การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • สุมาลี เจริญรอย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

การทำวิจัยในชั้นเรียน, ครูผู้สอน, เทศบาลนครนนทบุรี, Classroom Action Research, Primary School Teachers, Nonthaburi City Municipality

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการทำ วิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบการทำ วิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ จากลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 144 คน เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบ เทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ

ผลกำรวิจัยพบว่า

ครูผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 64.58 ประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.31 ประสบการณ์ในการทำวิจัย คิดเป็นร้อยละ 93.06 จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้น ไป คิดเป็นร้อยละ 74.31 ระดับชั้นที่สอนชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40.97

1. การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อยู่ ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากด้านการนำผลการวิจัยไปใช้เป็นอันดับที่ 1 รองลงมา คือ ด้านความเข้าใจกระบวนการในการวิจัย เป็นอันดับที่ 2 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางด้าน การสนับสนุนส่งเสริม การทำวิจัยในชั้นเรียน และด้าน บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการทำวิจัยใน ชั้นเรียน เป็นอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับ

2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การทำ วิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามระดับการ ศึกษามีการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันที่อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนครูที่มีประสบการณ์ใน การทำวิจัยต่างกัน ครูที่มีระดับชั้นที่สอนต่างกัน ครูที่มี ประสบการณ์ในการสอนต่างกันและครูที่มีจำนวนชั่วโมง ที่สอนต่อสัปดาห์ต่างกัน พบว่า มีการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่แตกต่างกัน

 

Classroom Action Research of Primary School Teachers, Nonthaburi City Municipality, Nonthaburi Province.

The purposes of this rearch were to study: 1)The research aimed to study of classroom action research done by teachers of Nonthaburi City Municipality, Nonthaburi Province 2) The research compare the operation of classroom action research done by teachers of Nonthaburi City Municipality, Nonthaburi Province.

It was a survey research, conducted among 144 Primary School Teachers, Classroom Action Research of Nonthaburi City Municipality, academic year 2013. A questionnaire with the reliability of .94 was used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Scheff, Method for pairwise mutiple comparison.

The results were as follows:

There were 143 of Classroom Action Research of Primary School Teachers, Nonthaburi City Municipality, Nonthaburi Province.The most of sample were 64.58% with bachelor degree, 49.31% with more than 10 years of work experience, 93.06% with experience classroom action research studies, 74.31% with more than 18 teaching hour per week, and 40.97% with taught grade level.

1. The teachers, classroom action research operation was at moderate level, with 3.32 mean while standard deviation was 0.56. When comparing by aspect, it was found that the teachers, classroom action research operation was at high level. What came first was the aspect of research result implementation, followed by the aspects of comprehension classroom action research process and the teacher, classroom action research operation was at moderate level. The first was the aspect of encouragement,followed by the aspects of climate and environment.

2. Regarding hypothesis testing, it was found that the teachers with different education, different significantly at the .01 level in the classroom action research operation. They were found those were no different classroom action research operation among teachers with different experience in conducting a research, teachers with different taught grade level, teachers with work experience and teachers with teaching hours per week.

Downloads

How to Cite

เจริญรอย ส. (2015). การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(2), 149–157. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42125

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)