วารสารการอ่าน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj
<p>วารสารฯ ดำเนินการโดย <strong>Thailand Literacy Association</strong> หรือ ชื่อเดิม <strong>สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย (</strong><span class="aCOpRe"><strong>Thailand Reading Association: TRA)</strong></span> สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการอ่านในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความทั่วไป</p>
สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย (Thailand Reading Association)
th-TH
วารสารการอ่าน
0857-0493
-
การให้บริการหนังสือมนุษย์ (Human Book) เปลี่ยนการอ่านหนังสือเป็นการอ่านคน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของห้องสมุดประชาชน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/275946
<p> บทความนี้อธิบายถึงสื่อการเรียนรู้ระหว่างบุคคลที่เรียกว่าหนังสือมนุษย์ เป็นช่องทางในการแบ่งปันประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญของบุคคลให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบผ่านการเล่าเรื่องแทนการอ่านหนังสือ มีองค์ประกอบการให้บริการ 4 ส่วน คือ หนังสือมนุษย์ ผู้อ่าน ห้องสมุด และวัน-เวลาและสถานที่ โดยห้องสมุดหรือผู้จัดจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแบ่งปันความรู้ เนื้อหาของบทความยังนำเสนอเกี่ยวกับบริการหนังสือมนุษย์ในประเทศและต่างประเทศ นำเสนอแนวทางการพัฒนาหนังสือมนุษย์ที่มีด้วยกัน 8 ขั้นตอน ปัจจัยที่สนับสนุนการพัฒนาหนังสือมนุษย์ของห้องสมุดประชาชน ประโยชน์ที่ห้องสมุดและประชาชนจะได้รับ และคำแนะนำในการพัฒนาบริการ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอผลการจัดอบรมการให้ความรู้สำหรับบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นขั้นแรกของการพัฒนาหนังสือมนุษย์ พบว่า ภายหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ 90 มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหนังสือมนุษย์ ระดับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และระดับความพึงพอใจพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าอบรมร้อยละ 100 สามารถจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์หนังสือมนุษย์ด้วยโปรแกรม Canva ได้ แสวงหาและรวบรวมหนังสือมนุษย์สำหรับให้บริการจำนวน 3 เรื่อง</p>
สิริพร ทิวะสิงห์
หลิงฟ้า ขันติรัตน์
จุฬีย์ภรณ์ อมิตรสูญ
Copyright (c) 2025 วารสารการอ่าน
2024-12-31
2024-12-31
28 2
1
21
-
การศึกษาดูงานคลังความรู้ดิจิทัลและคลังจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เอกสารประเทศไทย สำนักวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/278217
<p> การศึกษาดูงานเป็นการศึกษาเรียนรู้และแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ โดยการเดินทางไปยังสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่สนใจ เพื่อศึกษาอย่างใกล้ชิดและจริงจัง การศึกษาดูงานจึงเป็นประโยชน์ทั้งด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีกับปฏิบัติ: ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาและเห็นภาพรวมของกระบวนการทำงานจริง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีที่ทันสมัย กระบวนการทำงานที่แตกต่าง ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และช่วยสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นการศึกษาดูงานเรื่อง คลังความรู้ดิจิทัลและคลังจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย สำนักวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p>
น้ำทิพย์ วิภาวิน
สุภาณี เลิศจิระประเสริฐ
Copyright (c) 2025 วารสารการอ่าน
2024-12-31
2024-12-31
28 2
22
36
-
การพัฒนาและการบริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/277941
<p>ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวบรวมความรู้ทางมนุษยศาสตร์ นิทรรศการออนไลน์ รวมถึงผลงานของคณาจารย์ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและการใช้บริการของผู้ใช้บริการซึ่งเป็นนักศึกษาและบุคลากรของคณะมนุษยศาสตร์ได้ทุกที่และทุกเวลา ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงใช้เว็บไซต์ AnyFlip (https://anyflip.com/) เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่ใช้จัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมและไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับการให้บริการผู้ใช้ในยุคดิจิทัล และยังเป็นห้องสมุดเฉพาะแห่งแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่นำ AnyFlip มาให้บริการ</p>
ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ
ณิชชา ชวาลเวชกุล
มณฑิชา เกตุนะ
สุภาพร สุปาโท
Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน
2024-12-31
2024-12-31
28 2
37
53