การกำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศไทย ในทศวรรษหน้า

Authors

  • ภิญโญ สายนุ้ย นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศักดา สถาพรวจนา อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอ นโยบายการศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้าโดย แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษา บริบทของนโยบายการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิง นโยบายโดยผู้วิจัยศึกษาวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้ ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เนื้อหา ขั้นที่ 2 พัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้วย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรง คุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบ รายการ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 3 การตรวจสอบนโยบาย การศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้าด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เนื้อหา และยืนยันนโยบายการศึกษาของประเทศไทย ในทศวรรษหน้า ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความ เหมาะสม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการศึกษาของ ประเทศไทยในทศวรรษหน้าประกอบด้วย 9 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการปฏิรูประบบการ เรียนรู้ 2) การสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน ทุกคนในประเทศ 3) การปฏิรูปครูโดยปรับระบบการ ผลิตครูและการพัฒนาครูให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น 4) การ จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอด คล้องกับตลาดแรงงาน 5) การพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ 6) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญา ของชาติ 7) การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากร มนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน 8) การลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน รวมถึงชุมชน และ 9) การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดพื้นที่พิเศษ ของประเทศไทยโดยจัดการศึกษาอย่างหลากหลายรูป แบบและสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วม กันอยา่ งมีความสุขและผลการตรวจสอบความเหมาะสม ของนโยบายพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.74, SD = 0.33)

 

Thailand’s Educational Policy Formulation in Next Decade

The purposes of this study was the educational policy formulation of Thailand in next decade. The research design devided into 3 steps; The first step was to study to context of educational policy for makes policy proposals, the researcher reviewed related literature and interviewed 12 knowledgeable people. Equipments for this step were interview form, analysis the data with the content analysis. The second step was develop policy proposals body, collect qualitative data by focus groupof 12 knowledgeable people. Equipments were a check list form. Data were analyzed by descriptive statistics such as mean, standard deviation and content analysis. The third step was to checking suitability the educational policy formulation of Thailand by in-dept interviewed 5 knowledgeable people. Equipments were interview form, analysis the data with the content analysis, and focus group of 5 knowledgeable people. Data were analyzed by descriptive statistics such as mean, standard deviation

The finding of this study were Thailand’s educational policy formulation in next decade were composed of nine dimensions; 1) the educational quality development by reforming the learning system, 2) the provision of educational opportunity for all, 3) teacher reform by improving the producing system and teacher development to the higher academic status, 4) managing the higher education and vocational education to the needs of market labours, 5) development using informational technology for education to be equivalent to the other countries, 6) promoting the research and development for constructing intellectual capitals, 7) increasing the human resource competency for serving the Asian Community, 8) funding for education and learning by cooperating with public and private sectors and community of Thailand, and 9) educational development in special area province of Thailand by manage to study variously format and support locality culture for happily together,and checking suitability of the policy has the suitability in the most level (X = 4.74, SD = 0.33)

Downloads

How to Cite

สายนุ้ย ภ., สถาพรวจนา ศ., & อินทร์รักษ์ ป. (2015). การกำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศไทย ในทศวรรษหน้า. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(1), 108–117. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42163

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)