การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สำหรับประชาชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

Authors

  • ภาณุพงศ์ สามารถ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบ ยั่งยืน, รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ, รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม, รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ, The models of sustainable tourist attraction management, Natural based tourism, Natural attraction touri

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 2) สภาพ ปัญหาของแหล่งท่องเที่ยว 3) รูปแบบการจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ที่พึงประสงค์สำหรับประชาชน 4) พัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ที่ พึงประสงค์สำหรับประชาชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้า คณะอำเภอ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ตำบลเกาะช้าง สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและแกนนำหมู่บ้าน จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่มและ ประเด็นการระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิ เคราะห์เนื้อหา และนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. บริบทชุมชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด พบว่า บริบทชุมชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ลักษณะ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ประชาชนและโครงสร้างพื้น ฐานที่เหมาะสม มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้ คือ ประเภทหาดทราย มี 14 แห่ง ประเภท น้ำตก มี 7 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม มี 4 แห่ง และกิจกรรมการท่องเที่ยว มี 5 ประเภท

2. สภาพปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยว พบว่า 1) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบโครง สร้างพื้นฐาน2) ระบบโครงสร้าง 3) การบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และแผนป้องกัน รักษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ 4) การป้องกันและรักษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล 5) การรักษามาตรฐานการบริการ ระบบป้องกันช่วย เหลือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและกลไก บริหารจัดการ 6) สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิต 7) อาชีพท้องถิ่น และรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น และ 8) การพัฒนาการท่องเที่ยว

3. รูปแบบจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ พึงประสงค์สำหรับประชาชนพบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ 2) รูปแบบ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม และ 3) รูปแบบการ ท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ

4. การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยว แบบยั่งยืนที่พึงประสงค์สำหรับประชาชน พบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใน แหล่งธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) การพัฒนารูปแบบการ ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และการท่อง เที่ยวงานชมวัฒนธรรม ประเพณี และ 3) การพัฒนา รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ ประกอบ ด้วย 4 รูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่อง เที่ยวแบบผจญภัย การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และ กิจกรรมการท่องเที่ยว


A Development of Sustainable Tourist Attraction Management Models for People, Amphoe Ko Chang, Changwat Trat

The purposes of this research were to study 1) the community’s context of Amphoe Ko Chang, Changwat Trat, 2) the problems of tourist attraction, 3) the models of sustainable tourist attraction management for people, and 4) the development of sustainable tourist attraction management for people. The qualitative research methodology was employed. The population was 61 informants consisting of Head of District monk, Mayor, Assistant Mayor, Municipality committee members, Sub District Administration Organization committee members, headman of Tambon Ko Chang, Assistant Village headmen, Village headman, business owners, and Village leaders. The instruments for collecting data were in-depth interview, focus group discussion and brain storming. The data were analyzed by content analysis and presented in descriptive analysis. The findings of this research were as follows:

1. The community’s context of Amphoe Ko Chang, Changwat Trat found that the important structures were topography, climate, natural resources and important environment, people, and appropriate basic structure. There were many tourist attractions for 4 types which were 14 beaches, 7 waterfalls, 4 historical and cultural parks, and 5 tourism activities.

2. The problems of tourist attraction found that 1) land and basic structure benefit aspect, 2) structure system, 3) environment and natural resources management and tourist attraction along with natural of protecting and preserving plan, 4) protect and preserve under the sea’s tourist attraction, 5) keep the service standard, preventing and helping lives and asset safety and management system, 6) social, community, and life quality, 7) local occupation and local people’s income, and 8) a development of tourism.

3. The models of sustainable tourist attraction management for people found that there were 3 models; 1) natural based tourism, 2) cultural based tourism, and 3) specialinterest tourism.

4. The development of sustainable tourist attraction management for people found that there were 3 models; 1) a development of 3 natural based tourism which were ecology tourism, sea ecology tourism, and agriculture tourism, 2) a development of 2 cultural based tourism were historical tourism and cultural and tradition tourism, and 3) a development of 4 special interest tourism were sports tourism, adventure tourism, home

Downloads

How to Cite

สามารถ ภ. (2015). การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สำหรับประชาชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(1), 1–12. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42009

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)