วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru
<p>วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์</p> <p> 1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยครอบคลุม ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์</p> <p> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> มีนโยบายการจัดพิมพ์คือวารสารเปิดรับบทความวิจัยแบบเต็มรูปแบบ และบทความวิชาการ จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น กำหนดออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม</p>
Research and Development Institute of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University
th-TH
วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2985-0606
<p>อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)</p>
-
การสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัย วิกฤต “ช่างทำหม้อดินเผา” : ภูมิปัญญากรุงเก่าชาวคลองสระบัว”
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/275057
<p>การสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยภายใต้แนวคิดวิกฤต“ช่างทำหม้อดินเผา”ภูมิปัญญากรุงเก่าชาวคลองสระบัวในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคกรรมวิธีการทำหม้อดินเผาจากช่างทำหม้อดินเผาที่ยังคงประกอบอาชีพนี้อยู่อีกทั้งเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำหม้อดินเผาของชุมชนคลองสระบัวให้กับนักศึกษาและผู้สนใจรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา ตลอดจนเพื่อสะท้อนแนวคิดและความประทับใจในการพยายามสู้ชีวิตของครูนงค์นุช เจริญพรหรือพี่ยอ “ช่างทำหม้อดินเผา” จากชุมชนคลองสระบัว โดยนำแนวคิดและความประทับใจนี้ไปเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบและสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยในโครงการ</p> <p>สำหรับรูปแบบของการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้คือ การลงพื้นที่เพื่อการสอบถามและสัมภาษณ์ “ช่างทำหม้อดินเผา” ในชุมชนคลองสระบัวและบริเวณใกล้เคียงที่เคยประกอบอาชีพนี้มาก่อนสำหรับจุดเด่นของเทคนิคกรรมวิธีการสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยในครั้งนี้ คือ การใช้วัตถุดิบหลักเป็นดินเหนียวจากชุมชนตำบลสวนพริก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ดินแก้วแกลบและดินขลุยปู ซึ่งเป็นดินเหนียวพื้นบ้านดั้งเดิมที่ช่างทำหม้อในอดีตนิยมนำมาใช้ในการขึ้นรูปดินและทาผิวหม้อดิน นอกจากนี้จะใช้ทรายละเอียดเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในเนื้อดินอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างชิ้นงาน อีกทั้งใช้เทคนิควิธีการขึ้นรูปดินด้วยมือ อาทิ วิธีการกดบีบ (Pinching) และวิธีแป้นหมุน (Wheel Throwing) ตลอดจนตกแต่งรูปทรงชิ้นงานดินด้วยวิธีการตัดเจาะและการขูด การใช้ก้อนดินเผาหรือก้อนซีเมนต์ขัดผิวและการใช้ไม้ลายตีเพื่อปรับรูปทรง นอกจากนี้มีการขัดผิวชิ้นงานให้เรียบมันด้วยการใช้หินกรวดแม่น้ำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น</p> <p>การสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยในครั้งนี้ ได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการออกแบบและสร้างต้นแบบมาจากความเพียรพยายามและกำลังใจในการสู้ชีวิตของพี่ยอ ซึ่งผู้ศึกษาต้องการที่จะเป็นสื่อกลางในการแสดงออกและสะท้อนคิดถึงความรู้สึกภายในจิตใจของพี่ยอโดยถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะและส่งต่อความรู้สึกประทับใจนี้ผ่านผลงานต้นแบบประติมากรรมขนาดเล็ก จำนวนทั้งสิ้น 2 ชิ้นงาน ซึ่งผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการสร้างต้นแบบประติมากรรมร่วมสมัยในครั้งนี้ จะสามารถต่อยอดผลงานศิลปะของผู้ศึกษา อีกทั้งใช้เป็นแนวทางให้กับนักศึกษาและผู้สนใจรุ่นหลัง ตลอดจนเกิดประโยชน์ทางด้านสุนทรียะแก่ผู้พบเห็นผลงานไม่มากก็น้อย</p>
วัชรีวรรณ หิรัญพลาวัสถ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
201
214
-
อัตลักษณ์วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยชนเผ่าไต สิบสองปันนา : การจัดการสืบทอดและออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของชุมชนหมู่บ้านช้างใหญ่
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270824
<p>สิบสองปันนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนและเป็นสถานที่อยู่อาศัยหลักของชนกลุ่มน้อยชนเผ่าไต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมในสิบสองปันนาได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแต่การลงทุนส่วนใหญ่เป็นทุนที่มาจากต่างถิ่นทำให้เกษตรกรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมค่อนข้างน้อยรวมถึงยังขาดโอกาสเรียนรู้ด้านการออกแบบ ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงได้นำทฤษฎีการออกแบบ C-K มาผสมผสานกับลักษณะการศึกษาเพื่อค้นหาวิธีการเรียนการสอนด้านการออกแบบสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกร จากการทดลองนำทฤษฎีการออกแบบ C-K ไปสอนเกษตรกรผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนพบว่าสามารถทำให้เกษตรกรมีความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสามารถเติมเต็มตลาดการท่องเที่ยวและสินค้าเชิงวัฒนธรรมให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างสูง</p>
จื่อเหยา พาน
ภรดี พันธุภากร
ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
1
14
-
อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยว ของกลุ่มมิลเลนเนียลส์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273038
