วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj <p>วารสารฯ ดำเนินการโดย <strong>Thailand Literacy Association</strong> หรือ ชื่อเดิม <strong>สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย (</strong><span class="aCOpRe"><strong>Thailand Reading Association: TRA)</strong></span> สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านการอ่านในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิจารณ์หนังสือ และบทความทั่วไป</p> th-TH [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี แสนชมน์) [email protected] (ชาตรี วงษ์แก้ว) Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/271641 ภาวิณี แสนชนม์ Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/271641 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมกับธรรมาภิบาล:วัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคและเอื้อให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/271643 รุ่งเรือง สงเคราะห์ Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/271643 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลการใช้แบบจำลอง SOS สำหรับหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษในการศึกษาทางไกล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/268932 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แบบจำลอง SOS สำหรับหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษในการศึกษาทางไกล โดยรูปแบบการเรียนการสอนด้วย SOS MODEL มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้ (1) การศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study) เป็นการศึกษาเนื้อหาชุดวิชาผ่านการศึกษาจากเอกสารการสอนและวีดิโอการสอนบน STOU e-Learning จำนวน 15 โมดูล (2) การฝึกปฏิบัติออนไลน์ (Online Practice) เป็นการให้นักศึกษาแต่ละคนได้ฝึกฝนการเขียนภาษาอังกฤษตามโจทย์ จำนวน 5 ครั้ง โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน และร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนในกลุ่ม (3) การสอนแบบประสานเวลา (Synchronous Teaching) หรือการสอนสด (Live Instructor) เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและนักศึกษา โดยการที่ผู้สอน บรรยายสรุปเนื้อหา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สอบถามปัญหาจากการเรียนที่ผ่านมา เป็นเวลา 1 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารโดยผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้นักศึกษาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวระหว่างการศึกษา โดยมีผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) คอยช่วยเหลือ ตอบข้อสงสัยระหว่างการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักศึกษา โดยการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลด้วย SOS Model ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ. ที่ลงเรียนในชุดวิชาการเขียนภาษาอังกฤษ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 521 คน ระยะเวลาเรียน 4 เดือน ผลวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และนักศึกษาแสดงความคิดเห็นในทางบวกจากการเรียนการสอนด้วย SOS MODEL ทั้งนี้งานวิจัยนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลชุดอื่น ๆ ได้</p> <p> </p> ชลรัศมิ์ สุริยารังสรรค์, วชิระ พรหมวงศ์, พิมพ์ประภา พาลพ่าย Copyright (c) 2023 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/268932 Fri, 19 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/270735 <p> ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติงานต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น การทำงานต้องมีความรวดเร็ว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดจัดทำการวิจัย เรื่อง .การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อความสะดวกในการให้บริการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่นำเข้าข้อมูลก็สามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น <br /> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล (Descriptive Statistics) สรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบ AG SAR ได้ใช้ภาษา PHP 8 Java script Jason Kendo และAJAX request ในการพัฒนาระบบ รวมถึงใช้ Google Drive ในการจัดเก็บข้อมูล โดยมีคุณสมบัติ ได้แก่ การนำข้อมูลเข้าระบบ และการดูรายงานผลการตรวจประเมินของแต่ละหลักสูตร การทำงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่นำเข้าข้อมูล 2) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อการใช้งาน จำนวน 108 คน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับสามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้หน่วยงานอื่นได้ในเรื่องของการให้บริการของเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ ส่วนคุณภาพของระบบนั้นต้องมีการปรับปรุง เช่น การจัดหมวดหมู่ และข้อมูลจากส่วนกลางของคณะฯ</p> จุฬาลักษณ์ จันทร์เพชร, เอกชัย คนคิด, พิศมัย คุ้มสุวรรณ Copyright (c) 2023 