การแสดงผลและวิเคราะห์ทิศทางการไหลของน้ำบาดาลโดยใช้โปรแกรมอาร์ กรณีศึกษา: อำเภอบ้านนา และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • พ.อ.ผศ.ดร.พงศ์พันธุ์ จันทะคัต กองวิชาวิศวกรรมโยธา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • พ.อ. ณัฏฐชัย ปัญญาใส สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
  • ดร.เยาวเรศ จันทะคัต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ดร.แอน กำภู ณ อยุธยา ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ทิศทางการไหลของน้ำบาดาล, ความลาดชันชลศาสตร์, โปรแกรมอาร์, จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

น้ำบาดาลเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้มีความต้องการน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรกรรมที่มากขึ้น การประเมินศักยภาพพื้นที่ของน้ำบาดาลเพื่อการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้น้ำในปัจจุบัน วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้คือการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมภาษาอาร์ (Program R) เพื่อการแสดงผลและวิเคราะห์ทิศทางการไหลและความลาดชัน        ชลศาสตร์ของน้ำบาดาล ในพื้นที่กรณีศึกษาอำเภอบ้านนา และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นในการประเมินพื้นที่สำหรับการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ผลการศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถช่วยให้รู้ถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล โดยจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่บริเวณทางทิศใต้ของอำเภอบ้านนา และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล อันเนื่องจากมีทิศทางการไหลและความลาดชันชลศาสตร์ที่สูงกว่าของน้ำบาดาลไปยังพื้นที่บริเวณทางทิศใต้ของพื้นที่ศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องมือของการศึกษาดังกล่าวนี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านการจัดการน้ำบาดาลได้อีกหลายด้าน เช่น การค้นหาพื้นที่ที่เหมาะสมของการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล การวางแผนป้องกันและบำบัดการปนเปื้อนของน้ำบาดาลที่ไหลผ่านพื้นที่ฝังกลบขยะ และเหมืองแร่ เป็นต้น

References

จุฑาทิพย์ อ้อมกิ่ง. (2557). การปนเปื้อนสารมลพิษในน้ำบาดาลบริเวณเขตอุตสาหกรรมและสถานที่ฝังกลบมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฉัตรชัย โชติษฐยางกูร และคณะ. (2562). รูปแบบการกักเก็บน้ำใต้ดินเพื่อบรรเทาภาวะแห้งแล้งในลุ่มน้ำมูลตอนบน (Groundwater harvesting patterns for mitigating drought in the upper Mun River Basin). รายงานการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Milan, C. and Lubomir, C. (2015). Using R in Water Resources Education. International Journal for Innovation Education and Research. ISSN 2411-2933, 3(10),97-117.

Louise, J.S., Guillaume, T., Shaun, H., Olivier, D., Alexander, H., Abdou, K., Ilaria, P., Claudia, V., & Katie, S. (2019). Using R in hydrology: a review of recent developments and future directions. Hydrology and Earth System Sciences, 23, 2939-2963.

Department of Nakhonnayok Province. (2018). Nakhonnayok Province of Annual Report. Ministry of Interior, Thailand. 2016.

Department of Groundwater Resources. (2020). Groundwater report. Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand. Retrieved May 5, 2020, from http://www.dgr.go.th/th/home

Milovan, B., Randall, R. R., & Steven, D. A. (2014). 3PE: A tool for estimating groundwater flow vectors. United States Environmental Protection Agency (EPA). EPA600/R-14/273.

Wayne R. J. et al. (2014). A software tool for the spatiotemporal analysis and reporting of groundwater monitoring data. Environmental Modelling & Software, 55, pp. 242-249.

Jones, W.R., Spence, M.J., & Bonte, M. (2015). Analyzing Groundwater Quality Data and Contamination Plumes with GWSDAT. Ground Water. 53(4), 513-514.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021