การพัฒนายุทธศาสตร์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร โดยใช้เมทริกซ์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ

Authors

  • มณภร มนุญศาสตรสาทร อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

ยุทธศาสตร์, กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, องค์กรเกษตรกร, การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ, Strategy, Farmer’s Reconstruction and Development Fund, Farmer Organizati, Quantitative Strategic Planning Matrix (QSPM)

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมิน ยุทธศาสตร์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร 2) พัฒนายุทธศาสตร์กองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยใช้ เมทริกซ์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ (QSPM) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มประชากรคือ ผู้บริหารสำนักงานกองทุนฯและสาขา ผู้นำองค์กร เกษตรกร และชาวนา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สุ่ม เลือกมา 6 องค์กรและสุ่มเลือกชาวนาองค์กรละ 15 คน รวม 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือใช้แบบสอบถาม สถิติที่นำมาใช้คือสถิติเชิงพรรณนาค่าความถี่ ค่าร้อย ละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนการพัฒนายุทธศาสตร์ ใช้ QSPM

ผลการศึกษาพบว่า 1)การประเมินยุทธศาสตร์ ของสหกรณ์การเกษตรบางบาลในด้านการจัดสวัสดิการ การให้บริการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และ การรับฝากเงินประสบผลสำเร็จ แต่ในด้านการผลิต การบริการและธุรกิจอื่น ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วน องค์กรเกษตรกรอีก 5 แห่ง ยุทธศาสตร์ในด้านการ รับฝากเงินไม่ประสบผลสำเร็จ และยุทธศาสตร์ด้าน อื่นไม่ได้ดำเนินการการประเมินยุทธศาสตร์ของกอง ทุนฯในด้านการพัฒนาองค์กร ประสบผลสำเร็จพอ สมควร แต่ยุทธศาสตร์ด้านอื่นประสบผลสำเร็จน้อย 2) การพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กรเกษตรกรพบ ว่าการวิเคราะห์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณของ สหกรณ์การเกษตรบางบาลด้านการผลิต การบริการ และธุรกิจอื่น ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือการสร้าง โรงสี ด้านการจัดการสวัสดิการ ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่สุดคือขยายการจัดสวัสดิการเงินกู้และทุนการศึกษา ด้านการให้บริการ ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือขยาย การจัดสวัสดิการร้านค้าด้านการให้ความช่วยเหลือทาง วิชาการ ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือติดต่อหน่วยงานต่างๆ ด้านการรับฝากเงิน ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่สุดคือส่งเสริมการออม ส่วนองค์กรเกษตรกรอีก 5 แห่ง ไม่เสนอแนะให้ทำยุทธศาสตร์การผลิต การบริการ และธุรกิจอื่น และยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการ ด้าน การให้บริการ ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือขยายบ้าน ประธานหรือเช่าร้านค้า ด้านการให้ความช่วยเหลือทาง วิชาการ ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือติดต่อหน่วยงาน ทุกระดับ ด้านการรับฝากเงิน ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุด คือประชาสัมพันธ์ให้มีการออมการพัฒนายุทธศาสตร์ ของกองทุนฯ พบว่าการวิเคราะห์การวางแผนยุทธศาสตร์ เชิงปริมาณของกองทุนฟื้นฟูฯด้านการพัฒนาองค์กร ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือการปรับปรุงพัฒนาองค์กร ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่สุดคือขยายการช่วยเหลือเกษตรกร ด้านการพัฒนา ศักยภาพขององค์กรเกษตรกร ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่สุดคือขยายการช่วยให้องค์กรเกษตรกรและสมาชิกให้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ หลัก ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือการลดต้นทุนการ ผลิต การรวบรวม การแปรรูปและการจัดการการตลาด ด้านการสร้างรายได้เพิ่ม ยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดคือ ขยายให้มีการทำโครงการเงินกู้

 

Strategic Development of Farmer’s Reconstruction and Development Fund and Farmer Organization Using Quantitative Strategic Planning Matrix (QSPM)

The purposes of this research were to: 1) evaluate the strategies of the Farmers’ Reconstruction and Development Fund and farmers organization; 2) develop strategies for both organizations using QSPM. Research methodology was qualitative research. The samples were as follows: an executive of the Fund and one of its branches, 6 leaders of farmers organizations and 90 farmers, 15 from each of the farmers organizations, were selected by means of simple random sampling. The research instrumentswere open-ended question interview forms andopen and closedended questions. The statistics utilized in this research were descriptive statistics, frequency, percentage, and arithmetic mean. Concerning strategic development used QSPM.

The results were as follows: 1) According to the strategic evaluation of the Bangban cooperative on welfare management, services, academic assistance and the money on deposit strategies were successful but production, services and other business was unsuccessful. Among the other five farmers organizations, strategy on the money on deposit was unsuccessful and other strategies were not performed.According to the strategic evaluation of the Farmer’s Reconstruction and Development Fund on organizational development had a moderate success but other strategies had less success.2) According to the QSPM analysis of farmers organization, the Bangban cooperative’s production, services and other business, the strategy of greatest interest was building a rice mill. A study on welfare management found that the most interesting strategy was extending loans and assistantships. A study of services revealed that the strategy of primary interest was extending the commodity shop, but with regard to provided academic assistance, the most interesting strategy was coordinating with agencies and organizations. A study of the money on deposit showed that a savings campaign was the strategy of greatest interest. Among the other five farmers organizations, strategies on production, services and other businesses, and welfare management were not recommended. In a study of services, the most interesting strategy was leaders’ home improvement or renting a shop but with regard to providing academic assistance, the strategy in which subjects expressed the greatest interest was coordinating with organizations at every level. A study of money on deposit showed that a savings campaign was the strategy of greatest interest.According to the QSPM analysis of the Farmers’ Reconstruction and Development Fund, a study on organizational development showed that the most interesting strategy was developing organizational strategies, but with regard to farmers’ debt management, the strategy of primary interest was extending farmer assistance strategies. In the study of farmers organizations’ potential development, the most interesting strategy was found to be extending assistance to farmers organizations and members for strengthening them. A study of farmer reconstruction and major occupation development found that the strategy of primary interest was cost reduction, collecting products, processing, and marketing management but the most interesting strategy in the area of increasing farmers’ income was extending loan projects.

Downloads

How to Cite

มนุญศาสตรสาทร ม. (2015). การพัฒนายุทธศาสตร์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร โดยใช้เมทริกซ์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(2), 61–70. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42070

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)