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่ม มิลเลนเนียลส์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่มีสื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการค้นหา ติดตามข้อมูลด้านข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการเลือกร้านอาหารและอาหาร และด้านการเดินทาง การคมนาคม ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มมิลเลนเนียลส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ไม่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ ให้ความสำคัญกับข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอย่างมากและต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวอย่างครบถ้วนรอบด้าน อีกทั้งสื่อสังคมออนไลน์อาทิ เช่น เฟซบุ๊ก พันทิพย์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม บล็อกเว็บไซต์ท่องเที่ยว และยูทูป เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การท่องเที่ยวกับผู้อื่นได้</p>
อวัศยา เฮงบุณยพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
15
28
-
ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกาย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273218
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกายสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 - 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ที่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ไม่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและประเมินความฉลาดรู้ทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบค่าที กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สามารถทำให้ความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสูงขึ้น ได้ 2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มีดังนี้ 2.1) ความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจ (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅= 50.20, S.D.= 3.11) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (x ̅=30.37, S.D.= 4.66) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅=50.20, S.D.= 3.11) สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม <br />(x ̅= 43.17, S.D.= 2.94) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅=12.67, S.D.= 1.17) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (x ̅= 7.87, S.D.= 1.41) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅ = 12.67, S.D.= 1.17) สูงกว่าของนักศึกษากลุ่มควบคุม (x ̅= 9.67, S.D.= 1.58) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความฉลาดรู้ทางกายด้านแรงจูงใจและความเชื่อมั่นของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน <br />มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= = 4.70, S.D.= 10.15)</p>
ณัฐวุฒิ ฉิมมา
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
29
41
-
แอนิเมชันนิทานพื้นบ้านจีน : อัตลักษณ์ คุณค่า องค์ประกอบของนิทานพื้นบ้านจีนสู่การสร้างสรรค์แอนิเมชันงิ้วซานตง “เหลียงจู้”
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273357
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “แอนิเมชันนิทานพื้นบ้านจีน : อัตลักษณ์ คุณค่า องค์ประกอบของนิทานพื้นบ้านจีนสู่การสร้างสรรค์แอนิเมชันงิ้วซานตง “เหลียงจู้” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าและองค์ประกอบของงิ้วซานตงในนิทานพื้นบ้าน จากนั้นทำการวิเคราะห์เอกลักษณ์ อุปนิสัยและภูมิหลังของตัวละครงิ้วซานตงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์แอนิเมชันเรื่อง “เหลียงจู้” จากการศึกษาพบว่างิ้วซานตงมีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นหนึ่งในแปดอุปรากรหลักของประเทศจีน งิ้วซานตงมีต้นกำเนิดมาจากวิถีชีวิตของชนชั้นแรงงานที่อยู่ในสังคมชั้นล่าง เป็นวิธีการสำคัญสำหรับผู้คนในการแสดงถึงความรู้สึกภายในและสะท้อนให้เห็นรสชาติของชีวิตที่มีทั้งความสุข ความเศร้าและความยากลำบาก หนึ่งละครงิ้วซานตงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่องเหลียงจู้หรือเรื่องราวความรักของเหลียงซานป๋อและจู้อิงไถ ในยุคสารสนเทศปัจจุบัน สื่อเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ ดังนั้น การผสมผสานงิ้วซานตงเข้ากับการสร้างแอนิเมชันเรื่อง “เหลียงจู้” จึงสามารถแสดงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของงิ้วซานตงในรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ด้วยแอนิเมชัน เปลี่ยนการแสดงงิ้วบนเวทีแบบดั้งเดิมให้เป็นสื่อสมัยใหม่และน่าสนใจ ทำให้ผู้คนเข้าถึงละครงิ้วซานตงได้มากขึ้น ก่อให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมและสร้างความแปลกใหม่ให้กับเนื้อหาของแอนนิเมชันจีนการผสานจิตวิญญาณแห่งศิลปะงิ้วซานตงเข้ากับการแสดงแอนิเมชันสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างสรรค์ใหม่อย่างครอบคลุมในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างแบบจำลอง การแสดงออก การเคลื่อนไหว เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เพื่อแสดงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของงิ้วซานตงในรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ด้วยการออกแบบแอนิเมชันสามารถเปลี่ยนการแสดงงิ้วบนเวทีแบบดั้งเดิมให้เป็นสื่อสมัยใหม่และคลาสสิก</p> <p> </p>
ชิว เย่
บุญชู บุญลิขิตศิริ
ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
