โรคระบาดในไทย อหิวาต์แอฟริกาในสุกร

ผู้แต่ง

  • Pornnipa Pongern -

คำสำคัญ:

โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร, โรคระบาดในสุกรในประเทศไทย

บทคัดย่อ

โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรถือเป็นโรคระบาดที่ทุกคนให้ความสำคัญในปัจจุบันเป็นอย่างมาก แม้จะไม่เป็นโรคสัตว์สู่คน แต่จัดเป็นโรคระบาดรุนแรงที่อยู่ในลำดับขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เนื่องจากมีอัตราการป่วยและตายสูงเกือบ 100%  รวมถึงยังไม่มีวัคซีนในการควบคุมป้องกันโรคและยารักษาโรคที่จำเพาะ โดยรายงานพบโรคครั้งแรกในแถบแอฟริกาตะวันออก และถือเป็นโรคประจำถิ่นในแถบภูมิภาคแอฟริกา การระบาดเริ่มค้นพบเพิ่มมากขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน ได้แก่ พม่า เวียดนามและกัมพูชา จนกระทั้งมีการระบาดครั้งใหญ่ในปัจจุบันในช่วงมิถุนายน-กันยายน 2564 เริ่มระบาด ที่จังหวัดสระแก้ว โดยโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรเป็นโรคที่ควบคุมยากจากการแพร่กระจายที่ของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เชื้อมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค การจะทำให้ประเทศปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรจึงต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังโรคและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการจำกัดการเคลื่อนย้ายสัตว์ และการคัดทิ้งสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามการเพิ่มศักยภาพในการควบคุม และป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการเตรียมความพร้อมในกรณีที่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น เพิ่มความปลอดภัยทางด้านอาหารที่ได้มาจากสัตว์ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมู

References

สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์. แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และแนวทางเวชปฎิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร. 2562. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

- Blome S., Franzke K. and Beer M. 2020. African swine fever – A review of current knowledge. Virus Research 287 (2020). 198099.

- FAO. 2007. African Swine Fever in Georgia. EMPRES WATCH - Emergency Prevention System (June 2007). Food and Agriculture Organization of the United Nations

- FAO. 2009. African Swine Fever. Chapter 15.1 Terrestrial Animal Health Code World Organisation for Animal Health, Paris, France.

- FAO. 2017. African Swine Fever:Detection and Diagnosis. A manual for veterinarian. FAO Animal Production and Health Manual. Rome. No. 19

- FAO. 2022. ASF situation in asia and Pacific update. Animal Production and Health. Available from: FAO ASF situation update - African Swine Fever (ASF) - FAO Emergency Prevention System for Animal Health (EMPRES-AH).

- Galindo I. and Alonso C. 2017. African Swine Fever Virus: Review. Available from: https://www.mdpi.com/1999-4915/9/5/103.

- Guinat C., Gogin A., Blome S., Keil G., Pollin R., Pfeiffer D.U. and Dixon, L. 2016. Transmission routes of African swine fever virus to domestic pigs: current knowledge and fu¬ture research directions. The Veterinary record 178(11), 262-267.

- OIE. 2019. African swine fever (infection with African swine fever virus). OIE Technical Disease Cards. OIE Scientific and Technical Department. Available from: https://www.oie.int/fileadmin/Home/eng/Animal_Health_in_the_World/docs/pdf/Disease_cards/AFRICAN_SWINE_FEVER.pdf

- OIE. 2021. African swine fever (ASF) situation. World Animal Health Information System of the World Organisation for Animal Health (OIE-WAHIS). Available from: https://www.oie.int/app/uploads/2021/12/report-65-current-situation-of-asf.pdf

-Thomson, G. 1985. The epidemiology of African swine fever: the role of free-living hosts in Africa. Onderstepoort Journal of Veterinary Research 52, 201-209.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022 — Updated on 11-05-2022

Versions