ประสิทธิผลการบริหารองค์การตามหลักการ บริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

Authors

  • กมลลักษณ์ ยินดียม นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

วัฒนธรรมองค์การ, นโยบาย, โครงสร้างองค์การ, กระบวนการเทคโนโลยี, สมรรถนะทางการบริหาร, Organization culture, Policy organization structure, Process/Technology, Managerial competency

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ระดับประสิทธิผลการบริหารองค์การของเทศบาลตำบล ประกอบด้วย 5 ด้านคือ ด้านการจัดหาและการจัดสรร ทรัพยากร ด้านกระบวนการภายใน ด้านผลลัพธ์การ ดำเนินการ ด้านความสามารถในการสร้างความพึงพอใจ และด้านการพัฒนาองค์การ 2) เพื่อศึกษาระดับการ บริหารองค์การของเทศบาลตำบล ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธวิธี ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านกระบวนการเทคโนโลยี ด้าน ทรัพยากรการบริหาร และด้านสมรรถนะทางการบริหาร 3) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการที่ดีของเทศบาล ตำบล ประกอบด้วย 10 ด้าน คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการ มีส่วนร่วม ด้านหลักความพร้อมรับผิด ด้านหลักความ คุ้มค่า ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านองค์กรแห่ง การเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ และด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการ บริหารองค์การตามหลักการบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อ ประสิทธิผลการบริหารของเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณ ชายแดนไทย-กัมพูชา 5) เพื่อสร้างรูปแบบประสิทธิผล การบริหารองค์การตามหลักการบริหารจัดการที่ดีของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารของเทศบาล ตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่อยู่ใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด สุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความ แม่นตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .996 (α coefficient = .996) การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นโยง

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลการบริหารของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยรวมมีระดับความสำเร็จมาก เมื่อแยกพิจารณา ประสิทธิผลการบริหารเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ รองลงมา คือ ด้านความ สามารถในการสร้างความพึงพอใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ด้านการจัดหาและการจัดสรรทรัพยากร

ผลการวิเคราะห์การบริหารองค์การของเทศบาล ตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยรวมมี ระดับการปฏิบัติถ่ายทอดเรียนรู้ทั้งองค์การ เมื่อพิจารณา การบริหารองค์การเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ รองลงมา คือ ด้านสมรรถนะ ทางการบริหาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้าน โครงสร้างองค์การ

ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการที่ดีของ เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยรวมมีระดับการปฏิบัติถ่ายทอดเรียนรู้ทั้งองค์การ เมื่อพิจารณาการบริหารจัดการที่ดีเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอย เชิงพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัย สำคัญที่สามารถอธิบายประสิทธิผลการบริหารองค์การ ของเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย ด้านทรัพยากรการบริหาร ด้านการบริหาร จัดการ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธวิธี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ด้านสมรรถนะทางการบริหาร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เส้นโยง (Path Analysis) พบว่า ประสิทธิผลการบริหาร ของเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ได้รับอิทธิพลทางตรงจากด้านนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธวิธี ด้านทรัพยากรการบริหาร ด้านสมรรถนะทางการบริหาร ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านการบริหารจัดการ และด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้นำ ชุมชนจำนวน 20 คน พบว่า โครงการที่นำมาปรับปรุง การบริหารองค์การ เทศบาลตำบลควรมีมาตรฐาน ค่า นิยม ปทัสถาน การปฏิบัติงานเป็นไปแนวทางเดียวกัน มีกลยุทธ์จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น และมีการแบ่ง ภาระหน้าที่ให้แก่สมาชิกในองค์การ 2) โครงการที่นำมา ปรับปรุงการบริหารจัดการที่ดี ควรยึดหลักกฎระเบียบ ขององค์กรอย่างเคร่งครัด มีกระบวนการให้ประชาชน ตรวจสอบการทำงาน 3) โครงการที่นำมาปรับปรุง ประสิทธิผลการบริหาร เทศบาลตำบลควรนำทรัพยากร ต่าง ๆ มาจัดสรรให้เป็นไปตามเป้าหมาย มีการร่วมมือ ของชุมชน


Organizational Effectiveness Based on Good Governance: A Case Study of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian Border

The purposes of this research were: 1) to examine the level of the organizational effectiveness of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian Border, including (1) procurement and resources allocation, (2) internal processes, (3) results of the performance, (4) satisfaction creation and (5) organizational development; 2) to examine the level of organizational management, including (1) organizational culture, (2) policy-strategytactics, (3) organizational structure, (4) process/ technology, (5) administrative resources, and (6) managerial competency; 3) to examine the level of the good governance principles which include(1) rule of law, (2) integrity, (3) transparency, (4) participation, (5) accountability, (6) efficiency, (7) human resource development, (8) learning organization, (9) management, (10) information technology and communication; 4) to examine the relationship between the organizational management based on good governance and organizational effectiveness; and 5) to create the new pattern about organizational effectiveness based on good governance of Sub-District Municipalities along the Thai- Cambodian.

The population of this research was chairmen of the Sub-District Municipalities of 4 provinces along the Thai-Cambodian Border, including Srakaew, Burirum, Surin and Sisaket provinces. Data were collected by using questionnaires for targeted groups who were 383 chairmen of sub-district municipalities. The instrument used for this research was questionnaire items which was developed to test the validity that was approved by experts with Item-Objective Congruence index at 1.00 and a confidence level at .996 ( α Coefficient = 0.996). The statistical analysis used was descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation analysis, multiple regression analysis (stepwise selection) and path analysis.

The result of the research on level of the organizational effectiveness of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian was found at a high level. When considering each item, the highest point was result of the performance, the second was satisfaction creation and the least point was procurement and resources allocation.

The result of the research on level of organization management of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian was of high level. When considering each item, the highest point was organization culture, the second was managerial competency, and the least point was organization structure.

The result of the research on level of the good governance principles of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian was of high level. When considering each item, the highest point was learning organization, the second was efficiency, and the least point was management.

The result of the stepwise multiple regression analysis showed that the independent variables influenced the organizational effectiveness of Sub-District Municipalities along the Thai-Cambodian included administrative resources, management, efficiency, policystrategy- tactics, information technology and communication, and managerial competency.

The result of the path analysis showed that the organizational effectiveness of Sub- District Municipalities along the Thai-Cambodian was directly influenced by policy-strategytactics, administrative resources, managerial competency, efficiency, management and information technology and communication.

On the qualitative method, studied by interviewing 20 leaders community showed that 1) projects that improve the organization management should have the same standard,value, norm to implement, necessary strategies to resources allocation and divide up the work to officials; 2) projects that improve the good governance principles should follow regulation of organization and can monitor the performance of the sub-district municipalities; 3) projects that improve the organizational effectiveness should allocate resources to the objectives of organization and cooperation of community.

Downloads

How to Cite

ยินดียม ก. (2015). ประสิทธิผลการบริหารองค์การตามหลักการ บริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(1), 106–118. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42022

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)