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/270735 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมการอ่านวารสารวิชาการภาษาไทย ทางด้านบริหารรัฐกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ของห้องสมุดอุดมศึกษายุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/269460 <p>วารสารเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบัยอุดมศึกษา ห้องสมุดมีหน้าที่ในการจัดหาเครื่องมือเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าถึงวารสารได้อย่างสะดวก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีวารสารอิเล็กทรอกนิกส์ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะช่วยลดปัญหาด้านเวลาและสถานที่ในการเข้าใช้ แต่การใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ยังพบปัญหาว่า ผู้ใช้ไม่รู้จักแหล่งบริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั่วถึง ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ทุกรายการ ต้องมีสิทิ์ในการเข้าถึงข้อมูลและปัญหาด้านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่สืบค้นได้มีจำนวนมากและกระจายตามแหล่งต่างๆทำให้เสียเวลาในการคัดกรอง และไม่มั่นใจในคุณภาพวารสาร ห้องสมุดจึงควรทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้วารสารได้ 3 วิธีคือ 1. การอบรมให้ความรู้ 2.ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เพจเฟสบุ๊ค ทีวีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 3. การจัดทำเครื่องมือช่วยค้น ซึ่งศูนย์การเรียนรู้วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นได้รวบรวมวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับบริหารรัฐกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เลือกแหล่งบริการวารสารThaijo 2.กำหนดคค้นเพื่อแสดงวารสารที่เกี่ยวข้อง 3.บันทึกข้อมูลด้วย Excel หรือ Google Sheets เก็บข้อมูลบนไดรฟ์ 4.เชื่อมโยงข้อมูลจาก Google Sheet ไปยัง Google Data Studio เพื่อจัดองคืประกอบ การกำหนดข้อมูลเพื่อการค้นคืน การทำรายงาน และทดลองใช้ หลังจากนั้นทำการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ห้องสมุด และจัดทำเป็นแฟ้มรายชื่อกรณีอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ทำให้ศูนย์การเรียนรู้วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมีข้อมูลวารสารเฉพาะทางไว้สำหรับบริการผู้ใช้ห้องสมุด</p> สิริพร​ ทิวะสิงห์, ธีรยุทธ บาลชน Copyright (c) 2023 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/269460 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การตลาดแบบ Omni-channel Marketing ในห้องสมุดยุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/270961 <p style="font-weight: 400;"> ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ห้องสมุดมีการพัฒนาและปรับปรุงช่องทางที่หลากหลาย ไม่ใช่ห้องสมุดในอดีตที่เป็นพื้นที่อาคารที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเพียงอย่างเดียว ห้องสมุดมีการพัฒนาช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ แอปพลิเคชันห้องสมุด และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ จากการที่มีช่องทางที่หลากหลายแล้วนั้น จึงเกิดกลยุทธ์การบูรณาการทุกช่องทาง (Omni-channel) ซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านการตลาดที่ผสานทุกช่องทางการสื่อสารและการให้บริการอย่างไร้รอยต่อที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างและมอบประสบการณ์ที่สม่ำเสมอและราบรื่นไร้รอยต่อในทุกช่องทางของการสื่อสารและการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการ เพิ่มความพึงพอใจ และเกิดประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ บทความวิชาการนี้จึงได้รวบรวมความหมาย ความแตกต่าง ตัวอย่างภาคธุรกิจที่นำเอาแนวคิดการบูรณาการทุกช่องทางมาใช้ พร้อมกล่าวถึงการบูรณาการทุกช่องทางในบริบทด้านบริการของห้องสมุด และตัวอย่างบริการของห้องสมุดที่ให้บริการตามแนวคิดการบูรณาการทุกช่องทางอย่างราบรื่นแบบไร้รอยต่อ</p> ศรนารายณ์ บุญขวัญ Copyright (c) 2023 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/270961 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 ห้องสมุดกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/268352 <p>พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วในปัจจุบัน ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้เรื่องการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความยินยอมหรือขออนุญาตก่อน ห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในงานต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องศึกษาตัวบทกฎหมายและปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันการร้องเรียนหรือการฟ้องร้องซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตให้นำข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไปใช้</p> ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ Copyright (c) 2024 วารสารการอ่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdj/article/view/268352 Fri, 19 Jan 2024 00:00:00 +0700