ความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • วิภาส ทองสุทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

ความต้องการมีส่วนร่วม, การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ, Requirement in Participating, Development of Elder in Social

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 2) เสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาสังคมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีโดยใช้กรอบแนวคิดในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุ รูปแบบของการศึกษาเป็นชิงปริมาณ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามจากกลุ่มสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลในหมวดหมู่ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของการหาค่าร้อยละ (Percentages) ผลการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.5 มีอายุ 70-79 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.0 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 62.0 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 48.2 มีอาชีพ เกษตรกรรม/รับจ้าง/ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 43.5 มีรายได้ ต่อเดือนระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.2 มีลักษณะการอยู่อาศัยกับบุตรหลาน คิดเป็นร้อยละ 64.5 มีภาวะสุขภาพปัจจุบัน ไม่แข็งแรง/มีปัญหาสุขภาพ/มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 61.0 มีความชำนาญพิเศษ เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเฉพาะด้านและไม่ได้ถ่ายทอดให้กับผู้อื่นหรือบุคคลรุ่นลูกหลาน คิดเป็นร้อยละ 73.5 มีการขึ้นทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุ ที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุของจังหวัดในสาขาที่มีความรู้เป็นภูมิปัญญา คิดเป็นร้อยละ 70.2 ผลการศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุในชมรมสูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พบว่า ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม (ร้อยละ 41.2) ด้านรูปแบบการมีสวนร่วม (ร้อยละ 57.2) ด้านประเภทกิจกรรมที่เข้าร่วม (ร้อยละ 44.7) ด้านลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 41.0) 

The purposes of this research were to 1) evaluated participating in social development requirement of elderly study from Pathumthani Elderly Club Only. 2) present model of social development of elderly study from Pathumthani Elderly. By quantitative research, questionnaire were tool to gathering data 400 respondent from Pathumthani Elderly Club. The analysis was conducted by computer software, statistical treatments by program computer namely: frequency, percentage, mean, standard deviation, ranking, and multi regression research found that. The majority of respondents were (58.5%), their age 70 – 79 year old (48.0%),their married status married (62.0%), education attend primary school (48.2%), occupation
framer/employee/merchandise (43.5%) income per month 5,000 – 10,000 Baht (45.2%), stayed with their child (64.5%), not healthy/underlying decease/ problem in health (61.0%), had Experian but not transfer to their council and other
(73.5%) and not to register in elderly wisdom bank (70.2%). Finding indicated that all area of social development equipment studies with high significance level, and found that process area (41.2%), pattern area (57.2%), type area (44.7%), and characteristic were high level (41.0%)

Downloads

How to Cite

ทองสุทธิ์ ว. (2016). ความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 1–10. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54199

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)