วิชาชีพนิยมของข้าราชการที่มีผลต่อการบริหารการพัฒนา: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
Keywords:
วิชาชีพนิยมของข้าราชการ, การบริหาร, การพัฒนา, Professionalism of civil servants, Management, DevelopmentAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับ วิชาชีพนิยมของข้าราชการ ประกอบด้วย 18 ด้าน คือ (1) ด้านการประกอบอาชีพเต็มเวลา (2) ด้านการจัดโปรแกรม การศึกษาโดยสมาคมวิชาชีพ (3) ด้านการจัดตั้งสมาคม วิชาชีพและการออกกฎหมายรับรองสถานภาพของ วิชาชีพ (4) ด้านการมีจรรยาบรรณวิชาชีพ (5) ด้านการ มีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ (6) ด้านการเป็นที่ยอมรับของ สังคม (7) ด้านการมีความรอบรู้ในวิชาชีพ (8) ด้านการ ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ (9) ด้านการมีความเป็น อิสระในวิชาชีพ (10) ด้านการได้รับการศึกษาตรงตาม วิชาที่ประกอบอาชีพ (11) ด้านการมีผู้คอยสนับสนุนใน การประกอบอาชพี (12) ด้านการมีการวางแผนล่วงหน้ ที่ จะประกอบอาชีพ (13) ด้านการมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน (14) ด้านการมีความกระตือรือร้น ในวิชาชีพ (15) ด้านการประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (16) ด้านการมีความจงรักภักดีและความผูกพันใน วิชาชีพ (17) ด้านมองเห็นอนาคตในการประกอบอาชีพ และ (18) ด้านมีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตน โดยทำการศึกษาเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการพัฒนา ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาการบริหาร และ การบริหารเพื่อการพัฒนา โดยทำการศึกษาเทศบาลตำบล ในพืน้ ที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา 3) เพื่อศึกษาปัจจัย ด้านวิชาชีพนิยมของข้าราชการที่มีผลต่อการบริหารการ พัฒนาของเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย- กัมพูชา 4) เพื่อสร้างรูปแบบวิชาชีพนิยมของข้าราชการ ที่มีผลต่อการบริหารการพัฒนาของเทศบาลตำบลใน พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่อยู่ ใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด สุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความ แม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 (α coefficient = .989) การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์ สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นโยง
ผลการวิเคราะห์ระดับการปฏิบัติวิชาชีพนิยม ของข้าราชการเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา ในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติมาก เมื่อ พิจารณาการปฏิบัติวิชาชีพนิยมของข้าราชการเป็น รายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านการมีจรรยาบรรณ วิชาชีพ รองลงมา คือ ด้านการประพฤติตามจรรยาบรรณ วิชาชีพ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดตั้ง สมาคมวิชาชีพและการออกกฎหมายรับรองสถานภาพ ของวิชาชีพ
ผลการวิเคราะห์การพัฒนาการบริหารของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดย รวมมีระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาการพัฒนาการ บริหารเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านวัฒนธรรม องค์การ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ/เทคโนโลยี และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านโครงสร้างองค์การ
ผลการวิเคราะห์การบริหารเพื่อการพัฒนาของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดย รวมมีระดับการปฏิบัติ เมื่อพิจารณาการบริหารเพื่อการ พัฒนาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านการพัฒนา สังคม รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาทางการเมือง และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยสำคัญที่สามารถ อธิบายวิชาชีพนิยมของข้าราชการเทศบาลตำบลในพื้นที่ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย ปัจจัยด้าน การเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้านการมีผู้คอยสนับสนุน ในการประกอบอาชีพ ด้านการประกอบอาชีพเต็มเวลา ด้านมองเห็นอนาคตในการประกอบอาชีพ ด้านการมี ความรอบรู้ในวิชาชีพ และด้านการได้รับการศึกษาตรง ตามวิชาที่ประกอบอาชีพ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เส้นโยง (Path Analysis) พบว่า การบริหารการพัฒนา ของเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ได้รับอิทธิพลทางตรงจากด้านการประกอบอาชีพเต็ม เวลา ด้านการเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้านการมีความ รอบรู้ในวิชาชีพ ด้านการได้รับการศึกษาตรงตามวิชาที่ ประกอบอาชีพ ด้านการมีผู้คอยสนับสนุนในการประกอบ อาชีพ และด้านการมองเห็นอนาคตในการประกอบอาชีพ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน พบว่า 1) โครงการที่นำมาปรับปรุงวิชาชีพ นิยมของข้าราชการ ควรมีการกำหนดหลักของความ ประพฤติของข้าราชการ และเรียนรู้เรื่องมาตรฐานงาน ของตัวเองเพื่อการบริการประชาชน 2) โครงการที่นำมา ปรับปรุงการบริหารการพัฒนา ควรเปิดโอกาสให้มีความ เป็นอิสระทางความคิด และมีการทำงานเป็นทีม
