การรับรู้ตราสินค้านกแอร์ของผู้โดยสารชาวไทย
Keywords:
การรับรู้ตราสินค้า, การเปิดรับข่าวสาร, ตราสินค้านกแอร์, Brand Awareness, Exposure to News, Nok Air BrandAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสายการบินนกแอร์ (2) การ รับรู้ตราสินค้านกแอร์ (3) เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการรับรู้ตราสินค้านกแอร์และ (4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทาง ประชากรกับการรับรู้ตราสินค้านกแอร์ของผู้โดยสารชาว ไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่เคยเดินทางและใช้บริการของ สายการบินนกแอร์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความ แปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสายการบินนกแอร์จากสื่อต่าง ๆ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยเปิดรับสื่อโทรทัศน์ มาก ที่สุด รองลงมาคือสื่อ Call Center 1318 ศูนย์บริการ ลูกค้า ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารในด้านโปรโมชั่นมากที่สุด (2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ตราสินค้านกแอร์โดยรวมในระดับ มาก โดยรับรู้ด้านการนำเสนอเอกลักษณ์ทางกายภาพ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา และมีการรับรู้น้อยที่สุดในด้านกระบวนการบริการ (3) ผู้โดยสารชาวไทยที่เปิดรับสื่อที่ต่างกันมีการรับรู้ตรา สินค้านกแอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (4) เพศ อาชีพ รายได้ของผู้โดยสารชาวไทย ที่ต่างกัน มีการรับรู้ตราสินค้านกแอร์แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Brand Perception Nok Air Thai Passenger
The objectives of this research were to study: (1) exposure to news about Nok Air; (2) awareness of the Nok Air brand; (3) the relationship between exposure to news and awareness of the Nok Air brand; and (4) the relationships between demographic factors and awareness of the Nok Air brand among Thai passengers. This was a survey research. The sample population consisted of 400 Thai passengers who had travelled on Nok Air. Respondents were selected using multistage sampling. Data were collected using a questionnaire and were statistically analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t test and analysis of variance.
The results showed that: (1) The majority of samples were exposed to news about Nok Air in the media to a low degree. They were exposed to communications from TV the most, followed by from the Nok Air call center (1318) and the Nok Air customer service center. Most of the news they received was about promotions. (2) Most of the samples had a high level of awareness of the Nok Air brand. They had the greatest awareness of the brand’s physical distinction, followed by its products and prices. They had the least awareness of Nok Air’s service process. (3) Passengers who were exposed to different media had different awareness of the Nok Air brand to a statistically significant degree (p< 0.05). (4) Differences in the factors of sex, career and income of the passengers were related to differences in their awareness of the Nok Air brand to a statistically significant degree (p< 0.05).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์