ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 กรณีศึกษา หน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ที่ 4 สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
คำสำคัญ:
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1, การเจริญเติบโตของพืช, ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ที่ 4 สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พื้นที่ตั้งอยู่ในอำเภอท่าแซะและเขตติดต่อกับอำเภอปะทิว โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ทั้งปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยด้านพันธุกรรม และปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีลักษณะภายนอกที่มีลำต้นมีข้อและปล้องชัดเจน เจริญเติบโตเร็ว แตกกอดี ทนแล้ง ตอบสนองต่อน้ำและปุ๋ยดี ปรับตัวได้ดีในดินหลายสภาพ ปัจจัยภายนอกของพื้นที่ศึกษา ปัจจัยภายนอกเรื่องดิน มีชุดดินเป็นชุดดินที่ 51C คือ ชุดดินคลองเต็ง มีความลาดชันระดับร้อยละ 5-12 ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้มีค่าความเป็นกรดอ่อน ควรใช้ปูนขาวในการปรับสภาพดิน 0.5 ตัน/ไร่ ปัจจัยภายนอกเรื่องธาตุอาหาร มีปริมาณที่ต่ำถึงต่ำมาก ควรเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้ว อัตราส่วน 2,000-4,000 กิโลกรัมแห้งต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตราส่วน 20 กิโลกรัมต่อไร่ และหลังแต่งตอ 2 สัปดาห์ ให้ปุ๋ยอัตราส่วน 20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังตัดแต่งตอ 1 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตราส่วน 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 21-0-0 อัตราส่วน 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2 เดือน อัตราส่วน 20 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัยภายนอกเรื่องน้ำ พบว่าปริมาณน้ำในดินมีน้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ลาดชัน และดินเป็นดินเหนียวปนทรายไม่อุ้มน้ำ รวมถึงได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำในดิน เช่น การระเหยของน้ำในดิน และการนำน้ำในดินไปใช้ ปัจจัยเรื่องแสง อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เมื่อวิเคราะห์แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวมตลอดทั้งปีของจังหวัดชุมพร คือ 1678.2 มม.ต่อปี แม้จะมีปริมาณเพียงพอต่อการเจริญเติบโต แต่เมื่อฝนขาดช่วงเป็นเวลานาน พืชขาดน้ำ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มขนาดของเซลล์ ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตเป็นผลให้พืชแคระแกร็น
การจัดการปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งนี้เมื่อปัจจัยภายในสามารถควบคุมได้แล้ว โดยการเลือกใช้สายพันธุ์ที่ดี จึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และปรับปรุงความเป็นกรด-ด่าง จะส่งผลต่อระเหยของน้ำในดินและการดูดน้ำไปใช้ของพืช ด้านปัจจัยของแสงและอุณหภูมิไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตโดยตรง แต่ส่งผลต่อการระเหยของปริมาณน้ำในดิน ซึ่งหากมีการปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ การระเหยของน้ำในดินจะลดลง และควรมีการจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงต่อต่อการเจริญเติบโต
References
lddeis/SoilView.aspx สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยของประเทศไทย. แหล่งที่มา :
http://www2.dede.go.th/solarmap/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2564. ภูมิอากาศจังหวัดชุมพร. แหล่งที่มา : http://climate.tmd.go.th/data/province/
ใต้ฝั่งตะวันออก/ภูมิอากาศชุมพร.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
ไกรลาศ เขียวทอง และคณะ. 2556. คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. ศูนย์บริการข้อมูลโครงการศึกษา
วิจัยต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน (ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน)
คณิต โชติกะ. การคำนวณการใช้น้ำของพืช การคำนวณฝนใช้การ. โครงการฝึกอบรมยกระดับการ
ปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 9 สืบค้นเมื่อวันที่
29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
วิรัช สุขสราญ, ประเสริฐศักดิ์ นันทชมชื่น และจีรพัฒน์ วงศ์พิพัฒน์. 2542. ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมี
ของหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่ต่าง ๆ อิทธิพลของระยะตัดที่มีต่อผลผลิตและส่วน ประกอบทางเคมีของ
หญ้าเนเปียร์ 3 สายพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2542. กองอาหารสัตว์
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สถานีอุตุนิยมวิทยาชุมพร. 2563. ข้อมูลรายวันปริมาณฝน ปี พ.ศ.2563
สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร และ สมยศ เดชภิรัตนมงคล. 2558. ผลของระดับของการให้น้ำชลประทานที่มีต่อ
การเจริญเติบโต และผลผลิตของหญ้าหวาน. แก่นเกษตร 43 ฉบับพิเศษ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โสฬส แซ่ลิ้ม. 2559. ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรียวัตถุ
กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. 2560. การปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. แหล่งที่มา :
http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/article-dld/2625-1-5-2560 สืบค้น
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ลักษณะและสมบัติของชุดดิน.
แหล่งที่มา : http://oss101.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/south/Klt.htm สืบค้นเมื่อ
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
สำราญ วิจิตรพันธ์ และพรชัย ล้อวิลัย. 2554 อิทธิพลของอายุการตัดที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะ
ของหญ้าเนเปียร์ยักษ์ ภายใต้การให้น้ำชลประทาน. วารสารวิจัย มข. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แหล่งที่มา : http://resjournal.kku.ac.th/abstract/16-3-215.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม
พ.ศ.2564
อภินันท์ กำนัลรัตน์ และคณะ. 2543. หลักการกสิกรรม. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. แหล่งที่มา : http://natres.psu.ac.th/ Department/
plantscience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter09/agri_09.htm
Ames, M., & Johnson, S.W. (n.d.) A review of factors affecting plant growth. Retrieved from
https://www.hydrofarm.com/resources/articles/factors_plantgrowth
Techawongstien, S. (n.d.) Factors affecting plant growth and development. Retrieved from
https://ag.kku.ac.th/suntec/134101/134101 Factors affecting G-D (note).pdf (in thai)
Wilman, D. and Asiegbu J.W. 1982. The effect of clover variety, cutting interval and nitrogen
application on herbage yield, proportions and heights in perennial rye grass - white
clover swards. Grass and Forage Sci.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว