การสร้างคู่มือสำหรับมัคคุเทศก์เพื่อแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์ ประธานสาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สุลาวัลย์ ฉิมทัต นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • จอมขวัญ ชุ่มจิตต์ นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กมลพรรณ ปัตพี นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Keywords:

มัคคุเทศก์, คู่มือ, แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์, อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี, Tour Guide, Guidebook, Historical Tourist Attraction, Phra Nakorn Kiri Historical Park

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความ สำคัญของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โดยใช้ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี (เขา วัง) จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อพัฒนาคู่มือมัคคุเทศก์ใน การช่วยศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำหรับ มัคคุเทศก์ และ 3) เพื่อประเมินผลการนำไปใช้ได้จริง ของเครื่องมือในการช่วยศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยคือได้ศึกษาข้อมูล โดยละเอียดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นประเมิน คู่มือโดยอาสาสมัครมัคคุเทศก์ จำนวน 11 คน เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความพอใจของอาสา สมัครมัคคุเทศก์ หลังจากการนำคู่มือไปใช้และส่วนที่ สองคือแบบประเมินความพอใจของนักท่องเที่ยว หลัง จากได้รับบริการจากอาสาสมัครมัคคุเทศก์ ผลการศึกษา พบว่า หลังจากศึกษาคู่มือประวัติศาสตร์พระนครีด้วย ตนเอง ซึ่งเมื่อประเมินความพอใจแล้วอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ โดยเหตุผลหลักคือ การครอบคลุมจุดสำคัญๆ ในพระนครคีรีของคู่มือเส้นทางที่แนะนำในคู่มือนี้ และ รูปภาพในคู่มือนี้เหมาะสมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีข้อ เสนอแนะเพื่อการพัฒนาคู่มือให้ดีขึ้นซึ่งได้จากคำถาม ปลายเปิด ส่วนที่สองได้ให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครคีรีประเมินอาสาสมัครมัคคุเทศก์ หลังจากที่อาสาสมัครมัคคุเทศก์ศึกษาคู่มือสำหรับ มัคคุเทศก์ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจต่อมัคคุเทศก์ สถานที่ และความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยลำดับที่ 1 มี 2 ประเด็น คือ จิตใจรักการบริการและอำนวยความสะดวก และ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม ลำดับที่ 2 มี 2 ประเด็น คือ ความเหมาะสมของบุคลิกภาพการเป็น มัคคุเทศก์ และ เส้นทางเดินนำเที่ยวเหมาะสม ลำดับที่ 3 ระยะเวลาในการนำ เที่ยวมีความเหมาะสม นอกจากนี้นัก ท่องเที่ยวได้ให้ข้อเสนอแนะด้านข้อมูล ด้านอาสาสมัคร มัคคุเทศก์ และด้านอื่น ๆ เพื่อประสิทธิภาพของการนำเที่ยวที่ดีขึ้น งานวิจัยคู่มือการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ด้วยตนเองนี้สามารถนำไปพัฒนาอย่างต่อ เนื่องและขยายการพัฒนาคู่มือสำหรับแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์แหล่งอื่นได้

 

The Development of Tour Guide’s Guidebook for Historical Tourist Attraction: A Case Study of Phra Nakorn Kiri Historical Park, Phetchaburi Province


This research aims 1) to study significance of historical tourist attraction which in this case Phra Nakorn Kiri Historical Park (Khao wang) was chosen; 2) to develop tour guide’s guidebook for historical tourist attraction and 3) to evaluate the practical usage of the guidebook. As for the research method, in-depth information of Phra Nakorn Kiri Historical Park was studied and reviewed by experts. Then the guidebook was developed and evaluated by 11 volunteered guides from school and university. The research tools were evaluation form evaluated by volunteered guides after self studying the guidebook and questionnaire evaluating tourists’ satisfaction after being guided by the volunteered guides. Results revealed that after self studying using the guidebook, the volunteered guides indicated high level of satisfaction towards all items in the evaluation form. The main reasons of satisfaction were the guidebook covers all main attractions in Phra Nakorn Kiri Historical Park; tour route recommended is suitable; as well as pictures in the guidebook. Other comments were recommended in details receiving from the open-ended question. The second part was to ask tourists who visited Phra Nakorn Kiri Historical Park during the study period to evaluate the volunteered guides after they have studied the guidebook. Most of tourists were satisfy with the guides, the place, and knowledge and understanding gained at high level towards all items asked. The primary reasons were from service mind and facilitating tourists well and cleanliness of the place. Secondly they were satisfied with personality of volunteered guides and tour route and thirdly with timing of the tour. Furthermore, tourists gave recommendations about information provided, the volunteered guides and other related issues for more effective tour at Phra Nakorn Kiri Historical Park. This research of self study tour guide’s guidebook for historical tourist attractions can be developed continuously and be applied with other historical tourist attractions.

Downloads

How to Cite

โรจน์รุ่งสัตย์ พ., ฉิมทัต ส., ชุ่มจิตต์ จ., & ปัตพี ก. (2015). การสร้างคู่มือสำหรับมัคคุเทศก์เพื่อแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(2), 16–27. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42044

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)