วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo <p><strong>วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี</strong></p> <p>เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไปและแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผลงานในเชิงบูรณาการสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกให้กับปัญหาที่อยู่ในความสนใจของสังคม วารสารได้จัดตีพิมพ์ทั้งแบบตีพิมพ์ และแบบออนไลน์</p> <p><span style="background-color: #ffffff;">ISSN 2673-0413 (Online)</span></p> Thepsatri Rajabhat University Facuty of Humanities and Social Sciences en-US วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2673-0413 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็น</span>ลิขสิทธิ์ของ<span style="display: inline !important; float: none; background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; font-family: 'Noto Sans',Arial,Helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือ</span>ส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น</p> โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย: การทบทวนเรื่องผู้แต่ง จุดประสงค์ในการแต่ง และการศึกษาเส้นทางที่ปรากฏในนิราศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274336 <p> บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1. ทบทวนเรื่องผู้แต่ง 2. ทบทวนเรื่องจุดประสงค์ในการแต่ง และ 3. ศึกษาตัวบทโคลงนิราศเพื่อจัดเรียงลำดับใหม่ ผลการศึกษาพบว่า เจ้าฟ้าอภัยพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเป็นผู้นิพนธ์โคลงนิราศ โดยมีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อพรรณนาอารมณ์เศร้าจากการคิดถึงนาง และพรรณนาการเดินทางไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาสมอคอน จากการศึกษาตัวบทโคลงนิราศโดยการเรียงลำดับโคลงใหม่ พบว่า เส้นทางในการเดินทางเริ่มจากพระนครศรีอยุธยา เดินทางขึ้นเหนือ ไปตามลำน้ำลพบุรี ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ โพธิ์สามต้น เจ้าปลุก เมืองลพบุรี เขาสมอคอน เดินทางต่อไปยังพระพุทธบาทสระบุรี แล้วกลับลงมาทางใต้เข้าสู่บางโขมด บ้านโพแตง บางไทร เกาะพระ เกาะเรียน จากนั้นจึงถึงพระนครศรีอยุธยา โดยการเดินทางครั้งนี้เจ้าฟ้าอภัยอาจเดินทางเพื่อสำรวจเส้นทางสำหรับเตรียมการรบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างพระองค์ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระเจ้าอา) ที่ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช</p> ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 155 168 สังคมไทยในมุมมองของปรัชญาจารวาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274112 <p> บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังคมไทยในปรัชญาจารวาก สะท้อนลักษณะสังคมไทย ที่แตกต่างเต็มไปด้วยการทำงานอย่างรีบเร่ง สนุกสนาน มีสถานบันเทิงแหล่งอบายมุข การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ การเมืองมีแต่ผลประโยชน์พวกพ้อง และวัฒนธรรมประเพณีเป็นแค่เปลือกไม่มีความหมายเชิงคุณค่า เน้นเพียงวัตถุตามแนวคิดของปรัชญากลุ่มจารวาก หรือปรัชญาวัตถุนิยม ทำปัจจุบันให้อิ่มหนำ ส่วนตายไปแล้วหาไม่มีการเกิดอีก ไม่มีชาติหน้า จงกิน จงดื่ม และจงหาความสุขให้พอในชาตินี้ เพราะชาติหน้าไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ ดังนั้น ปรัชญาจารวากจึงเน้นการแสวงหาความสุขในปัจจุบันด้วยการกินดื่ม และเสพกาม เพื่อตอบสนองความสุขทางด้านร่างกายโดยไม่คำนึงถึงหลักศีลธรรม ทำให้เกิดแนวคิด เช่น วัตถุนิยม การเสพกาม การปรนเปรอร่างกายให้มีความสุขหรือสุขนิยม พวกประโยชน์นิยมหรือมองถึงประโยชน์ทางวัตถุที่จะได้จากอาชีพของตน เป็นต้น มุ่นเน้นการทำปัจจุบันให้มีความสุขโดยไม่สนใจชีวิตหลังความตายเพราะไม่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ในปัจจุบันตายแล้วก็จบ มุ่งเน้นเพียงวัตถุมากกว่าจิตใจ ทำความทุกข์ให้เบาบางสร้างสุขให้มากเท่านั้น</p> พระมหาธีรวีร์ พันธ์ศรี ละอองดาว ชาทองยศ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 169 186 “การวิเคราะห์ใหม่และการเทียบแบบ”: กลไกทางวากยสัมพันธ์บางประการที่ผลักดันกระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ในภาษาไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/273730 <p> บทความนี้กล่าวถึงกลไกทางวากยสัมพันธ์ที่นำไปสู่กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ซึ่งมีสองกลไกที่สำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์ใหม่และการเทียบแบบการวิเคราะห์ใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดโครงสร้างใหม่แทนที่โครงสร้างเก่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากการวิเคราะห์ใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับลึกที่เรามองไม่เห็น หรือเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ “ซุ่มเงียบ” ส่วนการเทียบแบบเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปภาษาหนึ่งที่ยึดรูปภาษารูปอื่นเป็นแบบอย่าง ทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับผิวของภาษาที่เห็นได้ชัดเจน จึงเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ “ปรากฏชัด” ทั้งนี้ การกลายเป็นรูปไวยากรณ์จะต้องมีการวิเคราะห์ใหม่ของคำเนื้อหา ได้แก่ คำนามและคำกริยา และมีการวิเคราะห์ใหม่ของหน่วยสร้างผลของการวิเคราะห์ใหม่ คือ คำเนื้อหากลายเป็นคำไวยากรณ์ และคำไวยากรณ์จะต้องสามารถเกิดร่วมกับคำประเภทต่าง ๆ ได้มากกว่าตอนที่ทำหน้าที่เป็นคำเนื้อหา ดังนั้น กลไกที่ทำให้คำไวยากรณ์สามารถเกิดร่วมกับคำอื่นได้ก็คือ การเทียบแบบ</p> สุวัฒชัย คชเพต ปัทมพล สถิตพงษ์ สุรศักดิ์ เขียวน้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 187 202 การเปรียบเทียบความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274459 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ และ 2. เปรียบเทียบความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1 กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถที่ 3 ตำแหน่งพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 366 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสามารถในการปรับตัว ทางอาชีพจำนวน 24 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measurement) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1 กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถที่ 3 มีความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก โดยด้านควบคุมตนเอง ทางอาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความใฝ่รู้ทางอาชีพ ด้านความมั่นใจทางอาชีพ และด้านความเอาใจใส่ทางอาชีพ ตามลำดับ โดยผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ จากการพิจารณาผลการวิเคราะห์ทดสอบความแตกต่างของความแปรปรวนจากการวัดความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพรายองค์ประกอบ พบว่า ความแปรปรวนของการวัดรายองค์ประกอบของความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพไม่เท่ากัน (Mauchly's W = 0.903, Sig. = 0.000) ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มจากค่า Greenhouse-Geisser พบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพรายองค์ประกอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 6.773, Sig= 0.000) และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ระหว่างกลุ่ม พบว่า พนักงานมีความสามารถในการควบคุมตนเองทางอาชีพ ความใฝ่รู้ทางอาชีพ และความมั่นใจทางอาชีพสูงกว่าความเอาใจใส่ทางอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> พนิดา พานิชวัฒนะ กมลทิพย์ ศรีหาเศษ วศิน นุชคง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 1 16 การศึกษาการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้สูงอายุเพศหญิง กรณีศึกษาคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274574 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้สูงอายุเพศหญิง กรณีศึกษาคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้คือ ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มาใช้บริการคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One Way ANOVA และการวิเคราะห์สมการถอดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการทดสอบสมมติฐาน คือ 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดบริการในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง แตกต่างกันตามปัจจัยการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และเขตที่อยู่อาศัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง แตกต่างกันตามจำนวนครั้งของการเข้าใช้บริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3. การตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง แตกต่างกันตามจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการและการตัดสินใจใช้บริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 5. ปัจจัยแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและการบริการสำหรับผู้สูงอายุต่อไป </p> พิมพาภรณ์ เชาว์ปรีชา สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-15 2025-01-15 15 3 17 32 การบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 721 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/272794 <p> การจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินของข้าราชการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 721 กรมทหารปืนใหญ่ ที่ 72 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหาร และศึกษาระดับการบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการทหารในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 721 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการกองพันทหารปืนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการกองพันทหารปืนใหญ่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการกองพันทหารปืนใหญ่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านความมีเหตุผล ด้านความรู้ และด้านมีคุณธรรม ซึ่งแนวทางในการแก้ไขจัดการหนี้สินของข้าราชการในกองพันทหารปืนใหญ่ มี 5 ประการ ได้แก่ หยุดก่อหนี้ สรุปรายการหนี้ทั้งหมด จัดทำรายละเอียดต่าง ๆ หาเงินก้อนมาปิดชำระ โดยเงินที่นำมาชำระต้องมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าก้อนที่ต้องการปิดชำระ รีไฟแนนซ์รวมหนี้ชำระเป็นก้อนเดียว และวางแผนชำระคืนเงินคงเหลือ พิจารณาจัดลำดับการผ่อนชำระหนี้ คำนวณเวลาใช้หนี้ทั้งหมด การจัดแผนการชำระหนี้ หากหนี้มีหลายรายการให้พิจารณาเลือกยอดที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน </p> ภัสทรกวิณ เพราะทะ วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์ มยุรี รัตนเสริมพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 33 50 การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยของกลุ่มงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/272861 <p> การวิจัยมุ่งศึกษา 1. สภาพการณ์และปัญหาการไกล่เกลี่ยของกลุ่มงานสอบสวน และ 2. แนวทางการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยของกลุ่มงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 11 ข้อ และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. การไกล่เกลี่ยของกลุ่มงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรศรีเทพ ต้องมีเหตุการณ์ แจ้งความร้องทุกข์เกิดขึ้นก่อน โดยมีกระบวนการ 1) ก่อนการไกล่เกลี่ย 2) ระหว่างไกล่เกลี่ย และ 3) หลังการไกล่เกลี่ย และ 2. แนวทางการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในการไกล่เกลี่ย ประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้าใจและรับฟังความต้องการของคู่กรณี 2) การจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะการไกล่เกลี่ยให้กับพนักงานสอบสวน และ 3) การจัดหาสถานที่ไกล่เกลี่ยที่สะดวกและเหมาะสม </p> ณัฐพล เสนวงษ์ มยุรี รัตนเสริมพงศ์ วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 51 64 การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274021 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษาของสถานศึกษา และ 2. เปรียบเทียบการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษาของสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน วิทยฐานะ ขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 126 คน และครู จำนวน 190 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามจำนวน 42 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้การทดสอบเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2. ผลการเปรียบเทียบการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและวิทยฐานะ ในภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามเพศอายุ ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา ภาพรวมไม่แตกต่างกัน </p> สิทธิชัย แสงสิทธิ์ ภูวดล จุลสุคนธ์ สรรชัย ชูชีพ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 65 80 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274447 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 254 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 67 ข้อ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ และแบบประเมิน จำนวน 37 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากค่ามากที่สุดไปค่าน้อยที่สุด ดังนี้ การบริหารทรัพยากร การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ การสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การ และคุณธรรมในการปฏิบัติงาน 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบจากแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และกระบวนการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการพัฒนาตนเอง ผลผลิตและผลย้อนกลับ และ 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด </p> รัชวิน โปร่งสูงเนิน วินัย ทองภูบาล สฎายุ ธีระวณิชตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 81 94 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/273556 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 และ 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ สถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 296 คน ที่ได้จากการสุ่มโดยกำหนดสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ 2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ สถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ </p> รัฐภูมิ ยวงทอง ชูชาติ พยอม ภูวดล จุลสุคนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 95 108 การศึกษาจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/270006 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างจิตสำนึกทางสังคมกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. ศึกษาจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 473 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจิตสำนึกทางสังคมกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 43 ข้อ และแบบสอบถามจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 71 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. จิตสำนึกทางสังคมมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีจิตสำนึกทางสังคมอยู่ในระดับมาก </p> อิ่มจิตร หมวดแร่ ชัยรัตน์ โตศิลา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 109 122 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง การสถาปนากรุงธนบุรี โดยใช้เทคนิคการสอนด้วยเกมเป็นฐาน (Game-based Learning) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนหนองแซงวิทยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/271393 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานเรื่องการสถาปนากรุงธนบุรี เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เทคนิคการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนหลังการใช้เทคนิคการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนหนองแซงวิทยา ภาคเรียนที่ 1/2566 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจเป็นมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาแผนการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 18.40, S.D.= 1.44) สูงกว่าก่อนเรียน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 12.50, S.D.=2.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการใช้เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้เทคนิคเกมเป็นฐานอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.50, S.D= 1.55) </p> ปนัดดา พาณิชยพันธุ์ อภิสิทธิ เบ็ญระเหม สุธิมา เกิดทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 123 138 การกระชับอำนาจของสยามในพื้นที่อีสานหลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274133 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสำคัญของกบฏเจ้าอนุวงศ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองของสยามในพื้นที่อีสาน และ 2. เพื่อศึกษาการดำเนินการขยายอำนาจของสยามในพื้นที่อีสานหลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ทำให้สยามตระหนักถึงปัญหาความอ่อนแอของอำนาจ การปกครองเหนือพื้นที่อีสาน อันเนื่องมาจากโครงสร้างการเมืองที่เปราะบางและการขาดเสถียรภาพที่มั่นคง โดยเฉพาะปัญหาความเป็นอิสระของกลุ่มอำนาจท้องถิ่น ความขัดแย้งในด้านเหตุผลส่วนตัวและการแย่งชิงผลประโยชน์ นำมาซึ่งความอ่อนแอของระบบการบังคับบัญชากลุ่มอำนาจท้องถิ่นและการป้องกันตนเองเมื่อเกิดภาวะคับขัน ทำให้สยามปรับเปลี่ยนนโยบายการปกครองเพื่อกระชับอำนาจด้วยการแทรกแซงและควบคุมพื้นที่อีสานอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งในด้านการจัดการด้านพื้นที่ เช่น การปรับปรุงขอบเขตอำนาจของเมืองต่าง ๆ การจัดการควบคุมการตั้งเมืองโดยตรง การสร้างดุลอำนาจในพื้นที่อีสาน รวมถึงการจัดการด้านกลไกการปกครอง เช่น การส่งขุนนาง จากส่วนกลางเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ การตรวจสอบกำลังคน และการจัดการกับระบบส่วย การกระชับอำนาจดังกล่าวเป็นพื้นฐานที่จะปูทางไปสู่การผนวกพื้นที่อีสานเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ในช่วงเวลาต่อมา </p> ประวิทย์ สายสงวนวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 15 3 139 154