การบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสภาพลำน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พล.ท.ดำรงค์ คงเดช หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

คำสำคัญ:

การบูรณาการความร่วมมือ, ฟื้นฟูสภาพลำน้ำอย่างยั่งยืน, คลองแม่ข่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสภาพลำน้ำคลองแม่ข่า  จ.เชียงใหม่ และเพื่อศึกษาปัจจัยของการบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสภาพลำน้ำของคลองแม่ข่า โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งการศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการระดมความคิดเห็นด้วยวิธีการอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus group discussion) ตลอดจนการจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มตัวอย่าง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stake holder) จำนวนทั้งสิ้น 54 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัญหาลำน้ำคลองแม่ข่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นหลัก ส่งผลกระทบให้สภาพน้ำเกิดการเน่าเสีย คุณภาพน้ำต่ำ ระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง ดังนั้น การฟื้นฟูลำน้ำคลองแม่ข่าจึงต้องอาศัยการบูรณาการความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อทำการฟื้นฟูและแก้ไขสภาพทางกายภาพควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกของประชาชน ทั้งนี้การบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสภาพลำน้ำของคลองแม่ข่าครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดีนั้น เป็นผลมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งด้านทรัพยากรบุคคลในทุกระดับ ด้านงบประมาณที่มีการระดมทุนจากทุกภาคส่วน ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทั้งจากภายนอกและภายในพื้นที่ และด้านวิธีปฏิบัติงานด้วยการประสานงาน ที่ก่อให้ความคล่องตัวในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยนี้ คือ ควรเผยแพร่บทเรียนความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไปสู่การฟื้นฟูลำน้ำที่มีสภาพปัญหาคล้ายคลึงกันในพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งควรมีการขยายความร่วมมือเชิงบูรณาการไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านอื่น ๆ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีประสิทธิภาพอย่างกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนควรให้ความสำคัญต่อการปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

References

ภาษาไทย
หนังสือ
การพัฒนาชุมชน, กรม, กระทรวงมหาดไทย. บทบาทของกรมการพัฒนาชุมชนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร. บพิธการพิมพ์, 2539.
คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ. กรุงเทพมหานคร : มปพ., 2558.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม. กรุงเทพมหานคร : มาสเตอร์เพรส, 2531.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนแม่บทในการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ. หนังสือวันชูชาติ, กรุงเทพมหานคร : กรมชลประทาน, 2540.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จํากัด, 2550.
วรนุช อุษณกร. ในหลวงกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2540.
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, สำนักงาน. แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่, 2540.
อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคม และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภาการพิมพ์., 2527
อภิชาต อนุกูลอำไพ. การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.วี. ออฟเซ็ต, 2546.
วารสารและหนังสือพิมพ์
ทิพวรรณ กิตติวิบูลย์. “การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน”.
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 7 เล่มที่ 1, มกราคม - มิถุนายน 2554, หน้า 60 – 71.
วิทยานิพนธ์
เกษม จันทร์แก้ว และคนอื่นๆ. “การศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาการจัดการลุ่มน้ำต่อสิ่งแวดล้อมของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์วนศาสตร์มหาบัญฑิต, สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532.
ยุพาพร รูปงาม. “การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูป ระบบราชการ”.
ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2545.
รุจ กสิวุฒิ. “บทบาทกองทัพไทยในการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ” . วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขารัฐประศาสศาสตร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.
เอกสารไม่ตีพิมพ์
คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, สำนักงาน, สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. “กระแสพระราชดำรัสในการจัดการทรัพยากรน้ำ”. ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานจัดการทรัพยากรน้ำ : ม.ป.ท., 2539.
ดิเรก ทองอร่าม.“ยุทธศาสตร์การพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”. เอกสารประกอบการ-ศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎ-พระนคร, 2547.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. “การบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน”. เอกสารโรเนียวประกอบการบรรยายเรื่อง การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.
ยุทธการ, กอง, หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. “คู่มือผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา”. กรุงเทพมหานคร : มปพ., 2554.
พัฒนาภาค 3, สำนักงาน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. “เอกสารประกอบการบรรยายสรุปการปฏิบัติงานโครงการขุดลอกคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา จังหวัดเชียงใหม่”. อัดสำเนา, 2562.
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ควบคุมมลพิษ, กรม. “คู่มือสําหรับการทํากิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแม่น้ำ”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://infofile.pcd.go.th/water/Water_manualGEC., 2564.
ไทยรัฐ. “แฉแหล่งน้ำไทย 25% คุณภาพเสื่อมโทรม”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/590331 , 2564.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. “ทางออกการบริหารจัดการน้ำของไทย”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2014/03/water-management-solutions/, 2564.
เสกสรร สิทธาคม. “น้ำคือชีวิต”พระราชดำริรัชกาลที่ 9 ที่เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนอย่างยั่งยืน”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/n/6774, 2564.
สุทิน ลี้ปิยะชาติ. “เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท : แนวพระราชดำริและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่อง น้ำ”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.siamrath.co.th/web/?q=เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท - แนวพระราชดำริและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่อง น้ำ”, 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021