การเฝ้าติดตามไฟป่าแบบใกล้เวลาจริงด้วยกูเกิลเอิร์ธเอนจิน
คำสำคัญ:
กูเกิลเอิร์ธเอนจิน, จุดความร้อนของไฟป่า, ภาพถ่ายดาวเทียม, แบบใกล้เวลาจริงบทคัดย่อ
สถานการณ์ไฟป่าของประเทศไทยในปัจจุบันมีการเพิ่มความรุนแรงและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเฝ้าติดตามไฟป่าแบบใกล้เวลาจริงเป็นข้อมูลที่มีค่าและประโยชน์เพื่อการจัดการและการบรรเทาสาธารณภัยเป็นอย่างมาก การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้กูเกิลเอิร์ธเอนจิน (Google Earth Engine: GEE) เพื่อการเฝ้าติดตามและวิเคราะห์พื้นที่ไฟป่าโดยการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS จากฐานข้อมูล Fire Information for Resource Management System (FIRMS) ขององค์กร National Aeronautics and Space Administration (NASA) การศึกษานี้ได้มุ่งเน้นการนำเสนอการใช้กูเกิลเอิร์ธเอนจินแพลตฟอร์มเพื่อการประเมินและแสดงผลจำนวนครั้งและจำนวนผลรวมสะสมของจุดความร้อน (Hotspot) ในแบบใกล้เวลาจริงและอัตโนมัติ โดยสามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่สนใจได้และกำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการได้ ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษานี้ยังสามารถแสดงผลเชิงพื้นที่ที่เกิดจุดความร้อนบ่อยครั้งได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเฝ้าระวังและการวางแผนป้องกันการเกิดไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าว ในการศึกษานี้ได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้งานแพลตฟอร์มโดยการเปรียบเทียบกับตำแหน่งอ้างอิงของเหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นจริง ในปี พ.ศ.2563 ได้แก่ 1) พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก และ 2) พื้นที่อำเภอพร้าว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีความถูกต้องโดยรวมเท่ากับร้อยละ 82.86, 64.38 และ 80.52 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แคปปาของความสอดคล้องเท่ากับ 0.66, 0.61 และ 0.62 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความสอดคล้องระดับดี ดังนั้นการใช้งานกูเกิลเอิร์ธเอนจินแพลตฟอร์มเพื่อการเฝ้าติดตามไฟป่าแบบใกล้เวลาจริงและอัตโนมัติ สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าได้เป็นอย่างดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว