https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/issue/feed วารสารเกษตร มสธ. (Online) 2025-02-04T10:31:18+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรัฐ รัตนเจริญ narat.stou@hotmail.com Open Journal Systems <p style="font-weight: 400;"> วารสารเกษตร มสธ. (STOU Journal of Agriculture) จัดทำโดยสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยทางด้านเกษตรศาสตร์ การส่งเสริมการเกษตร ธุรกิจการเกษตร สหกรณ์ ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วารสารแต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความไม่น้อยกว่า 8 เรื่อง เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม</p> <p style="font-weight: 400;"> ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ก่อนได้รับการตีพิมพ์บทความ ซึ่งจัดว่าเป็นบทความที่สามารถใช้เป็นผลงานทางวิชาการได้ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564 สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย</p> <p>Online ISSN: 2773-9937</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/278154 การวิเคราะห์สัญญาณเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรทับปุด จำกัด จังหวัดพังงา 2024-12-25T12:42:31+07:00 นิพิชฌม์โชติ เพ็งสกุล songserm.hom@stou.ac.th ส่งเสริม หอมกลิ่น songserm.hom@stou.ac.th <p class="p1">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์ และ 2)วิเคราะห์สัญญาณเตือนภัยทางการเงิน และแนวทางการบริหารทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรทับปุด จำกัด โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินของสหกรณ์ ในปีบัญชี 2561-2565 โดยการวิเคราะห์ร้อยละตามแนวดิ่ง แนวโน้ม และอัตราส่วนทางการเงินในมุมมอง 6 มิติ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่มาก ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการดำเนินงานของสหกรณ์มียอดขาย/บริการเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะปี 2565 ต้นทุนขาย/บริการค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน กำไรสุทธิไม่แน่นอนเป็นผลจากต้นทุนขาย/บริการและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น สินทรัพย์ของสหกรณ์เป็นเงินให้กู้ยืมแก่สมาชิก มากกว่าร้อยละ 65.80 หนี้สินเป็นเงินรับฝากจากสมาชิกมากกว่าร้อยละ 59.44 และทุนของสหกรณ์เป็นทุนเรือนหุ้นมากกว่าร้อยละ 21.41 และ 2) สัญญาณเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์จากอัตราส่วนทางการเงินในมุมมอง 6 มิติ ดังนี้ (1) ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง อัตราหนี้สินต่อทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย (2) คุณภาพของสินทรัพย์ อัตราการค้างชำระของลูกหนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ย (3) ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (4) การทำกำไร อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย (5) สภาพคล่องทางการเงิน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนและอัตราการหมุนของสินค้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อายุเฉลี่ยของสินค้าสูงกว่าค่าเฉลี่ย และอัตราลูกหนี้ระยะสั้นชำระได้ตามกำหนดต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และ (6) ผลกระทบต่อธุรกิจ คืออัตราดอกเบี้ยจากภายนอก คู่แข่งขัน และ โควิด-19 และ แนวทางการบริหารทางการเงิน สหกรณ์มีอัตราหนี้ค้างชำระสูงต้องวางแผนในการติดตามเร่งรัดหนี้อย่างจริงจัง หนี้สินมากกว่าทุนของสหกรณ์ควรเพิ่มทุนจากการเพิ่มปริมาณธุรกิจและการทำกำไร ควบคุมต้นทุนขาย/บริการและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้</p> 2025-01-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารเกษตร มสธ. (Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/276147 ผลกระทบของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-2019) ต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคม และแนวทางการจัดการของชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต 2024-11-28T11:25:52+07:00 ดิษย์อร อิทธิอริยสุนทร disaorn36@gmail.com พูลศรี วันธงไชย poonsri56@gmail.com ดุสิต เวชกิจ dusit.wec@stou.ac.th สุธิดา มณีอเนกคุณ sutida.man@gmail.com อภิษฎา เรืองเกตุ apisada_pr@hotmail.com <p> การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ 1) ผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-19) ต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต ในพื้นที่อำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต และ 2) แนวทางการจัดการของชุมชนชายฝั่ง โดยการวิจัยแบบผสม (mixed method) เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 380 ครัวเรือน และประชุมกลุ่มย่อยกับสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจำนวน 2 ครั้ง และประชุมระดับจังหวัดจำนวน 1 ครั้ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.1 ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด เช่น ต้นทุนในการประกอบอาชีพมีราคาสูงขึ้น ขายของได้น้อยลง ต้องปิดกิจการ มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น และมีภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนชายฝั่งภูเก็ต มี 4 ตัวแปร 1) การเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ 2) แหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3) แหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินธนาคารพานิชย์ และ 4) ภาวะหนี้สิน แนวทางการจัดการเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การลดรายจ่ายครัวเรือนและหารายได้เสริม โดยมีกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรค ในระยะยาว จำนวน 4 กลยุทธ์ 1) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและสังคมบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) ยกระดับผลผลิตชุมชนชายฝั่งให้มีมูลค่าสูงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนชายฝั่ง 3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารตามแนวทางกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินท้องถิ่น และ 4) ส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศป่าชายเลน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน</p> 2025-02-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารเกษตร มสธ. (Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/277857 การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี 2025-02-04T10:31:18+07:00 ศิริพร บุญเพ็ญ wanalai_v@hotmail.com สัจจา บรรจงศิริ wanalai_v@hotmail.com วนาลัย วิริยะสุธี wanalai_v@hotmail.com <p class="Default" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 1.0cm; tab-stops: 14.2pt 42.55pt 2.0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">การศึกษาการจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอม และ 2) เพื่อให้ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการการผลิตของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม โดยศึกษาในกลุ่มประชากร เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 34 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 61 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย </span><span lang="EN-US" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">17</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;"> ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 2 คน การจ้างแรงงานเฉลี่ย 2 คน มีต้นทุนการผลิต 5</span><span lang="EN-US" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">,</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">408.48 บาทต่อไร่ การจัดการการผลิตมะพร้าวพื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียว มีการยกร่องปลูก<br />แบบแถวเดี่ยว ขนาดหลุมปลูก 0.5</span><span lang="EN-US" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">x</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">0.5</span><span lang="EN-US" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">x</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">0.5 เมตร ระยะปลูก 6</span><span lang="EN-US" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">x</span><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: windowtext;">6 เมตร ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว อายุต้นพันธุ์ 5 เดือน ดูแลรักษาโดยให้น้ำเฉลี่ย 5.26 ครั้งต่อเดือนโดยเรือพ่นน้ำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีโดยหว่านรอบทรงพุ่ม เกษตรกรส่วนหนึ่ง<br />มีการลอกเลนและใส่เกลือแกงเฉลี่ย 30.50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตครั้งแรกหลังจากปลูกเฉลี่ย 2-3 ปี ตัดผลผลิตทุกๆ 20 วัน โดยจัดจำหน่ายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง ปัญหาที่พบ ได้แก่ (1) ต้นทุนในการผลิตสูง มีข้อเสนอแนะให้รวมกลุ่มกันซื้อปัจจัยการผลิต ทำปุ๋ยใช้เอง และจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (2) ปัญหาด้านการผลิตจากสภาพอากาศที่แปรปรวน <br />และศัตรูพืชระบาด มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย และเกษตรกรควรดูแลตรวจแปลงป้องกันการระบาดของศัตรูพืช (3) ปัญหาด้านการจัดการตลาด เกษตรไม่มีอำนาจต่อรองราคาและไม่มีการส่งเสริมการขาย มีข้อเสนอแนะควรรวมกลุ่มกันเพื่อทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนและหน่วยงานรัฐร่วมบูรณาการส่งเสริมให้เกษตรกร<br />หันมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า (4) ปัญหาด้านการจัดการกลุ่ม เกษตรยังไม่ให้ความสำคัญในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม <br />มีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการแปลงใหญ่ สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับสมาชิกให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่ม<br />และประโยชน์ที่จะได้รับ</span></p> 2025-02-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารเกษตร มสธ. (Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/278551 การดูแลรักษาพืชพรรณในงานภูมิทัศน์นุ่ม 2025-01-16T08:50:21+07:00 สมจิต โยธะคง dr.somchit@hotmail.com <p>ภูมิทัศน์นุ่ม (softscape) คือองค์ประกอบใด ๆ ของสวนที่มีหรือเคยมีชีวิตอยู่ พื้นดิน พุ่มไม้และต้นไม้เป็นส่วนประกอบหลักของภูมิทัศน์นุ่ม การดูแลรักษาเน้นงานเกี่ยวกับพืชพรรณ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต ด้านชีวภาพ เครื่องบ่งชี้ว่าพืชพรรณเป็นสิ่งมีชีวิต(living) คือ มีการเจริญเติบโต การสะสมพลังงาน การสืบพันธุ์ การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง มีวงจรชีวิต(life cycle) มีการเกิด แก่ ตายและมีการสร้างสารประกอบอินทรีย์ การดูแลรักษา(maintenance) ต้องตระหนักเสมอว่าพืชพรรณเป็นสิ่งมีชีวิต เมื่อเป็นสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องมีการดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างดี มีการจัดเตรียมพืชใหม่เพื่อปลูกทดแทน เมื่อพืชพรรณเหล่านั้นทรุดโทรมยากแก่การแก้ไขและตายไป งานภูมิทัศน์นุ่มเป็นงานเกี่ยวกับพืชพรรณที่นำมาใช้งานภูมิทัศน์หลักๆที่ใช้มากได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดินและสนามหญ้า แต่จะนำเสนอเฉพาะ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและไม้คลุมดิน</p> 2025-01-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารเกษตร มสธ. (Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/277905 การจัดการความขัดแย้งในองค์กรเกษตรกร 2024-12-16T14:01:47+07:00 นภาวรรณ โตสติ sriwhitetosati@gmail.com เพชร ทวีวงษ์ Pech.Tav@stou.ac.th <p class="p1">บทความนี้มุ่งอธิบายการจัดการความขัดแย้งในองค์กรเกษตรกร ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันของสมาชิกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ผลผลิต ที่สามารถนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนในภาคการเกษตรขึ้นได้ ความขัดแย้งในองค์กรเกษตรกรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเกิดขึ้นได้จากการมีเป้าหมาย วิธีการทำงาน หรือการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกัน หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้เกิดการบั่นทอนประสิทธิภาพและความสามัคคีภายในองค์กรเกษตรก อย่างไรก็ตาม การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์จะสามารถเปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรเกษตรกรขึ้นได้ ซึ่งแนวทางการจัดการความขัดแย้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ การประสานประโยชน์ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเอาชนะ การหลีกเลี่ยงและการประนีประนอมโดยพิจารณาคุณค่าและผลลัพธ์ที่ได้รับจากแต่ละแนวทาง ทั้งในด้านการเสริมสร้างความสามัคคีพัฒนา แนวทางการแก้ปัญหาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมบรรยากาศในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาองค์กรเกษตรกรเกิดความยั่งยืน โดยอ้างอิงงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนบทวิเคราะห์ ทำให้บทความนี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการจัดการความขัดแย้งองค์กรเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารเกษตร มสธ. (Online)