42
56
-
การบริโภคสื่อของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273424
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการบริโภคสื่อของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 รวมทั้งเปรียบเทียบผลกระทบจากการบริโภคสื่อของประชาชนแต่ละเจเนอเรชัน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ และใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์จำนวน 448 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 64 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการศึกษาพบว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญบริโภคสื่อเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ปกติและส่วนใหญ่มีการบริโภคสื่อหลายช่องทาง สื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ โทรทัศน์ รองลงมา ได้แก่ เฟซบุ๊ก และยูทูบ เนื้อหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ละคร ซีรีส์ และภาพยนตร์ รองลงมาคือ เพลงและคอนเสิร์ต และไลฟ์ขายสินค้า ด้านข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความสนใจเนื้อหาด้านจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาเป็นข่าววัคซีน และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยติดตามจากรายการข่าวทางโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โพสต์ในเฟซบุ๊ก และบุคคลใกล้ชิด หลังการบริโภคสื่อแล้วพบว่า แต่ละเจเนอเรชั่นได้รับผลกระทบต่างกัน Gen B ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y) และ Gen Z ส่วนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Gen X) ก็ได้รับผลกระทบน้อยกว่า Gen Z เช่นกัน โดย Gen B, Gen X และ Gen Z ได้รับผลกระทบด้านจิตใจมากที่สุดในระดับที่ต่างกัน รองลงมาเป็นผลกระทบด้านการดำเนินชีวิตและการสื่อสารในระดับที่ต่างกันเช่นกัน </p>
สุกัลยา คงประดิษฐ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
57
71
-
การบริหารจัดการย่านเก่าและรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273664
<p>การท่องเที่ยวย่านเก่าช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนจึงต้องมีส่วนร่วมในการนำเอาสิ่งที่ตนมีอยู่มาใช้เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น ศิลปะพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิหลังของท้องถิ่น สถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการพัฒนาท่องเที่ยวย่านเก่า คือ รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม การสร้างความพร้อม และเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการย่านเก่าสู่การเป็นแหล่งทองเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยชุมชนมีส่วนร่วม และ (2) เพื่อเสนอพื้นที่และรูปแบบการนำสถาปัตยกรรมมาเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยอาศัยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) ผ่านการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Component Analysis) และสังเคราะห์ไปสู่การสรุปข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) ตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยสรุปได้ คือ รูปแบบการบริหารจัดการย่านเก่าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยชุมชนมีส่วนร่วม ได้แก่ (1) ย่านเก่าท่าบ่อ ใช้แนวคิดผ่านเรื่องราวของเส้นทางเกลือสินเธาว์ ที่เป็นวิถีอาชีพดั้งเดิมของอำเภอท่าบ่อ (2) ย่านเก่าท่าอุเทน ใช้แนวคิดการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น สถานที่สำคัญ (พระธาตุ) พื้นที่วิถีวัฒนธรรมชุมชน (ไทญ้อ) โดยทั้งย่านเก่าท่าบ่อและย่านเก่าท่าอุเทน ต้องอาศัยการพัฒนาในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้กับรูปแบบการท่องเที่ยวย่านเก่า ได้แก่ สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) กิจกรรม (Activities) การเข้าถึง (Access) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) และ ที่พัก (Accommodation) สำหรับข้อเสนอพื้นที่และรูปแบบการนำสถาปัตยกรรมมาเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้แก่ (1) ย่านเก่าท่าบ่อ กำหนดให้พื้นที่บริเวณสี่แยกถนนผดุงสามัคคีถนนพาณิชย์บำรุง และ (2) ย่านเก่าท่าอุเทนกำหนดให้พื้นที่บริเวณสี่แยกถนนศรีมืองและถนนริมโขง เนื่องจากพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง มีกลุ่มอาคารแถวเก่าที่มีลักษณะโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากและมีความต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นพื้นที่ สามารถนำแนวทางการอนุรักษ์ของกรมศิลปากรมาใช้อนุรักษ์ฟื้นฟู และปรับปรุงอาคาร และใช้เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวย่านเก่า รวมถึงจัดกิจกรรมถนนคนเดินและถนนวัฒนธรรม จำหน่ายสินค้าและอาหารพื้นถิ่น รวมถึงสินค้าอื่นๆ บริเวณพื้นที่หน้าอาคาร พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมการแสดงของเยาวชนรวมถึงกิจกรรมการแสดงของชุมชนด้านวัฒนธรรม ซึ่งข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวย่านเก่าให้เป็นรูปธรรม คือ(1) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในย่านเก่าหรือบริเวณชุมชน (2) การให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวและนําเที่ยวชมย่านเก่า ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) สนับสนุนแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน และ (4) ต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าของย่านเก่า รูปแบบสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างแนวทางอนุรักษ์ย่าน กลุ่มอาคาร และรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนต่อไป</p>
