ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นตํ่า 300 บาท ในด้านคุณภาพชีวิต และสวัสดิการของแรงงานสถานประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • วรนน คุณดิลกกมล นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บดินทร์ธร บัวรอด นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรีฑา สิมะวรา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นนท์ธีร์ ดุลยทวีสิทธิ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผลกระทบของนโยบาย, คุณภาพชีวิต, สวัสดิการ, ค่าจ้าง 300 บาท, Policy Effect, Quality of Life, Welfare, 300 Baht Wage

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ในด้านคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของแรงงานสถาน ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และ 2) มุม มองของแรงงานและผู้ประกอบการที่มีต่อนโยบาย ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท โดยใช้วิธีวิจัยแบบ ผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ที่พัฒนาจากแนวคิดคุณภาพชีวิตของ องค์การยูเนสโก (UNESCO. 1978) เพื่อศึกษาผล กระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ในด้านคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของแรงงานสถาน ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแบ่งประเด็น การศึกษาออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านภาวะวิสัยและด้าน อัตวิสัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้แรงงานในธุรกิจ แปรรูปอาหารในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 125 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง เพื่อศึกษามุมมองของแรงงานและผู้ประกอบ การที่มีต่อนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท และนำ มาบรรยายและสรุปเป็นข้อมูลทางการวิจัย ซึ่งผู้ให้ข้อมูล สำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 คน โดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงาน ขั้นต่ำ 300 บาทในด้านคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของแรงงาน ด้านภาวะวิสัย พบว่า ระดับผลกระทบของ นโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทโดยภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การ ประกาศใช้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท มีผลต่อราย จ่ายด้านค่าครองชีพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ มี ผลกระทบกับสวัสดิการที่ได้รับ และมีผลกระทบต่อ ความเป็นอยู่ ตามลำดับ สำหรับด้านอัตวิสัย พบว่า ระดับผลกระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า การประกาศใช้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีค่า เฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความสบายใจที่ได้ทำงานอยู่ ในสถานประกอบการ

2. มุมมองของแรงงานและผู้ประกอบการ ที่มีต่อนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำำ 300 บาทพบว่า มุมมองของแรงงาน สรุปได้ว่าการประกาศใช้นโยบาย ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่ได้ส่งผลต่อรายได้ของ แรงงานเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามกลับส่งผลให้แรงงาน ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบ เทียบก่อนการประกาศใช้นโยบาย มุมมองของผู้ ประกอบการ ภายหลังการประกาศใช้นโยบายค่าจ้าง แรงงานขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า นอกจากทำให้ค่าแรง เพิ่มขึ้นแล้วยังพบว่า วัตถุดิบต่าง ๆ ยังเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นที่ตามมาคือ พนักงานมีการ ทำโอทีน้อยลง ปัญหาการลาออกของแรงงานโดย เฉพาะแรงงานใหม่ที่ยังอายุงานไม่นานพบว่า มีการ ลาออกบ่อยมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงานชาย เนื่องจากว่าในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการทำระบบ ควบคุมมาก ๆ เช่น GMP HACCP ISO หรือระบบ ประกันคุณภาพต่าง ๆ ซึ่งแรงงานชายจะไม่ชอบ ซึ่ง แรงงานมีความคิดเห็นว่าไปทำงานอย่างอื่นก็ได้ 300 บาท เหมือนกัน รวมทั้งพบว่ามีการกู้ยืมเงินที่เพิ่มขึ้น ของพนักงานในกองทุนของบริษัท และแรงงานมีการใช้ สินค้าที่มีราคาแพงขึ้น

 

The Effect of the 300 Baht Minimum Wage Policy towards Quality of Life and Welfare of the SMEs Workers in Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province

The purposes of this research were to study 1) the effect of the 300 Baht Minimum Wage Policy towards quality of life and welfare of the SMEs workers and 2) the view point of workers and entrepreneurs to the 300 Baht Minimum Wage Policy. The mixed methodologies of quantitative and qualitative were used in this research. The quantitative instrument in this research were questionnaires adapted from UNESCO Quality of Life Method (1978) in order to study the effect of the 300 Baht Minimum Wage Policy towards quality of life and welfare of the SMEs workers which identify two main points; subjective and objective. There were 125 participants of workers in food processing business in Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province by purposive sampling. The statistical devices used in analyzing data were Frequency Percentage arithmetic mean ( X ) and standard deviation (S.D.). Qualitative research techniques were documentary research and structured interview to study the view point of workers and entrepreneurs to the 300 Baht Minimum Wage Policy by content analysis and research conclusion. Key informants were 2 entrepreneurs in food processing business in Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province by purposive sampling.

The results were as follows:

1. Subjectivity aspect in the quality of life and welfare of the workers found that the effect level of the 300 Baht Minimum Wage Policy was moderate; cost of living was affected the most then the ex-welfare and standard of living respectively. Objectivity aspect in the quality of life and welfare of the workers found that the effect level of the 300 Baht Minimum Wage Policy was moderate; working morale was the highest average then cheerful in the work place and work satisfaction respectively.

2. The view point from workers and entrepreneurs to the 300 Baht Minimum Wage Policy found that (1) workers point of view: enacting the policy did not affect increasing in income but rather raise cost of living compare to the previous period (2) entrepreneurs point of view: after enacting the policy, not only the wage cost was higher but material cost also had raised. Furthermore, there also affect shortage of overtime labors, workers resignation (especially young workers), male workers shortage (due to regulations in the Food Company such as GMP HACCP ISO and Quality Control required workers to strictly follow the rules), and also the problem of increasing rate of workers who owed company fund because of having to buy more expensive items.

Downloads

How to Cite

คุณดิลกกมล ว., บัวรอด บ., สิมะวรา ก., ดุลยทวีสิทธิ์ น., ชุณหคล้าย ศ., & ธีระฐิติ น. ส. (2015). ผลกระทบของนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นตํ่า 300 บาท ในด้านคุณภาพชีวิต และสวัสดิการของแรงงานสถานประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(1), 118–128. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42166

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)