การสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • มนัส สายเสมา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • บุญเรือง ศรีเหรัญ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

การสร้างตัวบ่งชี้, สมรรถนะผู้บริหาร, Creating of Indicators, Competency Administrators

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา องค์ประกอบของสมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฏ 2) สร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฏและ 3) การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบตัว บ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหารและ คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั่วประเทศ จำนวน 995 คน ตามข้อกำหนดของการวิเคราะห์รูปแบบสมการ โครงสร้างเชิงเส้น ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้น ตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.929 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบ ความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฎีกับข้อมูล เชิงประจักษ์ที่ได้จากการวิเคราะห์รูปแบบสมการ โครงสร้างเชิงเส้น ด้วยโปรแกรมลิสเรล version 9.1 Activation code: 0826-F30C-1BA3-6C9D ประกอบ ด้วย ค่าX2ค่า dfค่า p value ค่า RMSEA ค่า GFI ค่า AGFI ค่า RMR ค่า SRMR และค่า CN

ผลการศึกษาพบว่า

1. องค์ประกอบของสมรรถนะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 1) สมรรถนะส่วน บุคคล 2) สมรรถนะทางสังคมและ 3) สมรรถนะบทบาท หน้าที่

2. ตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฏ ประกอบด้วย 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะส่วนบุคคล ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความ เชี่ยวชาญในงานอาชีพ จริยธรรม และการทำงานเป็น ทีม 2) ตัวบ่งชี้สมรรถนะทางสังคม ได้แก่ สภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ การวางกลยุทธ์ภาครัฐ ศักยภาพเพื่อนำการ เปลี่ยนแปลง การควบคุมตนเอง และการให้อำนาจแก่ ผู้อื่น และ 3) ตัวบ่งชี้สมรรถนะบทบาทหน้าที่ ได้แก่ ด้านความเป็นราชภัฏ ด้านความเข้าใจในองค์กร และ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น

3. การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบตัวบ่งชี้ สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า รูปแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ปรับ แก้แล้ว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ใน เกณฑ์ที่ดี โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบค่าสถิติ X2 =78.34 ค่า p = .284 ที่ df = 72 GFI = 0.932 AGFI = 0.901 CN= 1,305.54 RMR = 0.257 SRMR = 0.0043 ดัชนีของค่า RMSEA = 0.081

 

A Creating of Competency Indicators of Rajabhat University Administrators

The research aimed to 1) study the competency factors of the Rajabhat University administrators 2) creat the competency indicators of the Rajabhat University administrators and 3) assess and confirm the competency indicators of the Rajabhat University administrators. The samples employed in the study were 995 administrators and instructors of Rajabhat universities nationwide according to the analysis of Structural Equation Model, using Multi-stage Random Sampling method. The instrument used in the research was a 5-rating scale questionnaire with a reliability at 0.929. Data analysis was conducted by mean, standard deviation and the examining of the accordance value between theoretical models with the empirical data, analyzed by Structural Equation Models of the LISREL Program, version 9.10, activation code: 614F-A59F-F2D6-6064 withX2, df, p, RMSEA, GFI, AGFI, RMR, SRMR and CN.

The research results were as follows:

1. The competency factors of the Rajabhat University administrators consisted of 1) personal competency 2) social competency and 3) role competency. The factor loadings of Rajabhat University Administrators ranking from the highest to the lowest were social competency, personal competency and role competency, respectively.

2. The competency indicators of the Rajabhat University administrators consisted of 1) personal competency indicators which were achievement motivation, service mind, expertise, integrity, and teamwork 2) social competencies indicators which were leadership, visioning, strategic orientation, change leadership, self-control and empowering others and 3) the role competency indicators which were Rajabhat consciousness, organizational awareness behavior, and local development.

3. The research found that the improved competency indicators of the Rajabhat University administrators were accordant to the empirical data at a good level, considering the results of statistics confirmation including X2 = 78.34, feasibility (p) = .284, free degree (df) = 72, accordant indicators (GFI) = 0.932, improved accordant indicators (AGFI) = 0.901, sampling group (CN) = 1,305.54, RMR = 0.257,SRMR = 0.0043 and RMSEA = 0.081.

Downloads

How to Cite

สายเสมา ม., ศรีเหรัญ บ., & วงศ์สิรสวัสดิ์ ช. (2015). การสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(2), 58–67. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42196

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)