https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/issue/feed วารสารการอ่าน 2024-09-09T14:21:00+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี แสนชมน์ pawineesanchon@hotmail.com Open Journal Systems <p>วารสารฯ ดำเนินการโดย <strong>Thailand Literacy Association</strong> หรือ ชื่อเดิม <strong>สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย (</strong><span class="aCOpRe"><strong>Thailand Reading Association: TRA)</strong></span> สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการอ่านในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความทั่วไป</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/276238 บทบรรณาธิการ 2024-09-09T14:21:00+07:00 ภาวิณี แสนชนม์ phawinee.sa@snru.ac.th 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/273839 การจัดหมวดหมู่เอกสาร การจัดทำเมทาดาทา และการลงรายการเอกสาร จดหมายเหตุของหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการการจัดทำจดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 2024-05-21T15:13:15+07:00 ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ preedee.pluemsamrungit@gmail.com ฐิติ อติชาติชยากร thitik@m.swu.ac.th กนกวรรณ บัวงาม kbuagam@tu.ac.th พงศกร สุกันยา pongsakorns@g.swu.ac.th เสาวภา หลิมวิจิตร saowapha.l@chula.ac.th สมปอง มิสสิตะ missitaa@gmail.com สุภาณี เลิศจิระประเสริฐ supanee@ndmi.or.th ปภัสรา อาษา papatsara.a@arts.tu.ac.th <p> บทความนี้นำเสนอกระบวนการลงในการจัดหมวดหมู่ การจัดทำเมทาดาทา และการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ครอบคลุมความหมายของเอกสารจดหมายเหตุและจดหมายเหตุดิจิทัล ความสำคัญของเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัล การจัดแบ่งหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศตามเนื้อหาของเอกสารของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 10 กลุ่มเนื้อหา ได้แก่ 1) ประวัติและพัฒนาการ 2) โครงสร้างองค์กรและหน่วยงานในสังกัด 3) บุคคลสำคัญและเอกสารส่วนบุคคล 4) นโยบายและแผนงาน 5) ภารกิจหลักและผลงาน 6) สื่อและเอกสารเผยแพร่ 7) พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 8) วิทยาศาสตร์ 9) วิจัย และ10) นวัตกรรม นอกจากนี้ ยังครอบคลุมการจัดทำเมทาดาทาด้วยมาตรฐานดับลินคอร์ การลงรายการข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุในระบบ ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลรายการเอกสารจดหมายเหตุในระบบคลังจดหมายเหตุดิจิทัล จะเห็นได้ว่า การรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลให้เป็นระบบโดยใช้มาตรฐานในการจัดเก็บและการรวบรวมช่วยแสดงรายละเอียดของเอกสาร ทั้งยัง ช่วยให้เข้าถึงเอกสารฉบับเต็มและเชื่อมโยงไปยังแหล่งที่มาของเอกสารได้</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/274120 การสะสมหนังสือเก่าของสำนักพิมพ์ต้นฉบับ 2024-05-20T09:34:44+07:00 สุภาณี เลิศจิระประเสริฐ supanee@ndmi.or.th น้ำทิพย์ วิภาวิน namtip.wip@stou.ac.th <p> หนังสือเก่าเป็นตัวแทนของยุคสมัย คุณค่าของหนังสือเก่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของหนังสือ เป็นสิ่งที่ให้ความรู้และความบันเทิง มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเริ่มตั้งแต่การบันทึกลงในวัสดุสิ่งของต่าง ๆ จนกระทั่งมาถึงกระดาษที่มีการรวบรวมความรู้ต่าง ๆ มากขึ้นถ่ายทอดมาจนถึงทุกวันนี้</p> <p> โดยทั่วไปคลังหนังสือหายากเป็นการรวบรวมหนังสือเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่จัดเก็บไว้ในคอลเลคชั่นพิเศษในหอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดเฉพาะ เช่น สยามสมาคม แต่หนังสือหายากที่สะสมในห้องสมุดส่วนตัวนั้นในประเทศไทยมีไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดส่วนตัวในสำนักพิมพ์ต้นฉบับของนายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ บทความนี้จึงเป็นการเล่าเรื่องความประทับใจที่มีต่ออุดมการณ์ความรักในหนังสือและแรงบันดาลในในการจัดตั้งสำนักพิมพ์ต้นฉบับ จากความชอบ ความมีใจรักในงานหนังสือ เอกสารเก่า ได้แปรความชอบมาเป็นงานหลัก จนมาถึงความเกี่ยวข้องในเอกสารจดหมายเหตุ วิธีการค้นคว้าหาข้อมูล การนำข้อมูลออกมาเผยแพร่ ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัย ถือได้ว่าห้องสมุดสำนักพิมพ์ต้นฉบับเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับค้นคว้างานจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ที่ดีเทียบเท่าแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าของประเทศไทยเช่นเดียวกับคลังคอลเลคชั่นหนังสือหายากในห้องสมุด</p> <p> บทความนี้ได้รับทราบแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นของเจ้าของสำนักพิมพ์ต้นฉบับ และได้ยกตัวอย่างนิตยสารที่หายาก ภาพเก่าที่หายาก และหนังสือหายากที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์</p> 2024-09-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/274024 ห้องสมุดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2024-05-24T09:33:50+07:00 นิธินันท์ สุวรรณกิจ chanlun_j@su.ac.th จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน chanlun_j@su.ac.th <p> บทความนี้เกิดจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความหมายและความสำคัญของห้องสมุดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมและบริการของห้องสมุดดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และแนวทางการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลการศึกษา พบว่า 1) ห้องสมุดดิจิทัลเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยคุณสมบัติที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล 2) กิจกรรมและบริการของห้องสมุดดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า มีการจัดกิจกรรมและบริการในหลายรูปแบบ และมีทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3) แนวทางพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นการใช้และแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสอดรับกับยุคสมัยและความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป</p> <p> </p> 2024-09-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/274387 การศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2024-05-24T09:23:23+07:00 ภีรพัฒน์ อรัญมิตร praima@rmu.ac.th ไปรมา เฮียงราช praima@rmu.ac.th <p> การศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม<br />มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการอ่าน ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ศึกษาปัญหาการอ่านของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 404 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์การอ่านเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติมกว้างขวางขึ้น (ร้อยละ 42.3) และปัญหาการอ่านของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีสถานที่อ่าน (ร้อยละ 24.3) ปัญหาในการอ่านที่เกิดจากอาจารย์พบว่าอาจารย์กำหนดเรื่องให้อ่านแต่ไม่มีสิ่งพิมพ์ในสำนักวิทยบริการฯ (ร้อยละ 26.5) และปัญหาในการอ่านที่เกิดจากการบริการของสำนักวิทยบริการฯพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา (ร้อยละ 43.80)</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/274455 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย: การสังเคราะห์วรรณกรรมหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด - 19 2024-05-28T11:12:37+07:00 ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์ duangkaew.nge@stou.ac.th ภาวิณี แสนชนม์ Phawinee.sa@snru.ac.th ธนิกชา บุญวัฒโนภาส duangkaew.nge@stou.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย&nbsp; ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย&nbsp; และแนวโน้มการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย&nbsp; โดยใช้วิธีวิจัยการวิจัยเอกสาร&nbsp; (Documentary research)&nbsp; ประชากรในการวิจัยคืองานวิจัยเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้งานวิจัยและผลการสำรวจที่เกี่ยวข้องจำนวน 14 เรื่อง &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึก&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis<strong>)</strong></p> <p>ผลการสังเคราะห์พบว่าสภาพทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับดี&nbsp; แต่นักศึกษามีทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแตกต่างกันไปตามสาขาวิชาหรือการจัดการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย&nbsp; ปัญหาในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษา&nbsp; พบว่ามีปัญหาด้านนโยบายของรัฐ&nbsp; ด้านแหล่งสารสนเทศ&nbsp; ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ&nbsp; ด้านบุคลากร&nbsp; และด้านนักศึกษา&nbsp; แนวโน้มการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของนักศึกษา&nbsp; พบว่ามีแนวโน้มเกี่ยวกับ การกำหนดนโยบายของรัฐ&nbsp; การจัดการการเรียนรู้&nbsp; และคุณลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษา</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ; การรู้เท่าทันสื่อ; การรู้สารสนเทศ; นักศึกษาระดับอุดมศึกษา</p> 2024-09-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน