นวัตกรรมการตรวจสอบข้อมูลรถด้วยการรู้จำป้ายทะเบียนอัจฉริยะด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพบนแอปพลิเคชันไลน์
คำสำคัญ:
การรู้จำป้ายทะเบียน, นวัตกรรมอัจฉริยะ, นวัตกรรมตรวจสอบข้อมูลรถภาคสนาม, ไลน์บ๊อต, คลาวด์โอเพิ่นเอแอลพีอาร์บทคัดย่อ
บทความนำเสนอต้นแบบการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมตรวจสอบข้อมูลรถผ่านการประมวลผลภาพป้ายทะเบียนรถ ด้วยเทคนิคการรู้จำป้ายทะเบียนจากบริการคลาวด์โอเพนเอแอลพีอาร์ (Openalpr) ผสานกับเทคโนโลยีบอทโต้ตอบอัจฉริยะ การค้นคืนข้อมูลรถเพื่อการตรวจสอบและติดตามรถและผู้ขับจากฐานข้อมูลโจรกรรมรถ และฐานข้อมูลอาชญกร เพื่อป้องกันและปราบปรามการสวมทะเบียนรถ การโจรกรรมรถไปขายต่อและก่อการร้าย นวัตกรรมอำนวยความสะดวกเจ้าพนักงานและเครือข่ายประจำด่านตรวจสำหรับส่งการแจ้งเตือนผ่านไลน์กลุ่มเพื่อตรวจสอบและสกัดจับรถต้องสงสัย ทดลองวัดประสิทธิภาพการรู้จำป้ายทะเบียนรถโดยถ่ายภาพป้ายทะเบียนที่ระยะห่าง 5 ระยะตั้ง 1 ถึง 5 เมตรและ 3 มุม จำนวน 100 ภาพต่อระยะ (มุม) รวม 800 ภาพต่อ1 รอบการทดลอง ค่าเฉลี่ยการรู้จำฯ ถูกร้อยละ 73.2 ระยะห่างที่ความถูกต้องสูงสุดคือ ระยะ 2 เมตร ส่วนการถ่ายภาพเอียงซ้ายและเอียงขวา (ที่ระยะห่าง 2 เมตร) ค่าเฉลี่ยการรู้จำฯ ถูกร้อยละ 55 ส่วนประสิทธิภาพเชิงเวลาค้นคืนข้อมูลรถ (Throughput) เฉลี่ยเท่ากับ 2.34 วินาที โดยทำการทดสอบซ้ำ 3 รอบเพื่อความน่าเชื่อถือและความเที่ยง จำนวนภาพป้ายทะเบียน 2,400 ภาพ
References
Chayapol Moemeng. (2561). “วิเคราะห์ป้ายทะเบียนรถ ด้วย OpenALPR และ Python” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://mchayapol.medium.com/วิเคราะห์ป้ายทะเบียนรถ-ด้วย-openalpr-และ-python-8f9eb21cd0bf
Nattapon Sirikamonnet. (2561). “สร้าง LINE BOT กันเถอะ (เริ่มต้น + reply message)” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://medium.com/@nattapon sirikamonnet/สร้าง-bot-ด้วย-line-messaging-api-d7de644ac892
ไลน์ประเทศไทย. “เว็บไซต์การสมัครแอคเคาน์ไลน์” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://account.line.biz/login?redirectUri=https%3A%2F%2Fdevelopers.line.biz%2Fconsole%2Fchannel%2F1653930752%2Fbasics
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). สถิติของสำ นักงานตำรวจแห่งชาติตัวเลขสถิติข้อมูลรถหายปี 2555. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.royalthaipolice.go.th/
กิตติพงศ์ เงินถาวร, เชษฐพงศ์ ปาณวร, ศุภสิทธิ์ หวังไพโรจน์กิจ.(2549). ระบบตรวจสอบวัตถุด้วยการประมวลผลภาพ. โครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรการ ดวงผาสุก. (2545). การรู้จําตัวอักษรภาษาไทยโดยวิธี ลักษณะเด่นของตัวอักษรและโครงข่ายประสาทเทียมแบบ ART1. วิทยานิพนธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กรุงเทพมหานคร.
วศิน สินธุภิญโญ และคณะ. (2546). ระบบรักษาความปลอดภัย และคิดค่าจอดรถในที่จอดรถ. อนุสิทธิบัตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
สมยศ ทองแถบ (2554). การประยุกต์ระบบตรวจสอบแบบผสมสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยลานจอดรถยนต์. ภาควิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสารสนเทศศาสตร์วิทยาลัยนครราชสีมา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว