วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru <p>วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยครอบคลุม ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; มีนโยบายการจัดพิมพ์คือวารสารเปิดรับบทความวิจัยแบบเต็มรูปแบบ และบทความวิชาการ จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น กำหนดออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม</p> th-TH <p>อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)</p> krungkao.arursjournal@gmail.com (Asst.Prof.Dr.Lerdchai Sathitpanawong) krungkao.arursjournal@gmail.com (Wannisa Naiyachit) Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสำรวจเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่ประชาชนนิยมใช้ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270110 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่ประชาชนในประเทศไทยนิยมใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่ใช้เครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากแบบสอบถามออนไลน์รูปแบบ Google forms วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในรูปแบบจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 92.50) มีอายุระหว่าง 20-30 ปี (ร้อยละ 66.25) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 72.25) อาชีพพนักงานเอกชน (ร้อยละ 31.25) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท (ร้อยละ 35.00) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ประเภทเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ามากที่สุด โดยเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่เลือกซื้อมากที่สุด คือ Biotherm (ร้อยละ 9.75) รองลงมา คือ Clarins (ร้อยละ 8.50), Estee Lauder (ร้อยละ 8.00), Bobbi Brown (ร้อยละ 7.75) และ Kiehl’s (ร้อยละ 7.50) เหตุผลหลักที่เลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดี (ร้อยละ 57.50) ค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งมากที่สุด 1,000-5,000 บาท (ร้อยละ 66.50) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยมากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมีมาตรฐาน (ค่าเฉลี่ย 4.75 ± 0.47) และผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพเห็นผลลัพธ์ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 4.65 ± 0.54) ด้านราคา คือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 4.47 ± 0.67) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายมีความหลากหลาย (ค่าเฉลี่ย 4.39 ± 0.78) และด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีการส่งเสริมการตลาดที่ดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย 4.38 ± 0.78) ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ที่สนใจในการประกอบธุรกิจความงาม เพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค</p> รัชนิดา กันภัย, พลอยงาม เร็วงาม, นิลวรรณ อยู่ภักดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270110 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบเครื่องเคลือบจีน - ไทยในศตวรรษที่ 14: กรณีศึกษาการเปรียบเทียบลวดลายเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้นและสุโขทัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270571 <p>เครื่องเคลือบดินเผาจิ่งเต๋อเจิ้นและสุโขทัยในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือเป็นช่วงที่มีการพัฒนางานเครื่องเคลือบดินเผามากที่สุดช่วงหนึ่งซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทั้งสองประเทศ พัฒนาการเครื่องปั้นดินเผาของไทยในสมัยสุโขทัย ได้รับอิทธิพลจากจีน (Ya, 2017) ที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนจะเป็นลวดลายที่ใช้ตกแต่งบนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลายรูปสัตว์ ลายดอกไม้และพืชพรรณ โดยมีช่างฝีมือชาวจีนที่เข้ามาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในสุโขทัยโดยเฉพาะเทคนิคการเขียนสีแบบใต้เคลือบ หลังจากที่ช่างฝีมือชาวจีนจากไป ช่างปั้นหรือผู้ผลิตของสุโขทัยได้สร้างเตาเผาแบบสังคโลกที่มีความโดดเด่นตามความต้องการด้านเครื่องเคลือบของประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงถึงศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นศตวรรษแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบไทยที่มีเอกลักษณ์ของภูมิภาค หัวข้อและความหมายอันหลากหลายของศิลปะที่นี่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน การค้าเครื่องเคลือบดินเผา และแง่มุมอื่น ๆ ของทั้งสองประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีคุณค่าสำหรับการวิจัยทางศิลปะและการสืบทอดวัฒนธรรมและศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นมิตรระหว่างจีนและไทย รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ทางมิตรภาพจีน-ไทย ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของเครื่องเคลือบดินเผาของทั้งสองประเทศนี้ ส่วนมากเป็นการพัฒนาเทคนิคการเขียนสีใต้เคลือบ ซึ่งอธิบายถึงการสืบทอดและนวัตกรรมของช่างฝีมือของทั้งสองประเทศ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ความสวยงามและแง่มุมอื่น ๆ การศึกษาการเปรียบเทียบลวดลายและรูปทรงเครื่องเคลือบดินเผาจากทั้งสองประเทศในช่วงเวลานี้ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างลวดลายและรูปทรงของผลงาน รูปแบบการตกแต่งและการจัดวางรูปทรงมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่า