ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ในบริบทธุรกิจโรงแรม จังหวัดชลบุรี

Authors

  • นิรัศม์ชญา รู้คุณ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, การมีส่วนร่วมในการทำงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร, Servant Leadership, Participation, Job Satisfaction, Organizational Commitment

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ตามกรอบทฤษฎีภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน องค์ประกอบความพึงพอใจในการทำงาน และองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กร 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างองค์ประกอบ ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และองค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ระหว่างองค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงานและองค์ประกอบความพึงพอใจในการทำงาน 4) ศึกษา ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างองค์ประกอบการ มีส่วนร่วมในการทำงานและองค์ประกอบความผูกพัน ต่อองค์กร 5) เพื่อสร้างตัวแบบที่เหมาะสมในประเด็น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และการมีส่วนร่วมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการทำงานและความความพึงพอใจในการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ภายใต้บริบทธุรกิจ โรงแรมในจังหวัดชลบุรี

ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยปริมาณเป็นหลักและเสริมด้วยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวม ข้อมูลจากพนักงานโรงแรมจำนวน 540 คน โดยสถิติ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ การข้อมูลความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน องค์ประกอบความพึง พอใจในการทำงาน และองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กร คือสถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ตัวแปรใช้ในการศึกษาในการศึกษานี้ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้คือตัวแปรอิสระ การมีส่วนร่วมในการทำงานคือตัวแปรแทรก ความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรคือ ตัวแปรตาม

ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบ ผู้รับใช้ องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน องค์ประกอบความพึงพอใจในการทำงานและองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ระหว่างองค์ประกอบภาวะ ผู้นำแบบผู้รับใช้และองค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน .578 องค์ประกอบการมีส่วนร่วมในการทำงาน และองค์ประกอบความพึงพอใจในการทำงาน .655 และการมีส่วนร่วมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร .616 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ในบริบทโรงแรมจังหวัด สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ได้ทั้งหมด 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การเอาใจใส่ดูแล และองค์ประกอบที่ 2 การเข้าใจผู้อื่น

จากผลการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยขอเสนอว่าหากทางโรงแรมต้องการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรให้แก่พนักงานควรให้ความสนใจในเรื่องความรับผิดชอบดูแลต่อพนักงานให้สูงขึ้น เพราะพนักงานก็เปรียบเสมือนกับลูกค้าภายใน (Internal Customers) ที่ต้องการการเอาใจใส่และการรับผิดชอบดูแล อำนวยความสะดวกในการทำงานแก่พนักงานเช่นเดียวลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อตัวพนักงานและโรงแรม นอกจากนี้ผู้บริหารควรสื่อสารให้พนักงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่พนักงานทำนั้นมีความสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จบรรลุเป้าหมายและนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่พนักงานและองค์กรจะได้รับร่วมกัน นอกจากจะได้รับค่าตอบแทนและรายได้ที่เหมาะสมแล้วยังมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย และควรให้ความสำคัญในเรื่องการทำงานร่วมกันในหมู่เพื่อนร่วมงาน ซึ่งจำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อจะได้ทำงานด้วยกันได้ดี สามารถทำงานในทิศทางเดียวกัน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งควรให้โอกาสพนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงานเป็นพื้นฐานในการทำงานอย่างหนึ่งที่มอบสิทธิ ให้แก่พนักงานและให้โอกาสพนักงานได้มีใช้ความคิดส่งผลให้พนักงานรู้สึกว่าตนมีค่ามีความหมายต่อโรงแรม เกิดความพึงพอใจและสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายด้วยความรู้สึกรักและผูกพันต่อองค์กรด้วย

 

Servant Leadership Affects Organizational Commitment in the Context of Business Chonburi Province

The purposes in research were first to investigate characteristics of servant leadership, the components of employee participation, the components of job satisfaction and the components of organizational commitment, second to investigate the structure relation between characteristics of servant leadership and the components of employee participation, third to investigate the structure relation between the components of employee participation and job satisfaction, fourthly to investigate the structure relationship between employee participation and organizational commitment and fifth To construct the empirical model of servant leadership influencing in job satisfaction and organizational commitment through employee participation in the context of Hotel business in Chonburi Province.

This research utilized quantitative research and qualitative research method in carrying out the investigation; in depth interview was conducted as part of process of developing appropriate questions utilized as an instrument of research to collect datafrom 540 staff employees working in hotel in Chonburi Province. Statistical technique that used to analysis data in order to investigate the characteristics of Servant leadership, components of employee participation, components of job satisfaction and components of organizational commitment based on Pearson correlation, Factor Analysis and Path analysis. The independent variable used in this research was Servant leadership, while employee participation was used as mediator variable and the dependent factors were job satisfaction and organizational commitment.

The result from the study indicated that there was significant positive relation between all the variables, characteristics of servant leadership, components of employee participation, job satisfaction and organizational commitment. (p<.01) Pearson’s correlation coefficient between characteristic of servant leadership and employee participation was .578, Pearson correlation’s between employee participation and job satisfaction was .655 and between employee participation and organizational commitment was .616, respectively. The result of the study and analysis the factors of servant leadership in hotels in Chonburi Province context were analyzed by Factor Analysis revealed 2 factor models characterized by of “intention” and “understanding”

On the basis of this finding, the researcher recommends that if the Committee board of Hotel would like to create job satisfaction and organizational commitment, they should pay close attention to stewardship in customer, focusing on and responsibility assist were internal customers. That would bring the benefit participation between employees and organization and the managers should communicate to employees with the understanding that the importance for employees to achieve success and bring mutual benefits to employees and organizations. It would be appropriate in terms of compensation and income that would enhance the security of working in organization and should focus on the collaboration among colleagues for building a good relationship with each other and for work in the same direction to achieve goals and benefits. Additionally, the board should create a relationship among the colleagues for achieving objectives and performance. Finally, on board should provide opportunities for employees to participate in decision making. It should be emphasized that when employees have an opportunity to participate in decision making, they would recognize their value and image, and provide opportunities for staff to their ideas. As a result, employees feel that they can have a significant contribution to the hotel. All this would lead to satisfaction and to work to achieve their goals with a sense of love and commitment to the organization.

Downloads

How to Cite

รู้คุณ น. (2015). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ในบริบทธุรกิจโรงแรม จังหวัดชลบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(2), 106–117. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42210

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)