อิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และความยุติธรรมในองค์การต่อความผูกพันต่อองค์การ ในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย

Authors

  • วิช์ทู สรเพชญ์พิสัย นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

อิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ, การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความยุติธรรมในองค์การ, Trust in Leader, Perceived Organizational Support, Organizational Justice

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของ พนักงานในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในประเทศไทย

2) ศึกษาอิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมด้าน การแบ่งปัน ความยุติธรรมเชิงกระบวนการ ต่อความ ผูกพันต่อองค์การของพนักงานในบริษัทรับสัมปทาน สำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ตัวอย่างที่ ใช้ในการศึกษา ได้แก่พนักงานสัญชาติไทย ในบริษัท รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย จำนวน 420 คน สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และ 9 คนสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการ ศึกษาเป็นแบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ผู้ วิจัยได้เรียบเรียงมาจากนักวิชาการที่ทำการศึกษาความ ศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความ ยุติธรรมด้านการแบ่งปัน ความยุติธรรมเชิงกระบวนการ และความผูกพันต่อองค์การที่สร้างขึ้นไว้ โดยมีค่าความ เชื่อมั่นของแบบสอบถาม ที่ 0.88 ถึง 0.91 และแบบ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกสำหรับการเก็บข้อมูลแบบเชิง ลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยทดสอบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยค่าสถิติ Independent Sample t-test, One–Way ANOVA, Brown - Forsythe, Least Significant Difference (LSD) และ Dunnett’s T3 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และใช้ สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์อิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความความยุติธรรม ด้านการแบ่งปัน และยุติธรรมเชิงกระบวนการ ต่อความ ผูกพันต่อองค์การ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง พนักงานในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตร- เลียมในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุพนักงาน ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 30-37 ปี พนักงานส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด พนักงานมีระยะเวลาการปฏิบัติงานส่วน ใหญ่อยู่ในช่วง 1-6 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ของ พนักงานเป็นระดับปริญญาตรี 2) ระดับความผูกพัน ต่อองค์การ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาในราย ละเอียด พบว่า พนักงานมีความเต็มใจปฏิบัติงานเกือบ ทุกชนิดที่ได้รับมอบหมายเพื่อคงความเป็นสมาชิกบริษัท นี้ อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือ พนักงานมีความ เต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้บริษัท ที่ทำงานอยู่ประสบความสำเร็จ ลำดับต่อมาพนักงานไม่ คิดจะลาออกจากบริษัทถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นในบริษัท และพนักงานเห็นด้วยกับนโยบายที่เกี่ยว กับบุคลากรของบริษัทที่พนักงานทำงานอยู่ เป็นลำดับ สุดท้าย 3) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความผูกพันต่อ องค์การของพนักงานในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย จำแนกตามคุณลักษณะ ส่วนบุคคล พบว่าพนักงานที่มีเพศ อายุ ต่างกันมีความ ผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และพบว่า ระดับการ ศึกษา สถานภาพการสมรส และระยะเวลาการปฏิบัติ งานต่างกัน จะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.054) ผลการวิเคราะห์ อิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ ความยุติธรรมด้านการแบ่งปัน และความ ยุติธรรมเชิงกระบวนการ ต่อความผูกพันต่อองค์การ พบว่าความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ ความยุติธรรมด้านการแบ่งปัน และความ ยุติธรรมเชิงกระบวนการ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อ องค์การของพนักงานในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 โดย ความยุติธรรมเชิงกระบวนการ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด โดยมีค่า β เท่ากับ 0.343 รองลงมาเป็นความยุติธรรมด้านการ แบ่งปัน มีค่า β เท่ากับ 0.328 ตามด้วยความศรัทธาต่อ ผู้นำ มีค่า β เท่ากับ 0.255 และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์การมีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การ มีค่า β เท่ากับ 0.082


The Influence of Trust in Leader, Perceived Organizational Support and Organizational Justice towards Organizational Commitment at Petroleum Exploration and Production Concessionaire Companies in Thailand

The research aims to: 1) study the level of organizational commitment of staff working at Petroleum Exploration and Production Concessionaire companies in Thailand; 2) study the influence of trust in leader, perceived organizational support, distributive justice and procedural justice towards their organizational commitment. The sample is 420 Thai citizen staff for quantities data and 9 key informants for in-depth interview in the said companies, and a questionnaire, having reliability at 0.88 – 0.91, compiled from academics in related fields is employed for collecting data. The data is analyzed via frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, One–Way ANOVA, Brown - Forsythe, least significant difference (LSD), Dunnett’s T3, and multiple regression analysis.

The research findings are as follows: 1) The majority of the respondents are male, aging between 30 – 37 years old, single, have been working for 1 to 6 years, and holding Bachelor’s degree. 2) The level of organizational commitment overall is at a high level. When considering individual item, the willingness to do most of assignment for maintaining organizational citizenship is at the highest level, followed by the willingness to work for the sake of the company, and their intention to continue working although there may be some changes, respectively; meanwhile, their agreement on policy regarding personnel affairs is at the lowest level. 3) Gender and age make no difference on organizational commitment of staff working at petroleum exploration and production concessionaire companies in Thailand; however, educational background, marital status and length of service make a difference at a level of 0.05 statistical significance. 4) Trust in leader, perceived organizational support, distributive justice and procedural justice influence significantly towards the organizational commitment of staff working at petroleum exploration and production concessionaire companies in Thailand at a level of 0.05 statistical significance; procedural justice gains the highest influence having β at 0.343 followed by distributive justice at 0.328, trust in leader at 0.255, and perceived organization support at 0.082, respectively.


Downloads

How to Cite

สรเพชญ์พิสัย ว. (2015). อิทธิพลของความศรัทธาต่อผู้นำ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และความยุติธรรมในองค์การต่อความผูกพันต่อองค์การ ในบริษัทรับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(2), 81–89. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42119

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)