ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัตน์ติยากร สียอด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต4 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่นและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่มาปฏิบัติหน้าที่ ณ อาคารสำนักงานสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่น ใช้วิธีการคัดเลือกแบบแบบเจาะจงจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านบุคลากรมีไม่เพียงพอมากที่สุด จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงมาด้านการวางแผนในการปฏิบัติงานจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 45.2 และน้อยที่สุดด้านอื่น ๆ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 ขอนแก่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของงานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย= 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.69) รองลงมา ด้านค่าใช้จ่าย มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย= 4.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.80) และน้อยที่สุดด้านปริมาณงาน มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ มาก  (ค่าเฉลี่ย= 3.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.72)

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23 (2): 209-222.

ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

นิภาวรรณ วังคะวิง. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จากhttps://www.km.nida.ac.th/th/all-category/research-menu/71-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80

พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2): 3-12.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12 (2): 50-61.

ลีน่า พอนมาเจดี และเสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2555). สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไขการบริหารงานบุคลากรในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. วารสารศึกษาศาสตร์. 5 (3): 87-96.

วิไลวรรณ อิศรเดช และพระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (4): 413-425.

สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 4 ขอนแก่น. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.dgr.go.th/bgr4/th/about/143

อุษคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 3 (2): 59-70.

เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต. 20 (1): 64-77.

Mathis, R.L., & Jackson, J.H. (2008). Human Resource management (12th ed.). South-Western: Thomson.

Peterson, E. & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwi

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022