TY - JOUR AU - มะลาศรี, ธัญญารัตน์ PY - 2021/12/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นปฏิบัติ JF - วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ JA - ARU Res. J. Humanit.Soc.Sci. VL - 8 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/244518 SP - 29-42 AB - <p>การศึกษานี้ครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มประชากรจำนวน 15 คน&nbsp; &nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 86.7 เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 13.3&nbsp; อายุของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 21-35 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ระยะเวลาในการเรียนภาษาจีนที่เรียนภาษาจีนเป็นระยะเวลา 5 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ผลการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK)&nbsp; ที่สอบผ่านระดับ 3 มีจำนวนมากที่สุด เป็นร้อยละ 53.3</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการสำรวจระดับต้องการในการเข้ารับการอบรม พบว่า ความต้องการในการเข้าอบรมอยู่ในระดับมาก&nbsp;&nbsp; ( = 3.87) ผู้เข้าอบรมต้องการความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและทักษะการฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศก์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 3.93) อีกทั้งผู้เข้าอบรมต้องการความรู้เกี่ยวกับด้านไวยากรณ์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.20) ผู้เข้าอบรมต้องการให้มีวิธีการอบรมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบการฝึกปฏิบัติจริงมากที่สุด อยู่ในระดับมาก&nbsp; ( = 4.07) ยุวมัคคุเทศก์ต้องการสื่อประกอบการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบเอกสารการฝึกอบรมมากที่สุด อยู่ในระดับมาก&nbsp; ( = 4.33)</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม พบว่า ในด้านความตั้งใจและกระตือรือร้นที่จะใช้ภาษาในขณะปฏิบัติงานมากที่สุด อยู่ในระดับมาก&nbsp; ( = 4.47) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมที่มีต่อโปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นงานปฏิบัติ สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ พบว่าช่วยให้ผู้เข้าอบรมความมั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก และสถานที่ฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.33)&nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05</p> ER -