ภาวะผู้นำ: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

Authors

  • ชยกร นาเมืองรักษ์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุเชาวน์ พลอยชุม อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาปรัชญาและศาสนา

Keywords:

ภาวะผู้นำ, การศึกษา, การปกครองคณะสงฆ์, พระพุทธศาสนา, Leadership, Education, The government of the Thai Songkha, Buddhism

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำ 2) พระประวัติและผลงานของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 3) ภาวะผู้นำด้านการศึกษาและภาวะผู้นำด้านการปกครอง คณะสงฆ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางเอกสาร โดยศึกษา เอกสารชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก งาน วิจัย งานวิทยานิพนธ์และตำราวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอแบบ ลักษณะพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ทฤษฏีภาวะผู้นำโดย ส่วนใหญ่ผูกติดกับลัทธิ อุดมคติ ความคิด ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ อุดมการณ์ หรือศาสนาแบบตะวันตก อาศัยสภาพแวดล้อม ในแต่ละช่วงยุคสมัยที่มีอิทธิพล ต่อผู้นำในขณะนั้น หรืออาจจะสืบเนื่องมาจากภาวะ ทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือแม้แต่การเมือง มี การสร้างอำนาจเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์แอบอิง อาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของ บุคคลเฉพาะกลุ่มหรือในกลุ่มเท่านั้น เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผู้นำเป็นผู้กำหนดและขึ้น อยู่กับนโยบายหรืออุดมการณ์ของผู้นำเป็นหลักด้วย ผู้นำนั้นมีบุคลิกที่ดี มีความเฉลียวฉลาดมีความสามารถ ชักนำหรือจูงใจผู้ตาม เป็นไปตามลักษณะของความ สมัครใจ พร้อมทั้งรวบรวมบทบาทในกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อบริหารให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น 2) พระองค์ทรงประสูติในพระบรมมหาราชวัง ได้รับ พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพ มูลเหตุที่ทรงผนวชนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทรงเกลี่ยกล่อมให้พระองค์ผนวช ทรงตั้งปฏิญาณ ไว้ว่า จะสึกเมื่อพ้นพรรษาแรก พ้นจากนั้นแล้วจะไม่สึก เพราะมีพระปฏิญาณเป็นเหตุ หลังจากทรงผนวชเป็น พระภิกษุแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยือนพร้อมทั้งประเคนพานพุ่มและทรงกราบด้วยความเคารพในความเป็นพระของพระองค์ ด้วย พระอัจฉริยภาพของพระองค์ทรงตระหนักว่า จะไม่ ถือเพศเป็นคฤหัสถ์กับท่านผู้ที่ทรงกราบแล้ว เป็นผล ทำให้ทรงถือครองเพศบรรพชิตและในส่วนของผลงาน ด้านวิชาการและพระนิพนธ์นั้น ทรงแต่งตำราในแนว วิชาการทั้งการศึกษาเบื้องต้นของกุลบุตร ที่สามารถนำ มาประกอบอาชีพพร้อมทั้งนำหลักธรรมและหลักปฏิบัติ ไปปรับใช้ในชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์นั้น ทรงปรับ ตำราเรียนแบบเก่าและแต่งเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ศึกษา สาระที่สำคัญไม่ทำให้ผู้ศึกษาย่อท้อเบื่อหน่ายต่อการ ศึกษา สร้างคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติ 3) ภาวะผู้นำด้านการศึกษาพระองค์ทรงริเริ่ม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและวางระบบการศึกษาของกุลบุตรไทยไม่ ให้ห่างเหินจากพระศาสนา ทำให้พระสงฆ์มีบทบาทในการ บำเพ็ญคุณประโยชน์แก่สังคมในการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรม การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ทรงใช้วัด บวรนิเวศวิหารเป็นสถานที่ทดสอบและทดลอง ทรงปรับ คัมภีร์เก่า ทรงพระนิพนธ์ตำราเรียนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ ได้ศึกษาแบบบูรณาการทั้งพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และแผนกบาลี มีมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันใน การผลิตและพัฒนาบุคลากรสู่การประพฤติปฏิบัติที่ถูก ต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ในส่วนภาวะผู้นำในการ ปกครองคณะสงฆ์นั้น ทรงนำแนวทางการปกครองของ ราชอาณาจักรมาประยุกต์และปรับใช้กับการปกครอง คณะสงฆ์ ทรงผสมผสานสาระสำคัญและขนบธรรมเนียม ประเพณีทางสังคมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระ ธรรมวินัย มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดและทำให้คณะสงฆ์ไทยมีเอกภาพในการปกครอง กันเอง

 

Leadership: Somdet Phamahasamana Chao Kromphaya Vajirananavarorasa

This research has its purposes to study 1) The theories of leadership. 2) The historical profiles of Somdej PhraMahasamana Chao Kromphaya Vajirananavarorasa. 3) The aspect of educational leadership and the Clergy’s administration. This research has performed on documentary quality with approaching the primary sources and secondary sources such as Pitika Pali, academic research, Thesis, and any other concerned work on this matter in to present in analytical form.

The results from this research, they revealed that 1) The theories of leadership, mostly dominated by any ism, ideology, dogmatic belief, historical ideology, western religious belief or legerd with environmental support in each era upon the leaders. Some have been dominated by social circumstance, culture, economics situation and politics, particularly, in politics aspect there were mutual benefits to negotiate or to barter. It was a change in social circumstance with the leader’s demand behind according to their ideology or belief. Fortunately, in the society of good leaders as wisely charismatic leaders, there would be positive persuasion with accomplishing on administration which were compatible for their circumstances. 2) Somdej. Was born in the palace and was named to be H.M. Manussayanaga Manop. He determined his ordination by King Rama V’s advice. Firstly, he pledged to be a monk only for a short time, later he planned for his monkhood life until the end of his life. During his monkhood, King Rama V. had supported a lot of facilities with respectfully. Somdej’s wisdom and genius manner, appeared in his work such as academic books, renaissance on education, clergy reformation. His work had created a large opportunity for young learners in society. It was a great usefulness for the nation and Buddhist religion at that time. 3) In the aspect of educational leadership he made a great reformation on primitive education. There were a large opportunity for young Thai male learners who wanted to study for their lives. Wat Borvornnivet was established as a hub of education for both knowledge and ethics. There was an integrated education for Thai clergy in this place - Wat Borvornnivet. Consequently, A University of Maha Mongkut Rajjawittayalai where Buddhist elites had been created in this place. For the aspect of Thai Clergy Administration, he had applied the kingdom administration to the Clergy’s management with mixing tradition and social custom according to the Clergy Code Ror.Sor. 121 (Rattanakosin Era) under the patronage of Supreme Patriarch. There was a solidarity on Buddhist Clergy in Thailand.

Downloads

How to Cite

นาเมืองรักษ์ ช., & พลอยชุม ส. (2015). ภาวะผู้นำ: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(1), 141–147. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42036

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)