Effects of Professionalism of Civil Servants on Development Administration: A Case Study of Sub-District Municipalities in the Vicinity of Thai-Cambodian Border
The purposes of this research were: 1) to examine the level of the professionalism of civil servants which included (1) full time employment. (2) study program by profession association. (3) profession association and accredited law of professional status. (4) professional code of conduct. (5) system the knowledge (6) social acceptance (7) professional knowledge (8) service of professional standard (9) professional freedom (10) specialized knowledge in the occupation (11) occupational supporter (12) occupational preparation (13) intention for labor market entry14) occupation enthusiasm (15) behavior under professional code of conduct (16) professional commitment and loyalty (17) opportunity for promotion (18) opportunity for progress; 2) the level of development administration examination including. development of administration and administration of development; 3) to examine the relationship between the level of the professionalism of civil servants and the development administration of sub-district municipalities in Thai-Cambodian border vicinity; and 4) to create the new pattern on professionalism of civil servants on development administration of sub-district municipalities in Thai-Cambodian border vicinity.
The population of this research was chairmen of the Sub-District Municipalities of 4 provinces along the Thai-Cambodian Border. included Srakaew, Burirum, Surin and Sisaket provinces. Data were collected by using questionnaires for targeted groups who were 396 chairmen of sub-district municipalities. The instrument used for this research was questionnaire items developed to test the validity which were approved by experts with Item-Objective Congruence index at 1.00 and a confidence level at .989 (α Coefficient = 0.989). The statistical analysis used was descriptive statistics. frequency. percentage. mean. standard deviation. correlation analysis. multiple regression analysis (stepwise selection) and path analysis.
The result of the research on level of the professionalism of civil servants of sub-district municipalities in Thai-Cambodian border vicinity was of high level. When considering each item. the highest point was professional code of conduct. the second was behavior under professional code of conduct. and the least point was profession association and accredited law of professional status.
The result of the research on level of development administration of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian was of high level. When considering each item. the highest point was organization culture. the second was process/technology. and the least point was organization structure.
The result of the research on level of administration of development of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian was of high level. When considering each item. the highest point was social development. the second was political development. and the least point was economic development.
The result of the stepwise multiple regression analysis showed that the independent variables that influenced professionalism of civil servants of sub-district municipalities in Thai- Cambodian border vicinity. included social acceptance. occupational supporter. full time employment. opportunity for promotion. professional knowledge and specialized knowledge in the occupation.
The result of the path analysis showed that development administration of subdistrict municipalities in Thai-Cambodian border vicinity has been directly influenced by full time employment. social acceptance. professional knowledge. specialized knowledgein the occupation. occupational supporter and opportunity for promotion. On the qualitative method. studied by interviewing 20 leaders community showed that 1) projects that improve the professionalism of civil servants should set up the standard of servant behavior and learning standard of work for service people; 2) projects that improve the effectiveness of administration of development should support to opinion participation and team work.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์