การตกแต่งเครื่องสังคโลกมีเอกลักษณ์และวิธีการแสดงออกในท้องถิ่นมากกว่า ซึ่งเน้นลวดลายปลาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการรักษาและสืบทอดทักษะเครื่องเคลือบไทย - จีน และเป็นข้อมูลอ้างอิงและแนวทางสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในภายหลัง</p> บุญชู บุญลิขิตศิริ, จาง หมิง, เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270571 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270944 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย คือ แบบตรวจสอบชุมชนศึกษา แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว การสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า 1) ตำบลบ้านใหม่ เป็นชุมชนที่ราบลุ่มในภาคกลาง มีศักยภาพด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรม คือ มีวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 6 แห่ง มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในตำบล คือ “ทุ่งมะขามหย่อง” มีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ งานแกะสลักไม้ ที่ได้รับการถ่ายทอกจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชน และมีวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง 2) ตำบลบ้านใหม่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว คือ มีทำเลตั้งอยู่ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมงานแกะสลักไม้ และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย รวมทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนในตำบล มีความตั้งใจในการพัฒนาการท่องเที่ยว 3) ผู้วิจัยและชุมชนได้ร่วมกันทำการสังเคราะห์ TOWS Matrix ได้รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่</p> วีรพล น้อยคล้าย, มรุต กลัดเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270944 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ที่ส่งผล ต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271280 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ 2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคสอนสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกคอร์เนลล์ และ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นโดยวัดจากการตรวจการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น</p> โกวิท บุญด้วง, ขวัญชนก นัยจรัญ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271280 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272195 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ จำนวน 57 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน <br />ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ มีแผนการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม รูปแบบการวัดและประเมินผลที่สามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยนอยู่ที่ 16.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.65 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์หลังการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน เพิ่มขึ้น (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การเรียนภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันเมื่อเทียบกับการเรียนแบบท่องจำปกติ ช่วยให้มีความมั่นใจในการพูด ออกเสียง และเขียนภาษาจีนมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับมาก</p> นารีรัตน์ หงษ์สามสิบเก้า Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272195 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 สำเนียงเขมรในบทประพันธ์เพลงของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272867 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางดนตรีและกลวิธีการประพันธ์เพลงสำเนียงเขมรของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอเชิงพรรณนาเลือกบทเพลงในวิเคราะห์ จำนวน 6 เพลง และในบทความนี้ได้นำเสนอตัวอย่างเพลงเขมรเลียบพระนคร เถา ในการอธิบาย<br />ผลการศึกษาพบว่า เพลงสำเนียงเขมรเป็นเพลงไทยที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นจากการได้ยินและจดจำสำเนียงและลีลาของเพลงเขมรโดยใช้ทฤษฎีดนตรีไทย มีลักษณะทางดนตรีที่บ่งบอกความเป็นสำเนียง เรียกว่า “ลูกภาษา” ในบทประพันธ์เพลงสำเนียงเขมรของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ปรากฏอัตลักษณ์จากกลวิธีการประพันธ์ที่โดดเด่น ได้แก่ การนำกระสวนจังหวะรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานในการสร้างทำนอง การสร้างวลีของทำนองที่มีลักษณะเฉพาะ นำไปวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ ของบทเพลงแล้วสร้างทำนองที่เชื่อมไปยังทำนองอื่น การสร้างความแปลกใหม่ในสำนวนทางกรอโดยสอดแทรกลูกล้อลูกขัดและทางเปลี่ยน การใช้จังหวะยก การซ้ำเสียงโดยเปลี่ยนกระสวนจังหวะ การใช้ทำนองซ้ำแล้วแยกทำนองจบ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ในการจัดระเบียบและการร้อยเรียงเสียงเข้าด้วยกันอย่างไพเราะเกิดเป็นสำนวนเพลงเขมรที่มีลักษณะเฉพาะตัว</p> อุมาภรณ์ กล้าหาญ, จตุพร สีม่วง, ขำคม พรประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272867 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาพวาดชิงหมิงริมนที : การศึกษาจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรม “ทะเลเมฆ” https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271717 <p>บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในภาพวาดชิงหมิงริมนทีซึ่งเป็นหนึ่งในสิบภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศจีนและได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาภาพวาดชิงหมิงริมนทีและแปลเนื้อหาของภาพวาดที่เข้าใจยากให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเพื่อสืบทอดจิตวิญญาณของวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ยังคงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ต่อไป การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจภาพวาดชิงหมิงริมนทีผ่านวิธีการวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ การวิจัยเอกสารวรรณกรรม การวิจัยภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปเนื้อหาภาพวาดโดยการอภิบายถึงวิธีการชื่นชมภาพวาด การวิเคราะห์จิตวิญญาณทางวัฒนธรรม ตลอดจนการนำเสนอแนวคิดในการดื่มด่ำกับภาพวาดชิงหมิงริมนทีและภาพวาดจีนอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน จากการศึกษาสรุปได้ว่า ภาพวาดชิงหมิงริมนทีคือจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องกับคำเปรียบเปรยที่ว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” ซึ่งถือเป็นปรัชญาที่ยิ่งใหญ่และยังคงความเป็นอมตะในสังคมยุคใหม่ กล่าวคือ เป็นคำสอนให้มนุษย์ทุกคนตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาทและเตรียมพร้อมรับมือกับอันตรายในช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและในขณะที่เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว</p> ย่าหลิน หลี่, ปิติวรรธน์ สมไทย, ภานุ สรวยสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271717 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษาบทบาทเจ้าอาวาส ช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272777 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษาบทบาทเจ้าอาวาส ช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำแนกตามอำเภอ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส สังกัดวัดฝ่ายมหานิกายของอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 189 รูป ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และต่อมาเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .282 - .691 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .946 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของ LSD และ Tamhane ผลการวิจัยพบว่า <br />1. บทบาทการปฏิบัติด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษาบทบาทเจ้าอาวาส ช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป การดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล และการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อการสาธารณประโยชน์ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ <br />2. เปรียบเทียบบทบาทการปฏิบัติด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรี: กรณีศึกษาบทบาทเจ้าอาวาส ช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำแนกตามอำเภอ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> บุญรอด บุญเกิด, ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272777 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272857 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามเพศและคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ชั้นปีที่ 1-4 ภาคปกติ จำนวน 377 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใชในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.98 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD และ Tamhane ผลการวิจัยพบว่า ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.09, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม 2) ด้านทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ 3) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 4) ด้านทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ 5) ด้านทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 6) ด้านทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว 7) ด้านทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ และ 8) ด้านทักษะการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ เมื่อเปรียบเทียบทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามเพศและคณะ โดยรวมมีทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ณิชาภา เจริญรูป, พัชรินทร์ รุจิรานุกูล, สุรีย์มาศ สุรีย์มาศ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/272857 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่น ในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271555 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี และเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี กลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 462 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 และโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนมัธยมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 2) โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่ ปฐมนิเทศและสร้างสัมพันธภาพ การรักษาสัมพันธภาพและสำรวจมุมมองการเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลง การเผชิญปัญหา ความสามารถในการสร้างกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา การคัดสรรวิธีการเผชิญปัญหา เส้นทางการเผชิญปัญหาที่หลากหลาย