เดชณรงค์ วนสันเทียะ
นิโรธ ศรีมันตะ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
72
86
-
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274194
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน การสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และ 3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยหมู่เรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัด เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย x ̅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และ MANNOVA with Repeated Measure <br />ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.89/80.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ณัฐฐินุช จุยคำวงค์
ธิดารัตน์ พานพ่วง
จีรนันท์ พูลสวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
87
100
-
ประสิทธิภาพของการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรนครชัยศรี
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274179
<p>การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของทางราชการ รวมทั้งประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลความสำเร็จขององค์กร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะและประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ2) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรนครชัยศรี จำนวน 144 นาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความต้องการการสัมฤทธิ์ผล และด้านการควบคุมตนเองในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านกระบวนการในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 2) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้านความต้องการการสัมฤทธิ์ผล ด้านภาวะผู้นำ และด้านสุขอนามัย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 54.80</p>
วรัชญา เซ่งประเสริฐ
กรรณิกา กุกุดเรือ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
101
112
-
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะ ทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274517
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับ ผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ และ (3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพซึ่งพาลูกมารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี อย่างสม่ำเสมอ คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้ปกครองจากการใช้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ และ (3) แบบวัดความพึงพอใจ ของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ มีประสิทธิภาพการเรียนรู้ (E1 / E2) เท่ากับ 84.80/86.002) ผู้ปกครองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังจากใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.80, S.D. = 0.32)</p> <p> </p>
จีรนันท์ พูลสวัสดิ์
ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์
ธิดารัตน์ พานพ่วง
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
113
125
-
การรับรู้และทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลย ต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274914
<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสม ซึ่งใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ต้องหาและจำเลยที่อยู่ระหว่างการสอบสวน การไต่สวน - พิจารณา และการอุทธรณ์ - ฎีกา ทั้งที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จำนวนทั้งสิ้น 482 คน ทั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทย กฎหมายกำหนดให้เป็นกระบวนการที่ต้องมีการร้องขอ มิใช่สิทธิที่ได้รับโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ต้องหาหรือจำเลยส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลและสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวจากเอกสาร สื่อประชาสัมพันธ์ และทนายความ อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาหรือจำเลยบางส่วนที่ไม่ได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งที่เป็นสิทธิที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย เนื่องจากขาดการรับรู้และความเข้าใจเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่พึงมีในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว การขอใช้กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และเรื่องขั้นตอนในการปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งในการปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวค่อนข้างยึดโยงกับการใช้หลักประกันเป็นเครื่องมือในการควบคุมความเสี่ยง ดังนั้นจึงทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยบางกลุ่มไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้เนื่องจากปัญหาความพร้อมด้านการเงิน อย่างไรก็ตามกรณีที่มีการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวและศาลมีคำตัดสินไม่ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยบางส่วนยังไม่ได้รับการสื่อสาร ตลอดจนการชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งปัญหาการขาดการรับรู้และความเข้าใจดังกล่าวส่งผลต่อทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรปรับปรุงกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ที่ดี และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อช่วยยกระดับการเข้าถึง และการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประชาชนต่อไป</p> <p> </p>
นริศรา จริยะพันธุ์
สืบสกุล เข็มทอง
พีรพล เจตโรจนานนท์
โกสินทร์ เตชะนิยม
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
126
134
-
แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274257
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในงานวิจัยนี้ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.67 ถึง 1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ F – test (One-Way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล รองลงมาคือ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านการตรวจสอบข้อมูล ตามลำดับ และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการเปรียบเทียบระดับแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านการนำข้อมูลไปใช้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
เพ็ญนภา สุขเสริม
ภูผายาง ภูผายาง
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
135
147
-
การจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274300
<p>เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ถือเป็นกำลังสำคัญในการติดตาม สืบค้น แสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อจับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิด การปฏิบัติหน้าที่จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการจัดการความปลอดภัยเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร จำนวนทั้งสิ้น 112 นาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ t - test และ One–way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการในการปฏิบัติหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติหน้าที่ และด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย อายุ การศึกษา ระดับชั้นยศ และ ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่แตกต่างกัน มีการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
วรดา อภิญญาณสัจจะ
กรรณิกา กุกุดเรือ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
148
158
-
ระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274393
<p>ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้น การจัดการระบบความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวดังกล่าว การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ t- test และ One - way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการหลอกลวง/ต้มตุ๋น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขอนามัย/โรคระบาด และด้านธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อาชีพ และภูมิลำเนา ของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
กัณฐมณี รษบุตร
กรรณิกา กุกุดเรือ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
159
173
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรี
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/275089
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรีก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ เด็กความบกพร่องทางสติปัญญา อายุ 4-6 ปี ที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2566 อย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่รุนแรง เป็นกลุ่มที่เรียนได้ สื่อสารด้วยการพูด มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 3) แบบประเมินทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 4) คู่มือแบบประเมินทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 5) แบบบันทึกพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก 6) คู่มือแบบบันทึกพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย (<img title="x" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x" /> ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และทดสอบค่าที (t-test) <br />ผลการวิจัยพบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.75/81.46 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 75/75 และความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ธิดารัตน์ พานพ่วง
จีรนันท์ พูลสวัสดิ์
ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
174
188
-
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดจันทบุรีและตราด
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/274933
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียใช้ระเบียบการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษาสร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียและทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 81 คน จาก 5 โรงเรียน ในจังหวัดจันทบุรีและตราด ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t–test) <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.67/81.83 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 11.46 และมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 5.27 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> </p>
ภูวดล บัวบางพลู
เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์
พงษ์นที ศิลาอาศน์
สุรัตน์ จานทอง
นพเดช อยู่พร้อม
ปรียาภรณ์ ศิริไสยาสน์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
11 2
189
200