รูปแบบการพัฒนานโยบายการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Authors

  • รุ่งนภา รุ่งเรืองศิลป์ นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศักดา สถาพรวจนา อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

รูปแบบ, การพัฒนานโยบายการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, Model, Policy Developmentin Educational, Office of Primary Educational Service Area

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ ประกอบและรูปแบบการพัฒนานโยบายการศึกษาของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยแบ่ง การศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษา องค์ประกอบการพัฒนานโยบายการศึกษา ผู้วิจัยศึกษา วรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบ ตรวจสอบรายการ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 108 เขต มีผู้ให้ข้อมูลเขตการศึกษาละ 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วย การสังเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ขั้นที่ 2 การศึกษารูปแบบการพัฒนานโยบาย การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการศึกษาโดยจัดสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และนำรูปแบบการพัฒนานโยบายการ ศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไปทดลองใช้ จำนวน 1 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ ตรวจสอบรายการ

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการ พัฒนานโยบายการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบตาม ลำดับขั้นตอนคือ ด้านการระบุปัญหา มี 18 ตัวแปรย่อย ด้านการรวบรวมข้อมูลและเสนอข้อมูลสารสนเทศ มี 26 ตัวแปร ด้านการกำหนดทางเลือกและเลือกทาง เลือกไปสู่การปฏิบัติ มี 17 ตัวแปร ด้านการยกร่าง นโยบายและการจัดทำนโยบาย มี 19 ตัวแปร ด้าน การประกาศใช้นโยบายและการกำกับติดตามการนำ นโยบายไปสู่การปฏิบัติ มี 15 ตัวแปร โดยค่าน้ำหนัก ของตัวแปร (Factor Loading) ระหว่าง 0.50 – 0.952) รูปแบบการพัฒนานโยบายการศึกษาของสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการระบุปัญหา ขั้นการรวบรวมข้อมูลและเสนอข้อมูลสารสนเทศ ขั้นการกำหนดทางเลือกและเลือก ทางเลือกไปสู่การปฏิบัติ ขั้นการยกร่างนโยบายและ การจัดทำนโยบาย และขั้นการประกาศใช้นโยบายและ การกำกับติดตามการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดย ทั้ง 5 ขั้นตอน และตัวแปรย่อยของแต่ละขั้นตอนได้ รับการยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยปฏิบัติการทุก ประเด็นว่าเป็นรูปแบบของการพัฒนานโยบายการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามขั้น ตอนและตัวแปรย่อยทุกประเด็นร้อยละ 100

 

The Model of Educational Policy Development in the Primary Educational Service Area

The purposes of the study wereto study the factors and a model of policy development of primary educational service area office. The research design was divided into two steps; the first step was to analyze the factors of policy development, the researcher reviewed related literature and interviewed 17 experts. The instruments for this step were interview form, checklist and questionnaire. The sample was 108 primary educational service area offices. The respondents were 5 officers from each office, totally 540 respondents. The statistical analysis was content analysis, arithmetic mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The second step was to study a model of educational policy development of primary educational service area office by try out the model which settled with primary educational service area office. The instruments for this step were checklist form, content analysis from a focus group discussion of 5 experts. The statistic used frequency and percentage.

The findings of this study were as follows: 1)The component of policy development of primary education service area office composed of 5 steps; Identify problem, composed of 18 variables. Data collection and information, composed of 26 variables.Option analysis, composed of 17 variables. Policy formulation composed of 17 variables.And policy implementation, composed of 15 variables. All variables of each components had a factor loading 0.50 – 0.95.2) The model of policy development of primary educational service area office composed of 5 steps; identified problems, data collection and information, option analysis, policy formulation, and policy implementation. It was confirmed by the experts with 100 percent that all components and variables were practicablefor policy development in primary educational service area office. Those variables of five steps were confirmed from the primary educational service area office with 100 percent.

Downloads

How to Cite

รุ่งเรืองศิลป์ ร., สถาพรวจนา ศ., & อินทร์รักษ์ ป. (2015). รูปแบบการพัฒนานโยบายการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(1), 129–139. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42167

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)