แนวทางลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือนเกษตรไทยหลังวิกฤติโควิด-19
คำสำคัญ:
เหลื่อมล้ำ, รายได้, เกษตรบทคัดย่อ
สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยถึงแม้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ภาคเกษตรกรรมของไทยยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง เนื่องจากครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง มีการศึกษาต่ำ ทัศนคติในการทำการเกษตรยังเป็นแบบดั้งเดิม ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรการเกษตรทั้งที่ดินและชลประทาน อีกทั้งยังได้ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกทั้งจากราคาน้ำมัน กระแสโลกาวิตน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวเร่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือนเกษตรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของครัวเรือนเกษตรในระยะยาวเพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคเกษตรภายหลังวิกฤติโควิด-19 ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและทั่วถึง พัฒนาทักษะของเกษตรกรให้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อให้เกษตรกรก้าวสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพสามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาดอย่างครบวงจรเท่าทันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค สนับสนุนเกษตรกรในการปรับตัวโดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรทั้งที่ดิน แหล่งน้ำ ระบบโลจิสติกส์ ช่องทางการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร และควรเพิ่มการพัฒนาทักษะและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยเงินทุนและมาตรการภาษีที่ดึงดูดและจูงใจในการทำธุรกิจเกษตร
References
ไทยพับลิก้า. (2563). ความเหลื่อมล้ำไทย ทำไมไม่เท่าเทียม (3) : ความเหลื่อมล้ำระดับอาชีพ เมื่ออาชีพ
เดียวกันรายได้ไม่เท่ากัน. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2020/01/bot-report-
inequality03/.
ณัฎฐภัทร์ กิ่งเนตร และณัฐนรี มณีจักร. (2562). ความเหลื่อมล้ำมิติอาชีพของไทย : กรณีศึกษาอาชีพเกษตร.
สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA
/Inequality_4GiniCoefficient.PDF.
ยุคล ลิ้มแหลมทอง. (2563). เกษตรกรไทย 2573. สถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริม
ทบวงมหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://www.knit.or.th/web/?p=35123.
ลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ. (2564). เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร. KKP Research,
April 21, 2021. สืบค้นจาก https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-
lifestyle/money/economic-trend/inequality-situation-in-thailand.
สมชัย จิตสุชน. (2558). รายงานการวิจัย “ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย : แนวโน้ม นโยบาย และแนวทาง
ขับเคลื่อนนโยบาย”. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/wp-
content/uploads/2017/06/Synthesis-Report-Year-2-Inclusive-Growth.pdf.
เสาวนีย์ จันทะพงษ์ และพรชนก เทพขาม. (2561). นวัตกรรมการเกษตร : ทางออกปัญหาความเหลื่อมล้ำของ
ไทย ตอน 1. บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_11Apr2018.pdf.
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และคณะ. (2562). ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน?.
ธนาคาร แห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications
/articles/Pages/Article_26Sep2019.aspx.
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และคณะ. (2563). ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย
อึ้งภากรณ์. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/?post_type=abridged&p=7615.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยจาก
โรคติดต่อเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) และข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรภายใต้
แผนยุทธศาสตร์ชาติตามสถานการณ์ ของคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา. สืบค้นจาก
https://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext85/85843_0001.PDF.
สำนักงานสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและ
เหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นจาก http://social.nesdc.go.th/social/Default.aspx
?tabid=128&articleType=ArticleView&articleId=243.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว