชื่อ สะท้อนให้เห็นว่า ชาวล้านนามีความเชื่อในเรื่องผี สิ่งเหนือธรรมชาติ และอำนาจลึกลับ สิ่งเหล่านี้สามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ดีร้ายแก่บุคคล ครอบครัว ตลอดจนชุมชนได้ ด้านต่อมา คือ โลกทัศน์ด้านศาสนา สะท้อนให้เห็นว่า ชาวล้านนาเชื่อในอำนาจของศาสนาและเทพเจ้าว่าเป็นสิ่งที่ช่วยคุ้มครอง ป้องกัน สิ่งชั่วร้าย ตลอดจนศาสนาสามารถรักษาให้บุคคลหายจากอาการเจ็บป่วยได้ และด้านสุดท้าย คือ โลกทัศน์ด้านประเพณี สะท้อนให้เห็นว่าชาวล้านนามีธรรมเนียมในการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากชาวบ้านหมู่บ้านสารภีมีความเชื่อในเรื่องตำนานเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ</p> อนาวิล โอภาประกาสิต, ภคภต เทียมทัน, สุภาวดี เพชรเกตุ Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/265619 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/268833 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพชุมชนและอัตลักษณ์ของอาหารพื้นถิ่นในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 2) ศึกษาศักยภาพอาหารพื้นถิ่นของชุมชนในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาบริบทพื้นที่และผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ ด้วยการสำรวจ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต แบบประเมินศักยภาพตำรับอาหารพื้นถิ่น และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วย SWOT Analysis วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการพรรณวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ชุมชนในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารมีศักยภาพสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้ โดยควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารแก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น และควรมีการพัฒนาการคมนาคมด้วยระบบสาธารณะระหว่างเมืองมรดกโลกสุโขทัยและเมืองบริวารให้ทั่วถึงและเชื่อมโยงกัน ในด้านอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น พบว่า อาหารของชุมชนมีอัตลักษณ์ที่สำคัญซึ่งสามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สามารถพบเห็นได้เฉพาะถิ่น มีการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของคนในท้องถิ่น มีโอกาสใช้อาหารถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง 2) ศักยภาพอาหารพื้นถิ่นของชุมชนในกลุ่มเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.91, S.D. = 0.26) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อาหารอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชุมชนสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์และส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้</p> รพีพงศ์ อินต๊ะสืบ, วรรณวีร์ บุญคุ้ม Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/268833 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบาทของเทคโนโลยีในการเตรียมสอบและบริหารการสอบภาษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/266680 <p class="Abstract"><span lang="TH" style="color: windowtext;">บทความนี้สำรวจการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มจำนวนขึ้นในการเตรียมตัวสอบและการบริหารจัดสอบภาษา เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของ </span><span style="color: windowtext;">COVID-19 <span lang="TH">นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ เทคโนโลยีจึงก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้การสอบภาษามีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทความนี้กล่าวถึงเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ อาทิเช่น แอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์สำหรับเรียนรู้ภาษา วิดีโอและคลิปบทเรียนเพื่อการศึกษา และสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ภาษาออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้อภิปรายประสิทธิภาพ ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีแต่ละประเภทจากการศึกษาที่เกี่ยวข้อง บทความนี้ยังกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีในการบริหารการสอบภาษา แพลตฟอร์มการสอบภาษาออนไลน์ เครื่องมือตรวจจับการคัดลอกผลงานวิชาการและตัดเกรดอัตโนมัติ ตลอดจนระบบการจัดการและติดตามข้อมูลของผู้สอบ อีกทั้งยังกล่าวถึงปัญหาและข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการสอบด้วยเช่นกัน ในตอนท้าย บทความนี้แสดงทิศทางในอนาคตของเทคโนโลยีในการเตรียมสอบและการบริหารการสอบภาษา รวมถึงเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นใหม่และความท้าทายที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต โดยผู้เขียนได้สรุปประเด็นสำคัญจากบทความและอภิปรายผลกระทบโดยรวมของเทคโนโลยีต่อการเตรียมสอบและการบริหารการสอบภาษา พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับนักการศึกษา ผู้สอน และสถาบันการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้</span></span></p> โอฬาร สว่างนุวัตรกุล Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/266680 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700