ทางเลือกใหม่ในการเผชิญปัญหา และการยุติการให้การปรึกษา และ 3) ผลการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี พบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมีความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> สุวัชราพร สวยอารมณ์, ดรัณภพ เพียรจัด, วราภรณ์ สินถาวร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/271555 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273111 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในรูปแบบของอนุกรมเวลารายไตรมาส เริ่มตั้งแต่ ไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2554 ถึง ไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น 48 ข้อมูล กำหนดให้ตัวแปรตามคืออุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีน และ ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย (1) รายได้ประชากรในประเทศจีน (2) ราคาส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีน (3) ราคาส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศคู่ค้าอื่น (ฮ่องกง) (4) ราคามังคุดในประเทศไทย (5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/หยวน) (6) ราคาน้ำมันดิบ (7) แนวโน้มการบริโภคมังคุดในประเทศจีน และ (8) ช่วงเวลาในการบริโภคมังคุดรายไตรมาส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยพหุคูณแบบลดรูปตัวแปรภายใต้ฟังก์ชันลอการิทึม</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีนเชิงบวก ได้แก่ รายได้ประชากรในประเทศจีน และช่วงเวลาในการบริโภคมังคุดรายไตรมาส ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีนเชิงลบ ได้แก่ ราคาส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีน ราคาส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศคู่ค้าอื่น (ฮ่องกง) ทั้งนี้ แบบจำลองดังกล่าวสามารถทำนายอุปสงค์การส่งออกมังคุดของประเทศไทยไปยังประเทศจีนได้ร้อยละ 80.7</p> ธนดล สุนันต๊ะ, เฉลิมพล จตุพร, วสุ สุวรรณวิหค Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/273111 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ชุดกิจกรรมการปั้นมันดาลา: กิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตใจ สำหรับเด็กปฐมวัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/269061 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตใจสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 5-7 ปี ผ่านการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ประเภทการปั้นที่บูรณาการเข้ากับเทคนิค “มันดาลา” ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะภายในพื้นที่วงกลมที่มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศทิเบต ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบให้สามารถนำมาใช้ในการบำบัดอารมณ์และจิตใจผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะประเภทต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการเสริมสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะและกล่อมเกลาจิตใจให้กับคนทุกเพศทุกวัย บทความฉบับนี้ผู้เขียนจึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตใจสำหรับเด็กปฐมวัย คุณค่าของการสร้างสรรค์มันดาลา กิจกรรมศิลปะและการปั้นสำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างและแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการปั้นมันดาลาให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการและช่วงความสนใจของเด็กปฐมวัย อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตใจ ตลอดจนพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม</p> ณัฐณิชา มณีพฤกษ์, อินทิรา พรมพันธุ์, พชร วงชัยวรรณ์, จิราพร พนมสวย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/269061 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 คติชนคนสุพรรณบุรี พื้นที่แสดงตัวตนกับการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในเทศกาลสงกรานต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270754 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความเป็นคนสุพรรณบุรีผ่านข้อมูลคติชนประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่งานสงกรานต์ และความหลากหลายของวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ในงานเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ โดยนำเสนอผ่านขบวนแห่บุปผชาติประกอบคำขวัญ การแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์และกิจกรรมการแสดง รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านการยกย่องเชิดชูบุคคลสำคัญ ทั้งทางประวัติศาสตร์และปัจจุบัน ทำให้เกิดพื้นที่การจัดงานเทศกาลสงกรานต์และเป็นพื้นที่แสดงตัวตนแห่งใหม่ของคนสุพรรณบุรี นำเสนอวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคง สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการวิเคราะห์บทบาทกับการประยุกต์ทฤษฎีทางคติชนวิทยา กรณีศึกษางานเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ยังแสดงตัวตนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในจังหวัดสุพรรณบุรี สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัด ซึ่งสามารถปรับประยุกต์การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมให้เข้ากับบริบททางสังคมในปัจจุบันได้</p> <p> </p> เบญจพร ไพรศร, ธิดาดาว เดชศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270754 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700